Page 58 - รายงานประจำปี 2565
P. 58

เหตุการณ์ดินถล่มในประเทศไทย


                                                                             โดย นายดนัยวัฒน์ เรขะรุจิ นักวิชาการเกษตรปฏิบัติการ
                                                                            กลุ่มวางแผนการจัดการที่ดินในพื้นที่เสี่ยงภัยทางการเกษตร

                      ดินถล่ม เป็นภัยที่เกิดจากการเคลื่อนตัวของดินหรือหินลงมาตามที่ลาดเชิงเขาในขณะหรือภายหลัง

               เกิดฝนตกหนักต่อเนื่อง ทำให้ดินชุ่มน้ำจนน้ำหนักของมวลดินเพิ่มขึ้นและแรงยึดเกาะระหว่างมวลดินลดลง
               จึงเลื่อนไหลลงมายังพื้นด้านล่าง ก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน ในประเทศไทยดินถล่มโดยส่วนใหญ่
               เกิดจากฝนตกหนักมากบริเวณเทือกเขาที่เรียกว่า Shallow Landslides (Piersson et al., 1991) และมักเกิดพร้อมกับ

               น้ำป่าไหลหลาก ทำให้มีการพัดพาดิน หิน ทรายและเศษซากไม้ต่าง ๆ ไปกับน้ำด้วย เรียกว่า Debris flow
               ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดดินถล่ม

                      1) ลักษณะของสภาพภูมิประเทศ (Topography) มีอิทธิพลต่อความรุนแรงและความยากง่าย
               ต่อการเกิดแผ่นดินถล่ม ซึ่งได้แก่ ความลาดชัน (Slope) ความยาวของความลาดชัน (Slope Length) ทิศทาง
               ของความลาดชัน (Aspect of Slope) ลักษณะภูมิสัณฐาน (Landform) และระดับความสูงของพื้นที่ (Elevation)

                      2) ลักษณะทางธรณีวิทยา และปฐพีวิทยา (Geology and Pedology) ลักษณะของดินและหิน
               เป็นปัจจัยสำคัญอีกชนิดหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อการเกิดแผ่นดินถล่มในพื้นที่ จากการศึกษาสมบัติทางกายภาพของดิน
               พบว่า แรงที่ต้านการพังทลายของดินมีอยู่ 2 แรง ได้แก่ แรงที่เม็ดดินยึดติดกัน (Effective Cohesion) และแรงเสียดทาน
               ภายใน (Internal Friction) ซึ่งมีผลต่อความรุนแรงและความยากง่ายต่อการเกิดแผ่นดินถล่มเช่นเดียวกัน

                      3) สภาพการใช้ที่ดินและพืชพรรณ (Land Use and Vegetation) สภาพการใช้ที่ดินแบบต่าง ๆ มีผล
               โดยตรงต่อสิ่งปกคลุมพื้นดิน เช่น ป่าไม้ ทุ่งหญ้า เป็นต้น สิ่งปกคลุมเหล่านี้จะช่วยลดแรงปะทะของเม็ดฝนก่อนตก
               ลงถึงผิวดิน ทำให้การกร่อนที่ผิวหน้าดินเกิดขึ้นได้น้อยลง ดังนั้นหากสภาพการใช้ที่ดินที่มีพืชปกคลุมดินน้อย
               มีการตัดไม้ทำลายป่ามาก และพื้นที่มีความลาดชันสูง แผ่นดินถล่มและการพังทลายของภูเขาก็จะเกิดขึ้นได้ง่าย

                      4) สภาพภูมิอากาศ (Climate) โดยเฉพาะปริมาณน้ำฝนนับว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดแผ่นดินถล่ม
               กล่าวคือ หากฝนตกติดต่อกันเป็นเวลานานจนเกิดความสามารถของดินและต้นไม้จะดูดซับเอาไว้ได้ แรงยึดเหนี่ยว
               ระหว่างอนุภาคเม็ดดินจะลดลง แผ่นดินก็จะถล่มลงมา

               เหตุการณ์ดินถล่มในประเทศไทย (สำนักธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม กรมทรัพยากรธรณี)
                      1) บ้านกะทูนเหนือ อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช วันที่ 22 พฤศจิกายน 2531 ความเสียหายที่พบ

               ได้แก่ มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตประมาณ 230 คน บ้านเรือนเสียหายประมาณ 1,500 หลัง พื้นที่ทำการเกษตร
               เสียหาย 6,150 ไร่ คิดเป็นมูลค่าประมาณ 1,000 ล้านบาท
                      2) บ้านคีรีวง อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช วันที่ 22 พฤศจิกายน 2531 ความเสียหายที่พบ
               ได้แก่ มีผู้เสียชีวิต 12 คน บ้านเรือนเสียหาย 152 หลัง เสียหายบางส่วน 210 หลัง

                      3) กิ่งอำเภอเขาคิชกูฏ จังหวัดจันทบุรี วันที่ 30 กรกฎาคม 2542 มีการอพยพชาวบ้านออกจาก
               พื้นที่ก่อนเกิดเหตุ ความเสียหายที่พบ ได้แก่ บ้านเรือนปศุสัตว์และพื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหาย
                      4) บ้านธารทิพย์ อำเภอหล่มสัก และบ้านโพธิ์เงิน อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ วันที่ 11 กันยายน 2543

               ความเสียหายที่พบ ได้แก่ บ้านเรือนเสียหาย 363 หลัง การปศุสัตว์และพื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหาย
                      5) อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ วันที่ 4 พฤษภาคม 2544 ความเสียหายที่พบ ได้แก่ ผู้เสียชีวิต 43 คน
               สูญหาย 4 คน บ้านเรือนเสียหาย 18 หลัง คิดเป็นมูลค่าประมาณ 100 ล้านบาท








                       56
   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63