Page 29 - รายงานประจำปี 2565
P. 29

การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของเกษตรกรที่ปลูกพืชเศรษฐกิจ (ยางพารา)

                                   ตามชั้นความเหมาะสมของที่ดิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ปีการผลิต 2564/65



                                                                                 โดย กลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร

                                                                                   โดย กลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร


                                                    ระบบแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Agri-Map) เป็น
                                             ระบบที่ช่วยให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงข้อมูลด้านการเกษตร แผนที่ความ

                                             เหมาะสมของการปลูกพืช (Zoning ดิน น้้า พืช) ปัจจัยการผลิต พื้นที่ในและนอก
                                             เขตชลประทาน แหล่งน้้าผิวดินและใต้ดิน Cropping Pattern และ Cropping

                                             Requirement โดยมีการวิเคราะห์ข้อมูลจัดท้าเป็นแผนที่รายจังหวัดจากข้อมูล
                                             ขอบเขตการปกครอง การใช้ที่ดินในปัจจุบัน พื้นที่ปลูกพืชเศรษฐกิจ พื้นที่

                                             เหมาะสมและไม่เหมาะสมกับพืชเศรษฐกิจรายชนิด ซึ่งเป็นประโยชน์ส้าหรับ
                                             การบริหารจัดการด้านการเกษตรของไทย ให้เกิดความสมดุล มั่นคง ยั่งยืน
                                             แต่เนื่องจากปัจจุบันระบบแผนที่เกษตรฯ ยังขาดการแสดงผลการคาดการณ์

                                             ผลผลิตสินค้าเกษตรและผลตอบแทนการผลิตพืช จึงท้าให้เกิดความร่วมมือ
                                             ระหว่างกรมพัฒนาที่ดินกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์

               แห่งชาติ (NECTEC) ในการด้าเนินโครงการคาดการณ์ผลผลิตสินค้าเกษตร โดยมีโครงการน้าร่องสินค้าเกษตร
               ยางพารา จังหวัดสุราษฎร์ธานี มาจัดท้าแบบจ้าลองและน้าข้อมูลแสดงผลในระบบแผนที่เกษตรเพื่อการบริหาร

               จัดการเชิงรุก (Agri-Map) ซึ่งจะท้าให้เกษตรกรสามารถวางแผนการผลิตล่วงหน้าได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับ
               ความต้องการของตลาด

                      ทั้งนี้ กรมพัฒนาที่ดิน เป็นหน่วยงานหลักในการก้าหนดนโยบายให้จัดท้าเขตการใช้ที่ดินในพื้นที่

               เกษตรกรรม โดยค้านึงถึงการจัดสรรทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจ้ากัดให้เหมาะสมและเป็นธรรม รวมทั้ง
               ให้ความส้าคัญกับการจัดท้าฐานข้อมูลพืชเศรษฐกิจ ดังนั้น จึงมีความจ้าเป็นที่ต้องด้าเนินการวิเคราะห์ผลตอบแทน

               ทางเศรษฐกิจของเกษตรกรที่ปลูกพืชเศรษฐกิจ (ยางพารา) ตามชั้นความเหมาะสมของที่ดิน เพื่อใช้ในแบบจ้าลอง
               การคาดการณ์ผลผลิตสินค้าเกษตรและผลตอบแทนการผลิตพืช ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการด้าเนินงาน
               ตามนโยบายภาคการเกษตรของรัฐ และตอบสนองความต้องการของ

               เกษตรกรได้อย่างยั่งยืน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลทั่วไป
               ปัญหาทางด้านการเกษตร และทัศนคติของเกษตรกร และ 2) ศึกษา

               ต้นทุนและผลตอบแทนการปลูกยางพาราตามชั้นความเหมาะสมของ
               ที่ดินในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว

               ได้เก็บรวบรวมข้อมูลและค้นคว้าเอกสารของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
               และใช้แบบสอบถามในการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างแน่นอน

               ด้วยการสุ่มตัวอย่างและสัมภาษณ์เกษตรกรตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่ม
               ตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จ้านวน 125 ตัวอย่าง ประกอบด้วย อ้าเภอพุนพิน วิภาวดี ท่าชนะ
               และเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี บริเวณพื้นที่ S1  S2  และ S3 ของผลผลิตยางพาราประเภทน้้ายางสด ยางก้อนถ้วย

               และยางแผ่นดิบ



                       27
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34