Page 68 - รายงานประจำปี 2565
P. 68

การบริหารจัดการน้ำท่วม
                     หลังมหาอุทกภัยปี พ.ศ. 2554 รัฐบาลได้ตระหนักถึงความสำคัญ และความเสียหายที่เกิดขึ้นจากภัยพิบัติ
               อันเนื่องมาจากวิกฤตน้ำจากผลของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยได้กำหนดให้ภัยพิบัติน้ำเป็นปัญหาวิกฤต
               เร่งด่วนของประเทศที่จะต้องเร่งแก้ปัญหาทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ในระยะแรกได้แต่งตั้งคณะทำงาน เพื่อยกร่าง

               แผนแม่บทของการบริหารจัดการน้ำท่วม (Flood Management Master Plan) เป็นการเฉพาะกิจ โดยมุ่งเน้น
               ที่จะบรรเทา ป้องกัน และลดความเสียหายที่เกิดขึ้นจากภัยพิบัติน้ำท่วม และปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบ
               การป้องกันและการบริหารจัดการน้ำท่วมในสภาวะฉุกเฉิน โดยได้นำเสนอมาตรการป้องกันน้ำท่วม

               ทั้งแบบใช้สิ่งก่อสร้าง (Structural Measures) เช่น การเพิ่มจำนวน และขนาดความจุเก็บกักของอ่างเก็บน้ำ
               การพัฒนาอ่างเก็บน้ำขนาดกลางและขนาดเล็ก การปรับปรุงทางน้ำ (Channel Improvement) และการก่อสร้าง
               ทางระบายน้ำท่วม (Floodway) เป็นต้น และมาตรการแบบไม่ใช้สิ่งก่อสร้าง (Non–Structural Measures)
               เช่น นโยบาย “Room for the Rivers” ด้วยการกำหนดพื้นที่แก้มลิงเพื่อเพิ่มพื้นที่รับน้ำนอง (Flood Retention Area)
               ขนาดใหญ่ ในช่วงฤดูน้ำหลากและชะลอการเกิดน้ำท่วมแบบฉับพลัน ร่วมกับการกำหนดแผนการผันน้ำที่เหมาะสม

               ในพื้นที่รับน้ำ และการดำเนินมาตรการจ่ายเงินชดเชยให้กับประชาชนในพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม เป็นต้น
               นอกจากนี้ ในปี พ.ศ. 2560 รัฐบาลยังได้มีการจัดตั้งสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่
               เป็นหน่วยงานหลักในการกำกับดูแลนโยบายการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศ โดยมีพระราชบัญญัติ

               ทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 (Water Resources Act, B.E. 2561) และแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี
               (พ.ศ. 2561–2580) (The 20–year Master Plan on Water Resources Management, B.E. 2561–2580)
               เป็นกรอบแนวทางปฏิบัติในการพัฒนา และแก้ไขปัญหาทรัพยากรน้ำของประเทศตามแนวทางการพัฒนาประเทศ
               ของยุทธศาสตร์ชาติ สาระสำคัญของพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 มุ่งเน้นไปที่การมีกฎหมาย

               ในการบูรณาการในการจัดสรรน้ำและการใช้น้ำ การพัฒนาและการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ การอนุรักษ์และ
               การฟื้นฟูทรัพยากรน้ำ และสิทธิขั้นพื้นฐานในการเข้าถึงทรัพยากรน้ำสาธารณะ รวมทั้งจัดให้มีองค์กรบริหาร
               จัดการทรัพยากรน้ำทั้งในระดับชาติ ระดับลุ่มน้ำ และระดับองค์กรผู้ใช้น้ำ เพื่อเพิ่มโอกาสการมีส่วนร่วมของ
               ภาคประชาชนในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในทุกระดับร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบูรณาการและ

               บริหารจัดการทรัพยากรน้ำร่วมกันอย่างเป็นระบบ โดยให้มีคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.)
               เป็นองค์กรหลักในระดับชาติที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และมีคณะกรรมการลุ่มน้ำเป็นกลไกในการขับเคลื่อน
               ในระดับลุ่มน้ำ รวมทั้งการรวมตัวของกลุ่มบุคคลที่มีการใช้น้ำในแหล่งเดียวกันในรูปแบบขององค์กรผู้ใช้น้ำ
               เพื่อบูรณาการการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแบบองค์รวม

                     สำหรับแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (พ.ศ. 2561–2580) ให้ความสำคัญกับทรัพยากรน้ำ
               ในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อมุ่งไปสู่การสร้างความมั่นคง และความยั่งยืนของ
               ฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพของทรัพยากรบุคคลในอนาคต

               โดยพัฒนาขึ้นตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจแบบพอเพียง และการสร้างสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และฟื้นฟู และ
               การพัฒนาแหล่งน้ำ ครอบคลุม 6 ด้านหลัก ได้แก่ ด้านที่ 1 การจัดการน้ำอุปโภคบริโภค (Water Consumption
               Management) ด้านที่ 2 การสร้างความมั่นคงของน้ำภาคการผลิต (Building Water Security in the
               Production Sector) ด้านที่ 3 การจัดการน้ำท่วมและอุทกภัย (Flood Management) ด้านที่ 4 การจัดการ
               คุณภาพน้ำและอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ (Water Quality Management and Water Resources Conservation)




                       66
   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73