Page 67 - รายงานประจำปี 2565
P. 67

จากรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อฐานทรัพยากรน้ำในประเทศไทย
               พบว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยโดยรวม และเกิดการเปลี่ยนแปลง
               อย่างมีนัยสำคัญต่อรูปแบบและความรุนแรงของการเกิดฝนและพายุฝน ซึ่งเพิ่มโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดอุทกภัยและภัยแล้ง
               คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (International Panel on Climate

               Change: IPCC) ได้คาดการณ์ว่า พื้นที่ในแถบลุ่มน้ำเจ้าพระยาอย่างกรุงเทพมหานคร มีแนวโน้มที่จะได้รับ
               ผลกระทบจากการเกิดปรากฏการณ์ทางอุทกวิทยาพร้อม ๆ กันหลายเหตุการณ์ ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์น้ำท่วม
               รุนแรง (Intense Flood) ปัญหาการระบายน้ำท่วม (Flood Drainage) และเหตุการณ์คลื่นพายุซัดฝั่ง (Storm Surge)

               นอกจากนี้ ผลการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในประเทศไทยหลาย ๆ
               การศึกษาให้ข้อสรุปถึงแนวโน้มของอุณหภูมิเฉลี่ย (Mean Temperature) ที่เพิ่มสูงขึ้น การเปลี่ยนแปลงข้อมูล
               ปริมาณฝนรายฤดูกาล ยังพบว่าจำนวนวันฝนตกในช่วงฤดูฝนในประเทศไทยมีแนวโน้มลดลง ในขณะที่
               ค่าความเข้มฝนเฉลี่ยในวันฝนตกมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับมีการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล ซึ่งก่อให้เกิด
               ปัญหาการรุกล้ำของน้ำทะเล การกัดเซาะและการทำลายระบบนิเวศในแถบพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเล

               ของประเทศไทยอีกด้วย

                     มาตรการในการรับมือโดยหน่วยงานภาครัฐในช่วงสถานการณ์น้ำท่วมในปี พ.ศ. 2564 ได้เรียนรู้
               จากเหตุการณ์มหาอุทกภัยในอดีต ไม่ว่าจะเป็น แนวทางการบริหารจัดการน้ำในเขื่อนด้วยการลดปริมาณ
               การระบายน้ำและเพิ่มการเก็บกักน้ำต้นทุนไว้ในเขื่อนเก็บกักขนาดใหญ่ทั้งเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ และ

               เพิ่มปริมาณการระบายน้ำของเขื่อนเก็บกักขนาดกลางและขนาดเล็กเพื่อรักษาความปลอดภัยของตัวเขื่อน
               การเพิ่มปริมาณระบายน้ำของเขื่อนทดน้ำเจ้าพระยา เพื่อเร่งระบายน้ำเหนือที่ไหลบ่าลงมาออกสู่ทะเล
               เร่งการผันน้ำส่วนเกินเข้าพื้นที่รับน้ำนองผ่านระบบคลองส่งน้ำ เพื่อตัดยอดน้ำและลดความเสียหายรุนแรงที่เกิดขึ้น
               และเพิ่มการชะลอน้ำสำหรับใช้ในการทำเกษตรกรรมในช่วงเพาะปลูกฤดูแล้ง หากไม่มีปริมาณน้ำไหลจากส่วนอื่น ๆ

               เข้ามาสมทบ














                     ภาพที่ 3 แสดงการเพิ่มปริมาณการระบายน้ำของเขื่อนเก็บกักขนาดกลาง ขนาดเล็ก และในพื้นที่การเกษตร







                       65
   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72