Page 101 - รายงานการศึกษาการประเมินแนวโน้มและทิศทางการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน
P. 101

- 1 -



                                                         บทที่ 6


                                                  สรุปและข้อเสนอแนะ


               6.1  สรุป

                    6.1.1 พื้นที่ศึกษา คทช. ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดงหมู ท้องที่ตำบลอุ่มเหม้า อำเภอธาตุพนม จังหวัด
               นครพนม เนื้อที่ 1,525 ไร่ เกษตรกรเข้าอยู่อาศัยและทำกินก่อนการประกาศเป็นป่าสงวนแห่งชาติ

               มีการเปลี่ยนพื้นที่ป่าเพื่อทำการเกษตร โดยพืชเศรษฐกิจหลัก 5 ชนิดที่เกษตรกรปลูกในพื้นที่ ปี พ.ศ. 2562

               ดังนี้ มันสำปะหลัง (ร้อยละ 14.82) ข้าว (ร้อยละ 14.16) อ้อย (ร้อยละ 6.75) ยางพารา (ร้อยละ 55.38)

               และปาล์มน้ำมัน (ร้อยละ 2.47) ในขณะที่เนื้อที่ป่าไม้เหลือเพียงร้อยละ 1.97

                    6.12  การเปลี่ยนแปลงสภาพที่ดินจากป่าไม้เป็นพื้นที่เกษตรกรรม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529–2562
               ส่งผลให้ศักยภาพการดูดซับคาร์บอนในดินของพื้นที่ศึกษามีแนวโน้มลดลง ความสามารถการดูดซับ

               คาร์บอนในดินจึงขึ้นกับพืชเกษตรแต่ละชนิดที่มีการปลูกในพื้นที่แทนไม้ป่า อย่างไรก็ตาม เมื่อได้เวลาการ

               เก็บเกี่ยวผลผลิตพืชเกษตรจะถูกจัดเก็บเพื่อบริโภคและการค้า ปริมาณคาร์บอนกักเก็บในดินจะถูกปลดปล่อย

               ออกสู่บรรยากาศ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ดูดซับจากพืชเกษตรจึงมีความผันผวนและเปลี่ยนแปลง

               ตลอดเวลา ไม่ยั่งยืนเหมือนดังเช่นการปลูกไม้ใหญ่ที่ต้องใช้ระยะเวลาและรอบตัดฟันที่นานกว่า อย่างน้อย 5 ปี

               ขึ้นไป ซึ่งจะมีการสะสมคาร์บอนในดินและลำต้นอย่างต่อเนื่อง จึงมีความยั่งยืนและแน่นอนกว่า
                    6.1.3 การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน พื้นที่จัดสรร คทช. จึงมี

               แนวโน้มมากขึ้นตราบเท่าที่ยังมีการบุกรุกแผ้วถางป่าและพื้นที่ป่าถูกทดแทนด้วยพืชเกษตรอย่างต่อเนื่อง

               และขาดการบริหารจัดการที่เหมาะสม ดังนั้น ในช่วงระยะเวลาระหว่างปี พ.ศ. 2559–2589 ซึ่งกรมป่าไม้

               ได้อนุญาตให้เกษตรกรเข้าใช้พื้นที่เพื่อทำกินและอยู่อาศัย จึงสามารถประเมินแนวโน้มและทิศทาง

               การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตามแนวทางการกำหนดภาพอนาคตใน 2 กรณี (คือ กรณีไม่มีนโยบาย

               และ / หรือ มาตรการใด ๆ การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจะเพิ่มขึ้น และกรณีมีนโยบายและมาตรการ
               กำกับการใช้ที่ดินในพื้นที่ คทช. การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจะลดลงตามลำดับ) ภายใต้สมมติฐาน

               การเปลี่ยนแปลงของ 2 ปัจจัย (คือพื้นที่ป่าไม้ และสภาพเศรษฐกิจและสังคม) ได้ผลสรุปดังตารางที่ 5.6

               ในบทที่ 5

                    6.1.4 พืชเศรษฐกิจที่เกษตรกรมีการปลูกจริงในพื้นที่ มีความเหมาะสมของดินระดับปานกลาง (S2)

               ได้แก่ อ้อย ยางพารา และปาล์มน้ำมัน ตามลำดับ โดยพืชทางเลือกที่สามารถส่งเสริมให้เกษตรกรปลูก
               เพื่อเสริมสร้างรายได้ในภาวะปกติวิถีใหม่ (New Normal) ได้แก่ ข้าวโพด ขิง ข่า และกระชาย ซึ่งมีความ

               เหมาะสมดินระดับปานกลาง (S2) เช่นกัน

                    6.1.5 ในการพิจารณาความเหมาะสมของการนำเอาแหล่งสะสมคาร์บอนใด ๆ มาคิดคำนวณ

               ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับความพร้อมของข้อมูล ค่าใช้จ่ายในการตรวจวัด และความต้องการในการอนุรักษ์ไม้ยืนต้น
   96   97   98   99   100   101   102   103   104   105   106