Page 98 - รายงานการศึกษาการประเมินแนวโน้มและทิศทางการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน
P. 98

- 58 -


               ผลผลิต เกิดการแผ้วถางและบุกรุกป่าเพิ่ม เป็นสาเหตุของการสูญเสียป่าอย่างต่อเนื่อง ที่ดินเสื่อมโทรม

               เกิดมลพิษและผลกระทบสิ่งแวดล้อม ซึ่งเร่งรัดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกและนำไปสู่วิกฤตปัญหาภาวะโลกร้อน
                   5.7.2  ภาพอนาคตที่ 2 (Mitigation Scenario): กรณีมีนโยบายและมาตรการกำกับการใช้ที่ดินในพื้นที่

               คทช. การดำเนินกิจกรรมในพื้นที่ศึกษา (ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ คทช. ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดงหมู ท้องที่ตำบลอุ่มเหม้า

               อำเภอธาตุพนม ครอบคลุมเนื้อที่ 1,525 ไร่) เป็นไปตามกรอบนโยบาย กฎ และระเบียบปฏิบัติที่กำหนด
               แนวทางการวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง 2 ด้าน เป็นดังนี้ การวิเคราะห์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน

               ในพื้นที่ศึกษา ภายหลังประกาศเป็นพื้นที่ คทช. ระหว่างปี พ.ศ. 2559–2589 ภายใต้ปีฐานของผลการศึกษาปี
               พ.ศ. 2525–2564 จากภาพอนาคตที่ 1 แนวทางการวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง 2 ด้าน เป็นดังนี้

                       1) ปัจจัยด้านพื้นที่ป่าไม้: ผลการวิเคราะห์แนวโน้มการใช้ที่ดินพื้นที่ศึกษา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553

               เป็นต้นมาจนถึงปี พ.ศ. 2559 ซึ่งกรมป่าไม้ออกหนังสืออนุญาตการเข้าอยู่อาศัยและใช้ประโยชน์พื้นที่ศึกษา
               ตามนโยบาย คทช. โดยช่วงดังกล่าวพื้นที่ คทช. ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดงหมู ท้องที่ตำบลอุ่มเหม้า อำเภอ

               ธาตุพนม ครอบคลุมเนื้อที่ 1,525 ไร่ มีเนื้อที่ป่าไม้ ระหว่าง 27–33 ไร่ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2–3
               ของพื้นที่จัดสรร ส่วนที่เหลือมีการใช้ประโยชนเพื่อการเกษตรกรรม โดยพืชเศรษฐกิจหลัก 5 ชนิด ได้แก่

               มันสำปะหลัง นาข้าว อ้อย ยางพารา และปาล์มน้ำมัน (ตารางที่ 5.2 และรูปที่ 5.14 และ 5.26) ซึ่งกรมป่าไม้

               ได้กำหนดระเบียบปฏิบัติเป็นแนวทางการรักษาไม้หลักที่เหลืออยู่ไม่ให้หมดไป โดยระบุการใช้ที่ดิน


               ของผู้ได้รับการจัดที่ดิน ให้ทำการปลูกต้นไม้ชนิดที่มีค่าในพื้นที่ที่ได้รับการจัดที่ดิน อย่างน้อย 2 ต้น / ไร่
               และต้อ งดูแลรักษาให้เจริญเติบโตอย่างดี ซึ่งเป็นหมุดหมายให้เกิดการฟื้นฟูที่ดินและป่าเพื่อเพิ่มพื้นที่ป่า



               ในพื้นที่จัดสรร คทช. อย่างต่อเนื่องและยั่งยื น
                       2) ปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคม: เกษตรกร / ราษฎร ที่ได้รับการจัดสรรที่ดินทำกินและยินดี
               เข้าร่วมดำเนินการตามนโยบาย คทช. 198 ราย จำนวน 210 แปลง และเมื่อมีการจดทะเบียนจัดตั้ง
               สหกรณ์การเกษตรโสกแมว จำกัด เป็นนิติบุคคลเพื่อขับเคลื่อนภารกิจ คทช. เกษตรกรสมัครเข้าเป็น

               สมาชิกสหกรณ์ จำนวน 136 ราย ซึ่งสมาชิกเหล่านี้จะมีสิทธิ์ได้รับความสนับสนุนด้านข้อมูล การเข้ารับการ

               อบรมหลักสูตรความรู้ด้านการเงิน การบัญชี การลงทุน และการตลาด ตลอดจนทรัพยากรด้านการ
               เกษตรกรรมเพื่อเป็นต้นทุนวิชาชีพระดับครัวเรือนและชุมชน โดยหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ได้แก่

               กรมพัฒนาที่ดิน กรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร กรมประมง และกรมป่าไม้
               เป็นต้น กิจกรรมการส่งเสริมพัฒนาอาชีพและการตลาด ซึ่งพัฒนาโดยบูรณาการความร่วมมือกับทุกภาคส่วน

               ทั้งจากภาครัฐ เอกชน องค์การเอกชน ภายใต้ข้อกำหนด กฎเกณฑ์ ระเบียบปฏิบัติ และมาตรการต่าง ๆ

               ตามหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) โดยมีเกษตรกร / ราษฎร เป็นศูนย์กลาง
               การพัฒนา จะช่วยยกระดับความเป็นอยู่ พัฒนาคุณภาพชีวิต และลดปัญหาความขัดแย้งการใช้ที่ดินระหว่าง

               ภาครัฐและชุมชน

                           • วิเคราะห์ผลแนวโน้มและทิศทางการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการเปลี่ยนแปลง
               การใช้ที่ดิน ภายใต้ Mitigation Scenario: การลดลงของพื้นที่ป่าไม้ในพื้นที่ศึกษา ส่งผลให้ศักยภาพการ

               ดูดซับคาร์บอนในดินมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529–2562 ซึ่งใช้เป็นปีฐานของ
   93   94   95   96   97   98   99   100   101   102   103