Page 195 - Phetchaburi
P. 195

บทที่ 5


                                                      แผนการใชที่ดิน
                  5.1  เขตการใชที่ดิน

                      5.1.1 แผนการใชที่ดิน
                            การดำเนินการจัดทำแผนการใชที่ดินจังหวัดเพชรบุรีดำเนินการตามกรอบการทำงาน

                  ขององคการอาหารและเกษตรแหงสหประชาชาติ (FAO) Guidelines for Land-Use Planning ซึ่งเปน
                  แนวทางในการวิเคราะหประเมินปจจัยที่เกี่ยวของทางดานกายภาพ สิ่งแวดลอม เศรษฐกิจ สังคมและ
                  การใชที่ดินในรูปแบบตางๆ อยางเปนระบบ เพื่อชวยเหลือสนับสนุนใหผูเกี่ยวของมีสวนไดสวนเสียใน
                  การใชประโยชนที่ดิน มีทางเลือกที่เหมาะสมเกิดประโยชนสูงสุด และตอบสนองความตองการของสังคม

                  อยางยั่งยืน (FAO, 1993) การกำหนดแผนการใชที่ดินจังหวัดเพชรบุรีครั้งนี้ ไดใชขอมูลเชิงพื้นที่และ
                  ขอมูลอรรถาธิบายที่สำคัญคือฐานขอมูลดิน ความเหมาะสมของที่ดิน การใชที่ดิน ทรัพยากรนา ปาไม
                  นโยบาย กฎหมาย ยุทธศาสตรการพัฒนาประเทศที่สำคัญ และฐานขอมูลที่เกี่ยวของ ที่มีความละเอียด
                  ถูกตอง ทันสมัย ผนวกกับใชเทคโนโลยีที่เหมาะสม เชน ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร (GIS)

                  ในการวิเคราะหขอมูลเชิงพื้นที่และการใช DPSIR Framework (Kristensensen, 2004) รวมในการวิเคราะห
                  จัดทำเพื่อใหแผนการใชที่ดินที่กำหนดขึ้นสามารถ นำไปใชเปนกรอบกำหนดแนวทางจัดการพื้นที่ไดอยาง
                  มีประสิทธิภาพ การวางแผนการใชที่ดินสำหรับวันขางหนานั้น มีวัตถุประสงคและเปาหมายที่จำเพาะ
                  เจาะจง ซึ่งกำหนดขึ้นโดยความตองการของสังคมและนโยบายของจังหวัดเพชรบุรี การวางแผนการใช

                  ที่ดินจะตองวางแผนใหเหมาะกับสถานการณในปจจุบัน การวางแผนการใชที่ดินที่จะใช
                  ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยูอยางจำกัดใหเกิดประโยชนมากที่สุดยั่งยืน และรวมระบบการผลิตที่เปนมิตร
                  กับสิ่งแวดลอม มีจุดมุงหมายคือ 1) ประเมินความตองการในปจจุบันและอนาคต และกำหนดรูปแบบ

                  การประเมินความเหมาะสมของที่ดินที่จะสนองตอความตองการ 2) แยกแยะหรือแจกแจงขอขัดแยง
                  ระหวางการใชที่ดินตางประเภทกัน 3) วิเคราะหหาทางเลือกการใชที่ดินที่คงทนถาวร ทางเลือกเหลานี้
                  จะตองเปนทางเลือกที่ 4) ดีที่สุดที่ตรงกับความตองการของทองถิ่นนั้นๆ 5) วางแผนใหสามารถเกิด
                  ความตองการเปลี่ยนแปลงการใชที่ดิน และ 6) เรียนรูจากสิ่งที่ผิดพลาดมากอน (บัณฑิต, 2535) ดังนั้น
                  แผนการใชที่ดินของจังหวัดเพชรบุรี มีจุดมุงหมายเพื่อเปนกรอบแนวทางในการใชที่ดินใหมีประสิทธิภาพ

                  และยั่งยืน สอดคลองกับสภาวะเศรษฐกิจสังคม รวมทั้งการอนุรักษ จัดสรรทรัพยากรที่ดี และเกิดผล
                  กระทบตอสิ่งแวดลอมใหนอยที่สุด โดยนำฐานขอมูลทรัพยากรดินและสมบัติของดิน การประเมิน
                  คุณภาพที่ดิน (สำนักสำรวจดินและวางแผนการใชที่ดิน, 2548ก; 2548ข; 2548ค; และ 2548ง) พื้นที่รับน้ำ

                  ชลประทาน (กรมชลประทาน, 2558) เขตปาไม (กรมปาไม, 2559) เขตอุทยาน เขตรักษาพันธุสัตวปา
                  เขตหามลาสัตวปา (กรมอุทยานสัตวปาและพันธุพืช, 2559) เขตปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ของ
                  สำนักงานปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (2556) ชั้นคุณภาพลุมน้ำ ของสำนักงานนโยบายและแผน
                  ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม (2536) และที่ราชพัสดุ นำมาใชในการกำหนดนโยบายการใชที่ดิน

                  และทรัพยากรที่ดินในภาพรวมของจังหวัดเพชรบุรี เพื่อขยายผลสูปฏิบัติระดับตำบลได ตอไป
   190   191   192   193   194   195   196   197   198   199   200