Page 17 - Phetchaburi
P. 17

1-7





                        1.5.11  การชะลางพังทลายของดิน ตามพระราชบัญญัติพัฒนาที่ดิน พ.ศ. 2551 การชะลาง

                  พังทลายของดิน หมายความวา ปรากฏการณซึ่งที่ดินถูกชะลางกัดเซาะพังทลายดวยพลังงานที่เกิดจากน้ำ
                  ลม หรือโดยเหตุอื่นใดใหเกิดการเสื่อมโทรม สูญเสียเนื้อดิน หรือความอุดมสมบูรณของดิน
                  (กรมพัฒนาที่ดิน, 2552)

                        1.5.12  การอนุรักษดินและน้ำ (Soil and Water Conversation) หมายถึง การใชทรัพยากรดิน
                  และน้ำอยางเหมาะสม ดวยวิธีการที่ชาญฉลาด คุมคา เกิดประโยชนสูงสุด และมีความยั่งยืนการนำ
                  มาตรการอนุรักษดินและน้ำมาใชก็เพื่อปองกัน และรักษาดินไมใหถูกชะลางพังทลายทั้งบนพื้นที่มี
                  ความลาดเทต่ำจนถึงพื้นที่ที่มีความลาดชันสูง ซึ่งปจจุบันมาตรการอนุรักษดินและน้ำที่ใชกันอยู

                  สามารถแบงออกตามลักษณะของมาตรการไดเปน 2 แบบ คือ มาตรวิธีกล (Mechanical Measures)
                  และมาตรการวิธีพืช (Vegetative Measures) การเลือกใชมาตรการใดควรพิจารณาลักษณะดิน
                  ลักษณะภูมิประเทศ ปริมาณน้ำฝน ตลอดจนการใชประโยชนบนพื้นที่ดิน โดยเลือกวิธีการผสมผสาน
                  มาตรการใหเหมาะสมเพื่อใหการทำการเกษตรเกิดความยั่งยืน เกื้อกูลกัน และสงผลใหมาตรการอนุรักษดิน

                  และน้ำมามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น (กองอนุรักษดินและน้ำ, 2544) ตามพระราชบัญญัติพัฒนาที่ดิน พ.ศ. 2551
                  การอนุรักษดินและน้ำ หมายความวา การกระทำใดๆ ที่มุงใหเกิดการระวังปองกันรักษาดิน และที่ดิน
                  ไมใหเกิดความเสื่อมโทรม สูญเสีย รวมถึงการรักษา ปรับปรุง ความอุดมสมบูรณของดินและการรักษาน้ำ
                  ในดินหรือบนผิวดินใหคงอยูเพื่อรักษาดุลธรรมชาติใหเหมาะสมในการใชประโยชนที่ดินในทาง

                  เกษตรกรรม (กรมพัฒนาที่ดิน, 2552) แบงเปน 2 มาตรการ 1) มาตรการวิธีกล หมายความวา วิธีการ
                  อนุรักษดินและน้ำ โดยการกอสรางโครงสรางทางวิศวกรรม โดยวิธีการไถพรวนตามแนวระดับ คันดินกั้นน้ำ
                  ขั้นบันไดดิน คูรับน้ำขอบเขา บอน้ำในไรนาหรืออื่นๆ และ 2) มาตรการวิธีพืช หมายความวา วิธีการ
                  อนุรักษดินและน้ำ โดยวิธีการทางพืช โดยการปลูกพืชหรือใชสวนใดๆ ของพืชทำใหเปนแถบหรือเปนแนว

                  หรือปกคลุมผิวดินหรืออื่นๆ
                        1.5.13  ทรัพยากรน้ำหรือน้ำ หมายถึง ของเหลวเกิดจากการรวมตัวกันของกาซไฮโดรเจนและ
                  กาซออกซิเจนในภาวะที่เหมาะสมหรือความหมายในลักษณะเปนทรัพยากรธรรมชาติ หมายถึง สิ่งที่
                  นำมาใชอุปโภค บริโภค ชำระลางรางกาย ใชในการเพาะปลูก การเกษตรกรรม อุตสาหกรรม

                  การคมนาคมทางน้ำ การผลิตพลังงาน ทรัพยากรน้ำยังเปนทรัพยากรประเภทหนึ่งที่สามารถเกิดขึ้น
                  ทดแทนอยูตลอดเวลาเปนวัฎจักร ความสัมพันธของดิน น้ำ และปา เริ่มจากวัฏจักรของน้ำ ที่ระเหยจาก
                  ผิวทะเลและพื้นดินหมุนเวียนขึ้นไปในชั้นบรรยากาศในรูปของไอน้ำ ไอน้ำจะกลั่นตัวกลายเปนฝนและ

                  ไหลซึมลงไปในดิน สวนที่เหลือก็จะเปนน้ำไหลบนพื้นผิวดินไปตามลาดเขากลายเปนธารน้ำเล็กๆ รวมกัน
                  เปนแมน้ำ และไหลลงสูทะเล การระเหยของน้ำจากดินและการคายน้ำของตนไมก็เปนหนึ่งในวัฏจักรของน้ำ
                  ที่ทำใหเกิดความชื้นในชั้นบรรยากาศ โดยการคายน้ำของตนไมและการระเหยของน้ำจากดินจะมี
                  ความสัมพันธกัน อีกทั้งโครงสรางของดินในปาจะมีความสามารถในการดูดซึมน้ำสูง โดยการทำงานผาน
                  ระบบรากของตนไม นอกจากนี้แลวการสูญเสียน้ำจากการระเหยในพื้นที่ปาจะนอยกวาการสูญเสียน้ำ

                  จากการระเหยในพื้นที่แบบเดียวกันที่ไมมีตนไมปกคลุม ทำใหพื้นที่ที่ปกคลุมไปดวยตนไมอยางหนาแนน
                  เชน ผืนปา มีอิทธิพลตอความสมดุลของวัฏจักรน้ำเปนอยางมาก เพราะฉะนั้นการอนุรักษปาก็หมายถึง
                  การอนุรักษน้ำดวย เราจึงควรหันมาใหความสนใจกับการอนุรักษตนน้ำเหลานี้ซึ่งมักจะถูกปลอยปละละเลย

                  การกระทำของมนุษยที่มีตอดินและตนไมยอมสงผลถึงวัฏจักรของน้ำไมทางใดก็ทางหนึ่งอยางหลีกเลี่ยงมิได
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22