Page 97 - รายงานการศึกษาการประเมินแนวโน้มและทิศทางการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน
P. 97

- 57 -


               และการวางแผนการใช้ที่ดิน โดยอ้างอิงปีฐานของข้อมูลจากผลการศึกษาปี พ.ศ. 2525–2564 (บทที่ 1 ตามข้อ

               1.7) ได้ผลตามตารางที่ 5.6 สรุปต่อไปนี้
                   5.7.1  ภาพอนาคตที่ 1 (BAU Scenario): กรณีไม่มีนโยบาย และ / หรือ มาตรการใด ๆ การดำเนิน

               กิจกรรมในพื้นที่ศึกษา (ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ คทช. ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดงหมู ท้องที่ตำบลอุ่มเหม้า อำเภอ

               ธาตุพนม ครอบคลุมเนื้อที่ 1,525 ไร่) เป็นไปตามปกติ (Business As Usual: BAU) แนวทางการวิเคราะห์
               ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง 2 ด้าน เป็นดังนี้

                       1) ปัจจัยด้านพื้นที่ป่า: พื้นที่ศึกษาได้รับการประกาศเป็นป่าสงวนแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2529
               (ปีเริ่มต้นของการศึกษานี้) ซึ่งเพียง 1 ปีให้หลัง ในปี พ.ศ. 2530 พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดงหมู ท้องที่

               ตำบลอุ่มเหม้า อำเภอธาตุพนม เนื้อที่ 1,407 ไร่ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 92 พบว่ามีเกษตรกรเข้าใช้พื้นที่ใน

               สัดส่วนร้อยละ 8 จนถึงปี พ.ศ. 2559 ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดงหมู ท้องที่ตำบลอุ่มเหม้า อำเภอธาตุพนม
               ครอบคลุมเนื้อที่ 1,525 ไร่ ได้รับการประกาศเป็นพื้นที่จัดสรรที่ดินทำกินตามนโยบาย คทช. มีเนื้อที่ป่า 52 ไร่

               คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 3 ของพื้นที่จัดสรร โดยกรมป่าไม้อนุญาตการเข้าใช้ประโยชน์ได้จนถึงปี พ.ศ. 2589
               ซึ่งราษฎร / เกษตรกรที่ได้รับจัดสรร มีการใช้ประโยชน์เพื่อการเกษตรกรรมเป็นหลักที่ยากจะฟื้นสภาพ

               กลับมาเป็นป่าดังเดิมอีกต่อไป ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าเกษตรกร / ราษฎร จะมีการใช้พื้นที่เพื่อการ

               เกษตรกรรม โดยไม่เหลือพื้นที่สำหรับการฟื้นฟูทำนุบำรุงพื้นที่เพื่อเป็นพื้นที่ป่าต่อไปได้
                       2)  ปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคม: การประกาศให้พื้นที่ศึกษา เป็นป่าสงวนแห่งชาติ ภายใต้

               พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 ในการกำกับ ควบคุม และดูแลโดยกรมป่าไม้ ซึ่งปรากฏว่า

               ไม่สามารถปกป้องคุ้มครองเพื่อลดการสูญเสียป่าได้ เนื่องจากเกษตรกรยังคงมีการลักลอบเข้าใช้ประโยชน์พื้นที่
               ด้วยเหตุผลว่าตนอยู่อาศัยในพื้นที่ดังกล่าวมาก่อนการประกาศเป็นป่าสงวนแห่งชาติ เกิดความขัดแย้งการใช้ที่ดิน

               ระหว่างเกษตรกรและเจ้าหน้าที่รัฐ การประกาศพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ และใช้มาตรการทางกฎหมายเข้าดำเนินการ
               และจัดการของภาครัฐจึงไม่ได้รับความร่วมมือจากชุมชน / เกษตรกร / ราษฎร ในขณะที่การบุกรุกครอบครอง

               และใช้ประโยชน์จากป่าคงเป็นไปอย่างต่อเนื่อง

                           • วิเคราะห์ผลแนวโน้มและทิศทางการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการเปลี่ยนแปลง

               การใช้ที่ดิน ภายใต้ BAU Scenario: ผลการศึกษาเพื่อประเมินศักยภาพการกักเก็บคาร์บอนเหนือดินจาก
               การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน สำหรับป่าไม้โดยการแปลภาพถ่ายดาวเทียมเป็นข้อมูลดิจิทัลการใช้ที่ดิน

               ระหว่างปี พ.ศ. 2529–2562 และการคำนวณก๊าซเรือนกระจกตามแนวทาง IPCC 2006 พบว่าศักยภาพ
               การดูดซับคาร์บอนในดินพื้นที่ศึกษามีแนวโน้มลดลงตามลำดับ (ตารางที่ 5.5 และรูปที่ 5.46) ซึ่งเป็นผล

               เชิงประจักษ์ แสดงให้เห็นว่าปริมาณการกักเก็บคาร์บอนในดินแปรผันโดยตรงกับพื้นที่ป่าไม้ ดังนั้น

               การปล่อยให้เกษตรกร / ชุมชน / ราษฎร เข้าอยู่อาศัยและทำการเกษตรเพื่อการดำรงชีพเป็นหลัก
               ดำเนินกิจกรรมใด ๆ ในพื้นที่จัดสรร คทช. เป็นไปตามปกติ (BAU) โดยไม่มีนโยบายและ / หรือมาตรการใด ๆ

               รองรับเพื่อกำกับ ควบคุม และดูแล ซึ่งเกษตรกร / ชุมชน / ราษฎร ดำเนินกิจกรรมการเกษตรแบบดั้งเดิม
               ตามที่สืบทอดต่อกันมาของตนเองและครอบครัว โดยขาดความรู้ความเข้าใจตามหลักวิชาการด้านการ

               อนุรักษ์ดินและน้ำ ขาดการปรับปรุงบำรุงดิน มีการใช้ยาปราบศัตรูพืชและขยายพื้นที่เกษตรกรรมเพื่อเพิ่ม
   92   93   94   95   96   97   98   99   100   101   102