Page 116 - Chumphon
P. 116

3-44




                  อาหารหลัก คือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม และธาตุอาหารรอง

                  ตลอดจนจุลธาตุบางชนิด เชน สังกะสี ทองแดง โบรอน และโมลิบดินัม
                                  -  การจัดการพืช เนื่องจากความรุนแรงของปญหาตาง ๆ ของดินอินทรีย
                  แตกตางกันออกไปตามความหนาของชั้นวัสดุดินอินทรีย สภาพน้ำทวม ระดับความอุดมสมบูรณของดินเอง

                  พืชพรรณที่ขึ้นอยูบนดินเหลานี้ตามธรรมชาติ และพืชที่ตองการจะปลูกเพื่อการใชประโยชนทาง
                  การเกษตร ดังนั้นการพัฒนาที่ดินเพื่อการปลูกพืชจำเปนตองพิจารณาหลายๆ ปจจัย เชนการเลือกพื้นที่
                  ที่เหมาะสม (มีชั้นวัสดุดินอินทรียหนาไมเกิน 1 เมตร มีระดับน้ำใตดินประมาณ 30 เซนติเมตร
                  และมีความอุดมสมบูรณขั้นปานกลางถึงสูงสุด) และเลือกชนิดของพืชที่ปลูกใหเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ที่ทนกรด

                                  -  การใชปูน ดินเปรี้ยวจัดในภาคใตตองการปูนเพื่อยกระดับพีเอช (pH) ให
                  สูงขึ้น เนื่องจากคาของอะลูมิเนียมและเหล็ก มีผลเปนพิษตอพืช ทำใหพืชขาดธาตุฟอสฟอรัส การใช
                  หินปูนฝุน 1.5 ตันตอไร หรือครึ่งหนึ่งของความตองการปูนในบริเวณที่มีการควบคุมน้ำและมีการ
                  ชลประทาน จะไดผลดี

                                  -  การยกรอง ทำเพื่อยกระดับดินใหสูงขึ้น รองลึกประมาณ 80 เซนติเมตรจาก
                  ผิวดินเหนือชั้นไพไรทเหมาะสมที่สุดการยกรองเพื่อปลูกผักผสมสาน หรือปลูกไมผล ไมยืนตน โดยใชวัสดุ
                  ปูนแกความเปนกรดของดินกอน และใสปุยเคมีตามความตองการของพืชแตละชนิด โดยเลือกชนิดพืชที่
                  ปลูกใหเหมาะสม เชน ขาว ขาวโพด ถั่วเหลือง ผัก และปาลมน้ำมัน เปนตน

                                1.7  พื้นที่ลาดชันเชิงซอน มีเนื้อที่ 1,697,936 ไร หรือรอยละ 45.19 ของเนื้อที่
                  จังหวัด ซึ่งพื้นที่บริเวณนี้ไมเหมาะสมตอการเกษตรกรรม เนื่องจากยากตอการจัดการและเกิดการชะลาง
                  พังทลายของหนาดินไดงาย ถาใชมาตรการพิเศษในการอนุรักษดินและน้ำ จะตองใชคาใชจายสูง และยัง
                  เปนการทำลายระบบนิเวศของปาอีกดวย ดังนั้น ควรรักษาไวใหเปนปาธรรมชาติเพื่อเปนที่อยูอาศัยและ

                  เปนแหลงเพาะพันธุของสัตวปา รวมถึงเปนแหลงตนน้ำลำธารถามีความจำเปนตองนำมาใชประโยชน
                  ทางการเกษตรควรมีการเลือกใชพื้นที่ที่มีศักยภาพในการเกษตรตองเปนดินลึก และมีความลาดชันไมสูง
                  มากนัก โดยตองทำการเกษตรแบบวนเกษตรและมีระบบอนุรักษดินและน้ำ ที่ถูกตองตามหลักวิชาการ
                  ขอเสนอแนะการใชพื้นที่มีความลาดชันมากกวา 35 เปอรเซ็นต

                                แนวทางในการจัดการ
                                  -  ในกรณีที่เปนดินลึก ควรทำเปนคันดินแบบขั้นบันไดตอเนื่องสำหรับปลูกพืช
                  ลมลุกที่มีมูลคาทางเศรษฐกิจสูง หรือถามีการปลูกไมยืนตน ควรปลูกพืชคลุมดินรวมดวย

                                  -  ในกรณีที่เปนดินลึกหรือลึกปานกลาง ควรปลูกไมยืนตนขวางความลาดเท
                  รวมกับหญาแฝกและปลูกพืชคลุมดินระหวางตนพืชควรทำคันคูรอบเขาและคูเบนน้ำเพื่อระบายน้ำ
                  ในกรณีที่ปลูกไมยืนตนและตองการปลูกพืชแซมระหวางแถวกอนไมยืนตน สามารถปลูกพืชไรระหวาง
                  แถวไมยืนตน ไดในระยะแรก เชน ถั่วเหลืองถั่วเขียว เพื่อปรับปรุงบำรุงดินและชวยคลุมดิน เนื่องจาก
                  พื้นที่มีความลาดชันสูงทำใหเกิดการสูญเสียหนาดินไดงาย

                                  -  ในกรณีที่เปนดินตื้นไมควรปลูกพืชไรหรือพืชลมลุก ควรปลูกไมยืนตนขวาง
                  ความลาดเทของพื้นที่และปลูกพืชคลุมดินระหวางตนพืช และควรทำคันคูรอบเขาเพื่อระบายน้ำ
                  ในกรณีที่ปลูกไมยืนตนและตองการปลูกพืชแซมระหวางแถวกอนไมยืนตนโตนั้นไมควรมีการไถพรวน
                  เนื่องจากพื้นที่มีความลาดชันสูงทำใหเกิดการสูญเสียหนาดินไดงาย
   111   112   113   114   115   116   117   118   119   120   121