Page 69 - รายงานประจำปี 2565
P. 69

ด้านที่ 5 การอนุรักษ์ฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ำที่เสื่อมโทรมและป้องกันการพังทลายของดิน (Conservation and
               Rehabilitation of Degraded Watershed Forest and Soil Erosion Protection) และด้านที่ 6 การบริหารจัดการ

               (Management)
                     แนวทางการบริหารจัดการน้ำในอนาคต

                     การสร้างกลไกการรับรู้ของประชาชนผ่านนโยบาย และองค์กรต่าง ๆ ของรัฐ และการปรับตัวของประชาชน
               และชุมชนด้วยตัวเองเพื่ออยู่ร่วมกับภัยพิบัติน้ำท่วมที่เกิดขึ้นซ้ำซาก โดยได้รับผลกระทบน้อยที่สุด จะเป็น
               ส่วนสำคัญในการบรรเทาปัญหาน้ำท่วมในระดับพื้นที่ อีกทั้งยังเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาแผนการป้องกันภัยน้ำท่วม

               (Flood Protection Plan) ในพื้นที่ขนาดใหญ่ ยกตัวอย่างเช่น การปรับตัวของชุมชนผ่านรูปแบบของมาตรการ
               “การกันน้ำท่วม (Flood Proofing)” และ “การสู้ภัยน้ำท่วม (Flood Fighting)” ซึ่งประชาชนสามารถเรียนรู้
               ที่จะเผชิญเหตุน้ำท่วมได้เองจากประสบการณ์ในอดีตที่เคยเกิดขึ้นในพื้นที่ เช่น การปรับรูปแบบการสร้างบ้านเรือน
               และที่อยู่อาศัยเป็นอาคารสองชั้นในเขตพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก การยกระดับเสาของอาคารให้สูงขึ้นเหนือระดับน้ำท่วม
               สูงสุดที่เคยเกิดขึ้น การยกระดับคันดินในการปลูกสร้างโครงสร้างพื้นฐาน การสร้างคันกระสอบทรายหรือทำนบกันน้ำ

               ท่วม เพื่อปิดล้อมพื้นที่ เมื่อเห็นว่าระดับน้ำในแม่น้ำกำลังเพิ่มระดับสูงขึ้นและมีโอกาสที่จะเกิดน้ำท่วม และการสร้าง
               ทางผันน้ำหรือระบายน้ำออกจากพื้นที่อ่อนไหว เป็นต้น รวมทั้งการปรับเปลี่ยนแผนการผลิตทางการเกษตร
               เช่น การเพาะปลูกพืช เพื่อให้สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ก่อนฤดูน้ำหลากจะมาถึง และการปลูกพืชที่มีมูลค่า

               ทางเศรษฐกิจสูง และสามารถต้านทานและทนน้ำท่วมได้ดี เป็นต้น









                     ภาพที่ 4 การปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกพืช เพื่อให้สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ก่อนฤดูน้ำหลาก

                     บทสรุป

                     ปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในไทย ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการขยายตัวของเมืองและชุมชนในพื้นที่น้ำหลาก
               ตามธรรมชาติ การใช้ประโยชน์ในที่ดินที่ไม่สอดคล้องกับแนวทางการบริหารจัดการน้ำ และการเปลี่ยนแปลง
               สภาพภูมิอากาศของโลกที่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทย ที่ผ่านมาประเทศไทยได้พยายามเรียนรู้จากประสบการณ์
               ในอดีต และกำหนดแนวทางบริหารจัดการน้ำท่วม การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรน้ำ รวมทั้งการบริหารจัดการ

               ปัญหาในระดับพื้นที่ เพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์ของชุมชน การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในพื้นที่
               มีบทบาทสำคัญในการกำหนดทิศทางในการพัฒนาและการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำให้เกิดเป็นรูปธรรม
               ด้วยแนวคิดจากล่างขึ้นบน (Bottom–Up Approach) จะเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการก้าวไปสู่การยกระดับวิถีชีวิตใหม่

               ที่ตระหนักถึงสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืนในอนาคต แนวทางการป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ชุมชนวิถีใหม่
               ที่กำลังเกิดขึ้นเป็นสัญญาณที่ดีว่าในอนาคตปัญหาน้ำท่วมในประเทศไทยอาจได้รับจัดการอย่างเป็นระบบ
               และมีประสิทธิภาพมากขึ้น


                       67
   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74