Page 30 - รายงานประจำปี 2565
P. 30

ผลการศึกษาข้อมูลทั่วไป พบว่า เกษตรกรผู้ปลูกยางพารา จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีอายุเฉลี่ย 57 ปี

               ส่วนใหญ่จบการศึกษาตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายลงมาถึงระดับประถมศึกษา ร้อยละ 85.60 ลักษณะ
               การถือครองที่ดินเป็นที่ของตนเองทั้งหมดเฉลี่ย 13.29 ไร่ต่อครัวเรือน

                      ผลการศึกษาภาวะการผลิต พบว่า เกษตรกรผู้ปลูกยางพารา (น้้ายางสด) ใช้ปัจจัยการผลิตยางพาราเฉลี่ย
               ต่อเนื้อที่ปลูก 1 ไร่ โดยใช้แรงงานคน 14.58 วันท้างาน และแรงงานเครื่องจักร 0.59 ชั่วโมงท้างาน มีต้นทุนผันแปร

               เฉลี่ย 6,457.90 บาทต่อไร่ ต้นทุนคงที่เฉลี่ย 2,261.42 บาทต่อไร่ รวมต้นทุนการผลิตทั้งหมดเฉลี่ย 8,719.32
               บาทต่อไร่ ผลผลิตคุ้มทุนเฉลี่ย 115.79 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 233.79 กิโลกรัมต่อไร่ ดังนั้น เกษตรกรมีผลก้าไรเฉลี่ย
               2,303.88 บาทต่อไร่ (ตารางที่ 1) เกษตรกรผู้ปลูกยางพารา (ยางก้อนถ้วย) ใช้ปัจจัยการผลิตยางพาราเฉลี่ยต่อ

               เนื้อที่ปลูก 1 ไร่ ใช้แรงงานคน 11.58 วันท้างาน และแรงงานเครื่องจักร 0.78 ชั่วโมงท้างาน มีต้นทุนผันแปรเฉลี่ย
               5,746.80 บาทต่อไร่ ต้นทุนคงที่เฉลี่ย 2,340.01 บาทต่อไร่ รวมต้นทุนการผลิตทั้งหมดเฉลี่ย 8,086.81 บาทต่อไร่

               ผลผลิตคุ้มทุนเฉลี่ย 291.05 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 364.56 กิโลกรัมต่อไร่ ดังนั้น เกษตรกรมีผลก้าไรเฉลี่ย
               589.72 บาทต่อไร่ (ตารางที่ 2) และเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา (ยางแผ่นดิบ) ใช้ปัจจัยการผลิตยางพาราเฉลี่ยต่อ

               เนื้อที่ปลูก 1 ไร่ ใช้แรงงานคน 20.41 วันท้างาน และแรงงานเครื่องจักร 0.67 ชั่วโมงท้างาน โดยมีต้นทุนผันแปรเฉลี่ย
               7,825.41 บาทต่อไร่ ต้นทุนคงที่เฉลี่ย 2,438.82 บาทต่อไร่ รวมต้นทุนการผลิตทั้งหมดเฉลี่ย 10,264.23

               บาทต่อไร่ ผลผลิตคุ้มทุนเฉลี่ย 117.70 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 217.69 กิโลกรัมต่อไร่ ดังนั้น เกษตรกร
               มีผลก้าไรเฉลี่ย 2,072.26 บาทต่อไร่ (ตารางที่ 3)
                      ส้าหรับสภาพปัญหาจากการปลูกยางพารา พบว่า เกษตรกรร้อยละ 82.40 ประสบปัญหาที่ส้าคัญ

               3 ล้าดับแรก ได้แก่ โรคพืชระบาด ราคาผลผลิตตกต่้า และปัจจัยการผลิตมีราคาสูง โดยเกษตรกรส่วนใหญ่ต้องการ
               ให้ภาครัฐช่วยเหลือ 3 ล้าดับแรก ได้แก่ การประกันราคาสินค้าเกษตร การพยุงราคาสินค้าเกษตร และจัดหาปัจจัย

               การผลิตราคาถูกมาจ้าหน่าย ส่วนทัศนคติของเกษตรกร พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 64.00 ไม่เลิกปลูก
               ยางพารา ร้อยละ 31.20 มีแนวโน้มเลิกปลูก ซึ่งพืชที่ปลูกทดแทน ได้แก่ ปาล์มน้้ามัน ไม้ผล และกระท่อม

               ที่เหลือร้อยละ 4.80 เกษตรกรยังไม่แน่ใจ
















                       28
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35