Page 62 - รายงานประจำปี 2565
P. 62

แนวทางการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรมในพื้นที่แล้งซ้ำซาก


                                                                            โดย นางสาวอัจฉรี  สิงห์โต  นักวิชาการเกษตรชำนาญการ
                                                                            กลุ่มวางแผนการจัดการที่ดินในพื้นที่เสี่ยงภัยทางการเกษตร


                     ภัยแล้งที่เกิดขึ้นในประเทศไทย มีผลกระทบโดยตรงกับการเกษตรและแหล่งน้ำ โดยเป็นภัยแล้งที่เกิดจาก
               การขาดฝนหรือฝนแล้งในช่วงฤดูฝน และเกิดฝนทิ้งช่วงในเดือนมิถุนายนต่อเนื่องเดือนกรกฎาคม โดยภัยแล้ง
               ส่วนใหญ่เป็นภัยแล้งที่เกิดเนื่องจากมีการกระจายของฝนไม่สม่ำเสมอ สภาพพื้นดินมีเนื้อดินเป็นดินทรายทำให้
               ความสามารถในการอุ้มน้ำต่ำ ปริมาณน้ำใต้ดินที่สามารถนำมาใช้อยู่ในเกณฑ์ต่ำ สภาพการใช้ที่ดินส่วนใหญ่เป็นพืชไร่ และ

               พื้นที่การเกษตรอื่น ๆ ที่อาศัยน้ำฝนเกือบทั้งหมด ทำให้พื้นที่ดังกล่าวขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรกรรม ซึ่งสร้าง
               ความเสียหายต่อพื้นที่เกษตรกรรมเป็นประจำทุกปี นอกจากภัยแล้งจะเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติแล้ว ยังอาจเกิดจาก
               การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมที่เป็นผลจากการกระทำของมนุษย์ ทำให้เกิดความเสียสมดุลด้านระบบ

               นิเวศวิทยาของพื้นที่ต้นน้ำ ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อปริมาณน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำและยังมีผลกระทบทางอ้อมกับ
               ปริมาณน้ำฝน ประกอบกับสภาวะของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยรวมของโลก (Climate Change)
               ที่มีความแปรปรวนและมีความซับซ้อนส่งผลให้ปรากฏการณ์เอลนีโญ่ (El Nino) มีความรุนแรงมากขึ้นทำให้
               ประเทศไทยประสบกับภัยแล้ง ประเทศไทยเป็นประเทศที่ประชาชนประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่
               ภัยแล้งจึงส่งผลเสียหายต่อกิจกรรมทางการเกษตร เช่น พื้นดินขาดความชุ่มชื้น พืชขาดน้ำ พืชชะงัก การเจริญเติบโต

               ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพต่ำ รวมถึงปริมาณผลผลิตที่ลดลง
                     แนวทางการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรมในพื้นที่แล้งซ้ำซากที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี จำเป็นต้องมี
               แนวทางที่สามารถแยกได้ชัดเจนตามระดับความรุนแรงของการเกิดแล้งซ้ำซากในพื้นที่เกษตรกรรม กล่าวคือ

               การใช้แนวคิดเพื่อปฏิบัติในการลดโอกาสที่จะได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง เกษตรกรสามารถเตรียมความพร้อม
               รับมือกับภัยแล้งที่จะเกิดขึ้น เพื่อให้พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด โดยสามารถดำเนินการได้ดังนี้
                     1. พื้นที่แล้งซ้ำซากตั้งแต่ 6 ครั้งขึ้นไปในรอบ 10 ปี ควรแนะนำให้เกษตรกรในพื้นที่งดหรือลดการเพาะปลูก
               เป็นการลดความล่อแหลม หรือสภาวะการเปิดรับต่อความเสี่ยงภัยแล้ง ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ทำการเกษตรนอกเขต

               ชลประทาน ดังนั้นกรณีพื้นที่ดังกล่าวมีการปลูกพืชที่เป็นพืชอายุปีเดียว เช่น ข้าว ข้าวโพด ถ้าไม่มีแหล่งน้ำสำรอง
               ควรงดการเพาะปลูกในช่วงฤดูแล้ง ส่วนพืชที่มีอายุมากกว่าหนึ่งปี ควรมีการเพิ่มอินทรียวัตถุในดินเพื่อเป็นการ
               เพิ่มช่องว่างในดินทำให้ดินสามารถเก็บกักน้ำไว้ได้ รวมถึงสร้างการรับรู้แก่เกษตรกรในเรื่องของภัยแล้ง เป็นการเพิ่ม
               ศักยภาพ หรือขีดความสามารถในการรับมือกับภัยแล้ง เช่น ให้ทราบถึงพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งก่อนทำการเพาะปลูก

               ในฤดูถัดไป มีการเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ภัยแล้งในช่วงที่เกิดสภาวะแห้งแล้ง










                                                ภาพที่ 1 งดหรือลดการเพาะปลูก








                       60
   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67