Page 96 - รายงานการศึกษาการประเมินแนวโน้มและทิศทางการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน
P. 96

- 56 -









































               รูปที่ 5.58: ศักยภาพการกักเก็บคาร์บอนจากป่าไม้และพืชเศรษฐกิจ (มันสำปะหลัง ข้าว อ้อย ยางพารา และ

                       ปาล์มน้ำมัน) พื้นที่ คทช. ป่าดงหมู พ.ศ. 2562

               5.6  การประเมินปริมาณคาร์บอนสุทธิในดิน

                   พิจารณาผลการวิเคราะห์ดินตัวอย่างจากห้องปฏิบัติการ (ตารางที่ 5.3) พบว่าศักยภาพการกักเก็บ
               คาร์บอนในดินสำหรับพื้นที่ป่าไม้และพืชเศรษฐกิจแต่ละชนิด มีค่าพิสัยซึ่งแสดงค่าสูงสุดและค่าต่ำสุด

               มีช่วงความแตกต่างอยู่มาก โดยสัดส่วนการกักเก็บคาร์บอนในแต่ละพื้นอยู่ที่ระดับต่ำกว่าร้อยละ 1 ซึ่งเมื่อ

               นำค่าปริมาณอินทรีย์คาร์บอนสะสมในดิน (Organic Carbon: OC) ประมวลเข้ากับผลการประเมินศักยภาพ
               การดูดซับคาร์บอนเหนือดินจากป่าไม้และพืชเศรษฐกิจหลัก 5 ชนิด โดยการคำนวณปริมาณคาร์บอนจาก

               การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน สำหรับป่าไม้และพืชเศรษฐกิจ ตามแนวทาง IPCC 2006 (ตารางที่ 5.5) กล่าวได้ว่า

               ปริมาณคาร์บอนในดิน (ผลการวิเคราะห์ดินตัวอย่างจากห้องปฏิบัติการ ภาคผนวก 4) ส่งผลต่อปริมาณคาร์บอน
               โดยรวมของพื้นที่ศึกษา ที่มีนัยยะสำคัญน้อยกว่าปริมาณคาร์บอนจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน (ผลการคำนวณ

               ตามแนวทาง IPCC 2006 ภาคผนวก 7)

               5.7  การคาดการณ์แนวโน้มและทิศทางการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยกำหนดสมมติฐานและสร้างภาพ

               อนาคต (Emissions Scenarios Analysis)

                   การกำหนดสมมติฐานภายใต้ปัจจัยทางกายภาพ และสังคมและเศรษฐกิจในพื้นที่ศึกษา ประกอบการ
               กำหนดภาพอนาคตด้านการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน ระหว่างปี พ.ศ. 2565–2589 เพื่อคาดการณ์แนวโน้มและ

               ทิศทางการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ใช้เป็นทางเลือกเชิงนโยบายการบริหารจัดการทรัพยากรดินและที่ดิน
   91   92   93   94   95   96   97   98   99   100   101