Page 26 - รายงานประจำปี 2565
P. 26

ผลการศึกษา

                       เกษตรกรผู้ปลูกข้าวหอมมะลิ บริเวณพื้นที่ดินที่มีความเหมาะสมทางกายภาพระดับสูง (S1) ปานกลาง

               (S2) และเล็กน้อย (S3) มีอายุเฉลี่ย 57 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 67.03 ลักษณะการ
               ถือครองที่ดินส่วนใหญ่เป็นที่ของตนเอง ร้อยละ 71.19 โดยมีเนื้อที่ปลูก/เนื้อที่เก็บเกี่ยวเฉลี่ย 9.65 ไร่ต่อครัวเรือน

               พันธุ์ข้าวที่ใช้ปลูก ได้แก่ พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และ กข15 ปัจจัยการผลิตข้าวหอมมะลินาปีเฉลี่ยต่อเนื้อที่ปลูก 1 ไร่
               ใช้แรงงานคน 0.18 วันท้างาน และแรงงานเครื่องจักร 4.38 ชั่วโมงท้างาน โดยมีต้นทุนผันแปรเฉลี่ย 2,944.15

               บาทต่อไร่ ต้นทุนคงที่เฉลี่ย 1,121.13 บาทต่อไร่ รวมต้นทุนการผลิตทั้งหมดเฉลี่ย 4,065.28 บาทต่อไร่ ผลผลิตคุ้มทุน
               เฉลี่ย 286.00 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 573.27 กิโลกรัมต่อไร่ ดังนั้น เกษตรกรมีผลก้าไรเฉลี่ย 1,128.55 บาท
               ต่อไร่ (ตารางที่ 1)

                       เกษตรกรผู้ปลูกข้าวเจ้า บริเวณพื้นที่ดินที่มีความเหมาะสมทางกายภาพระดับสูง (S1) และปานกลาง
               (S2) มีอายุเฉลี่ย 58 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 77.78 ลักษณะการถือครองที่ดินส่วนใหญ่

               เป็นที่ของตนเอง ร้อยละ 84.19 โดยมีเนื้อที่ปลูก/เนื้อที่เก็บเกี่ยวเฉลี่ย 9.11 ไร่ต่อครัวเรือน พันธุ์ข้าวที่ใช้ปลูก
               ได้แก่ พันธุ์พิษณุโลก 2 ปัจจัยการผลิตข้าวขาวนาปีเฉลี่ยต่อเนื้อที่ปลูก 1 ไร่ ใช้แรงงานคน 0.07 วันท้างาน และ

               แรงงานเครื่องจักร 5.46 ชั่วโมงท้างาน โดยมีต้นทุนผันแปรเฉลี่ย 3,923.08 บาทต่อไร่ ต้นทุนคงที่เฉลี่ย 1,196.69
               บาทต่อไร่ รวมต้นทุนการผลิตทั้งหมดเฉลี่ย 5,119.77 บาทต่อไร่ ผลผลิตคุ้มทุนเฉลี่ย 393.65 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิต

               เฉลี่ย 868.78 กิโลกรัมต่อไร่ ดังนั้น เกษตรกรมีผลก้าไรเฉลี่ย 1,448.21 บาทต่อไร่ (ตารางที่ 2)
                       เกษตรกรผู้ปลูกข้าวเหนียว บริเวณพื้นที่ดินที่มีความเหมาะสมทางกายภาพระดับสูง (S1) ปานกลาง (S2)
               และเล็กน้อย (S3) มีอายุเฉลี่ย 60 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 71.01 ลักษณะการถือครอง

               ที่ดินส่วนใหญ่เป็นที่ของตนเอง ร้อยละ 77.54 โดยมีเนื้อที่ปลูก/เนื้อที่เก็บเกี่ยวเฉลี่ย 4.63 ไร่ต่อครัวเรือน พันธุ์ข้าวที่
               ใช้ปลูก ได้แก่ พันธุ์ กข6 ปัจจัยการผลิตข้าวเหนียวนาปีเฉลี่ยต่อเนื้อที่ปลูก 1 ไร่ ใช้แรงงานคน 0.57 วันท้างาน และ

               แรงงานเครื่องจักร 4.83 ชั่วโมงท้างาน โดยมีต้นทุนผันแปรเฉลี่ย 3,127.79 บาทต่อไร่ ต้นทุนคงที่เฉลี่ย 1,042.60 บาท
               ต่อไร่ รวมต้นทุนการผลิตทั้งหมดเฉลี่ย 4,170.39 บาทต่อไร่ ผลผลิตคุ้มทุนเฉลี่ย 545.86 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตเฉลี่ย

               561.52 กิโลกรัมต่อไร่ ดังนั้น เกษตรกรมีผลก้าไรเฉลี่ย 29.78 บาทต่อไร่ (ตารางที่ 3)
                           ส้าหรับสภาพปัญหาจากการปลูกข้าว พบว่า ปัญหาที่ส้าคัญ 3 ล้าดับแรก ได้แก่ ปัจจัยการผลิตมีราคาสูง
               ราคาผลผลิตตกต่้า และขาดแคลนน้้าเพื่อการเกษตร โดยเกษตรกรส่วนใหญ่ต้องการให้ภาครัฐช่วยเหลือ 3 ล้าดับแรก

               ได้แก่ จัดหาปัจจัยการผลิตราคาถูกมาจ้าหน่าย ประกันรายได้เกษตรกร และประกันราคาผลผลิต ส่วนทัศนคติ
               ของเกษตรกร พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 97.97 ไม่เลิกปลูกข้าว เนื่องจากเป็นอาชีพหลักของครอบครัว
               อายุมาก มีที่ดินเป็นของตนเองอยู่แล้ว ไม่มีความรู้ในการประกอบอาชีพอื่น เป็นต้น









                       24
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31