Page 66 - รายงานประจำปี 2565
P. 66

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สิ่งที่เราต้องเรียนรู้

                     การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศนับเป็นปัจจัยทางธรรมชาติหลักอันหนึ่งที่ก่อให้เกิดปัญหาน้ำท่วม
               ในปี พ.ศ. 2564 ผนวกกับความผิดปกติของปรากฏการณ์ทางอุทกวิทยาที่เกิดขึ้นเกือบพร้อมกันในช่วงระยะเวลาสั้น
               และรวดเร็ว ทั้งจากพายุเตี้ยนหมู่ พายุไลออนร็อก พายุคมปาซุ และร่องมรสุมพัดพาดผ่านในพื้นที่ที่มีการเปลี่ยนแปลง

               ลักษณะทางกายภาพจากการใช้ประโยชน์ที่ดิน (Land Use Change) ที่แตกต่างไปจากอดีตในพื้นที่ทางด้านเหนือเขื่อน
               ส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำ (Reservoir Inflow) โดยเฉพาะอย่างยิ่งเขื่อนเก็บกักขนาดกลาง
               และขนาดเล็กที่มีปริมาณน้ำเต็มความจุเก็บกักอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
               เขื่อนทับเสลา และเขื่อนกระเสียว นอกจากนี้ ปัจจัยการเปลี่ยนแปลงลักษณะกายภาพในบริเวณพื้นที่ทางด้านท้ายเขื่อน
               ยังส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงชลศาสตร์การไหลของน้ำ (Hydraulic Behavior) ที่ทำให้เกิดน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน

               ในหลายพื้นที่ทั้งสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำท่าจีน













                     ภาพที่ 2 แสดงการเกิดน้ำท่วมบริเวณพื้นที่ชุมชนบ้านเรือน และพื้นที่การเกษตร ทำให้ได้รับความเสียหาย


                     อย่างไรก็ตาม ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา อิทธิพลของการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก
               (Global Climate Change) ทวีความรุนแรงขึ้นเป็นลำดับ จากปัจจัยการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิผิวโลกและผิวน้ำทะเล
               (Increased Temperature) และความผันผวนของสภาพภูมิอากาศ (Increased Climate Variability) ซึ่งนำไปสู่
               ความเสี่ยงที่จะเกิดภัยพิบัติน้ำ ทั้งอุทกภัย (Flood) และภัยแล้ง (Drought) ที่มีความถี่ และความรุนแรง

               ของการเกิดเหตุการณ์สูงขึ้น โดยเกิดวิกฤตน้ำท่วมและภัยแล้งขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก ในช่วงสองถึงสามปี
               ที่ผ่านมา รวมถึงประเทศไทยที่สถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้นต่อเนื่องติดต่อกันในช่วงปี พ.ศ. 2561–2563 ตามมา
               ด้วยน้ำท่วมรุนแรงในช่วงปลายปี พ.ศ. 2564 จากภาพเหตุการณ์ดังกล่าวสะท้อนถึงปัญหาวิกฤตการเปลี่ยนแปลง
               ของสภาพภูมิอากาศโลกที่ทุกประเทศต้องให้ความสำคัญ ตลอดจนเตรียมความพร้อมเพื่อแก้ปัญหา และรับมือ

               รวมถึงปรับตัวเพื่อลดผลกระทบ และความเสียหายจากภัยพิบัติที่อาจจะเกิดขึ้นซ้ำในอนาคตอันใกล้นี้












                       64
   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71