Page 99 - รายงานการศึกษาการประเมินแนวโน้มและทิศทางการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน
P. 99

- 59 -


               ข้อมูลสำหรับการประเมินแนวโน้มและทิศทางการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Emissions Scenarios Analysis)

               ประกอบการกำหนดภาพอนาคตการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน ระหว่างปี พ.ศ. 2565–2589 ทั้งนี้
               ข้อเสนอแนะการจัดการแนวโน้มและทิศทางการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก มีแนวทางพิจารณาดังนี้

                              (i) การประเมินปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน

               (Land Use, Land Use Change and Forest: LULUCF) ตามหลักการจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจก
               (GHG Inventory) และคู่มือแนวทาง IPCC 2006 ปัจจัยสำคัญ คือ ข้อมูลกิจกรรม (Activity Data: AD)

               และค่าสัมประสิทธิ์การดูดซับก๊าซเรือนกระจก (Emission Factor: EF) ซึ่งพบว่าค่าสัมประสิทธิ์การปล่อย
               (EF) ของข้อมูลกิจกรรม (AD) แต่ละประเภท ที่ระดับ Tier 2 เรียงลำดับจากมากไปน้อยตามลำดับ ดังนี้ ป่าไม้

               ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ข้าว และอ้อย การเปลี่ยนแปลงเนื้อที่ของการใช้ประโยชน์ที่ดินสำหรับพืชเศรษฐกิจ

               แต่ละชนิด จึงมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงปริมาณก๊าซเรือนกระจกโดยรวมของพื้นที่ศึกษา
                              (ii) ผลการวิเคราะห์ปริมาณคาร์บอนในชั้นดินบน ที่ระดับ 15–20 เซนติเมตร จำนวน 30 ตัวอย่าง

               พบว่าสัดส่วนปริมาณอินทรีย์คาร์บอนสะสมในดินมีความสัมพันธ์กับการใช้ประโยชน์ที่ดินสำหรับพืชเศรษฐกิจ
               หลัก 5 ชนิดที่แตกต่างกัน กล่าวคือ สัดส่วนปริมาณอินทรีย์คาร์บอนอยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 0.185–0.986

               โดยศักยภาพการกักเก็บคาร์บอนในดินต่อหน่วยพื้นที่ (ตัน / เฮกตาร์ / ปี) เป็นดังนี้ ป่าไม้ (4.6–5.2)

               มันสำปะหลัง (3.0–7.9) ข้าว (2.0–9.9) อ้อย (2.2–2.4) และยางพารา (0.9–5.4) ตามลำดับ ดังนั้น
               แนวทางการส่งเสริมพืชเศรษฐกิจควบคู่กับการเพิ่มศักยภาพการดูดซับคาร์บอนในดินสำหรับพื้นที่ศึกษา

               ได้แก่ ไม้เศรษฐกิจ มันสำปะหลัง ข้าว อ้อย และยางพารา ตามลำดับ
   94   95   96   97   98   99   100   101   102   103   104