Page 102 - รายงานการศึกษาการประเมินแนวโน้มและทิศทางการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน
P. 102

- 2 -


               ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของการสะสมคาร์บอนของป่าไม้ โดยที่ไม้พื้นล่าง ไม้ตาย และซากพืชมีการสะสม

               คาร์บอนเพียงร้อยละ 3 5–40 และ 5 ของการสะสมคาร์บอนในมวลชีวภาพเหนือพื้นดินของไม้ยืนต้น

               ตามลำดับ ในขณะที่การสะสมคาร์บอนในมวลชีวภาพใต้ดินมีการแปรผันสูงกว่ามวลชีวภาพเหนือดิน

               (Brown, 1997) ดังนั้น การเปรียบเทียบการสะสมคาร์บอนของระบบนิเวศป่าไม้จึงให้ความสำคัญกับ
               มวลชีวภาพเหนือดินของไม้ยืนต้นมากกว่าแหล่งสะสมคาร์บอนอื่น ๆ และใช้เป็นฐานในการประเมิน

               การสะสมคาร์บอนในแหล่งอื่น ๆ (Watson, 2009)


               6.2  ข้อเสนอแนะ
                   การบรรเทาผลกระทบจากปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน อันเป็นผล

               สืบเนื่องจากการจัดสรรที่ดินทำกินตามนโยบาย คทช. พื้นที่ศึกษา ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดงหมู มีแนวทางดังนี้

                   6.2.1 ส่งเสริมการปลูกไม้มีค่าทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะพันธุ์ไม้ดั้งเดิมที่เคยมีในพื้นที่ ได้แก่ ไม้สัก

               ไม้ประดู่ ไม้ยาง ไม้แดง และไม้ตะเคียน
                   6.2.2 สร้างมูลค่าไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ เป็นแรงจูงใจการปลูกไม้ในพื้นที่ศึกษา คทช. ป่าสงวน

               แห่งชาติ ป่าดงหมู ท้องที่ตำบลอุ่มเหม้า อำเภอธาตุพนม

                   6.2.3 แนวทางการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชเกษตรในพื้นที่จัดสรร คทช. เพื่อบูรณาการเข้ากับ
               ข้อกำหนดการใช้พื้นที่จัดสรรตามนโยบาย คทช. นอกจากปัจจัยด้านความเหมาะสมของพืชต่อที่ดิน

               (Land Suitability) แล้ว ควรพิจารณาปัจจัยด้านศักยภาพการดูดซับคาร์บอนในดินของพืชเกษตรแต่ละชนิด

               ที่ปลูกร่วมกับไม้หลักในพื้นที่ คทช. พัฒนาเป็นระบบวนเกษตร (Agro-Forestry System) ประกอบเข้ากับ

               หลักการด้านราคาผลผลิต การพัฒนากลไกคาร์บอนเครดิตสำหรับพื้นที่จัดสรร คทช. ซึ่งจะทำให้เกษตรกร

               มีช่องทางสร้างรายได้ที่หลากหลาย สามารถสร้างรายได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน (Passive Income) จากการ
               ปลูกไม้เศรษฐกิจและพืชเศรษฐกิจ ซึ่งตอบสนองต่อนโยบาย คทช. และรองรับตลาดคาร์บอนในอนาคตอันใกล้

                   6.2.4 ส่งเสริมธุรกิจชุมชน (Business Model) ในรูปแบบวิสาหกิจชุมชนและสหกรณ์ ที่สามารถ

               พัฒนาฐานทรัพยากรด้านความหลากหลายทางชีวภาพได้ ทั้งจากภาคการเกษตรและป่าไม้ ซึ่งสอดคล้อง
               กับข้อตกลงฉบับใหม่ “ปฏิญญากลาสโกว์ของผู้นำด้านป่าไม้และการใช้ประโยชน์ที่ดิน (Glasgow

               Leaders’ Declaration on Forests and Land Use)” จากผลการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติ

               ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 26 (COP26) ณ เมืองกลาสโกว์ สหราชอาณาจักร รวมทั้ง
               ผลการประชุมคณะกรรมการด้านการเกษตร (Committee on Agriculture: COAG) ภายใต้องค์การ

               อาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organisation of the United Nations:

               FAO) สมัยที่ 28 ซึ่งมีมติให้พิจารณาแนวทางการเชื่อมโยงภาคเกษตรกับป่าไม้เข้าด้วยกัน โดยเน้นการ
               ส่งเสริมด้านความหลากหลายทางชีวภาพและการจัดการดินอย่างยั่งยืน เพื่อเป็นแหล่งความมั่นคง

               ทางอาหาร (Sustainable Agrifood Systems)
   97   98   99   100   101   102   103   104   105   106   107