Page 75 - Lamphun
P. 75

4-9





                  4.2  การวิเคราะห์ความต้องการของพื้นที่

                        เกษตรกรขาดการรวมกลุ่มเพื่อจ าหน่ายผลผลิตในตลาดกลาง ท าให้ไม่มีอ านาจในการต่อรอง
                  ผลผลิตถูกกดราคาในช่วงที่ผลผลิตออกมาสู่ตลาด ปัญหาจากการใช้สารเคมีในการท าการเกษตร ท าให้มี
                  สารเคมีตกค้างในสิ่งแวดล้อมพื้นที่ ไม่สามารถเก็บกักน้ าได้ท าให้น้ าไม่เพียงพอต่อการท าเกษตร ขาดแคลน

                  แหล่งน้ าเพื่ออุปโภค บริโภค เกษตรกรขาดความรู้ความเข้าใจในการท าเกษตรที่ถูกต้อง ปัญหาการบุกรุก
                  พื้นที่ป่าและพื้นที่ภูเขา
                        แนวโน้มสินค้าด้านการเกษตรภายในอนาคต มีปัจจัยสนับสนุนจากแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ขยายตัว
                  มูลค่าการค้าสินค้าเกษตรโลกปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยคาดการณ์ว่าไทยจะมีมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรรวม
                  เพิ่มขึ้น  ซึ่งทุกสาขาการผลิตมีแนวโน้มขยายตัว ได้แก่ สาขาพืชปศุสัตว์ ประมง บริการทางการเกษตรและ

                  สาขาป่าไม้ โดยมีปัจจัยบวกจากภาครัฐจะมีส่วนช่วยสนับสนุนที่ส าคัญ โดยมีความเข้าใจ มีความจริงใจและ
                  มีนโยบายด้านการเกษตรที่ชัดเจนมุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพและประสิทธิภาพการผลิตมากกว่าการเน้นผล
                  ระยะสั้น โดยมีแผนการเกษตรแห่งชาติให้มีการศึกษาด้านความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรมและความคิด

                  สร้างสรรค์บนพื้นฐานการผลิตและการบริโภคที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รัฐมีเป้าหมายชัดเจน เปลี่ยนแปลง
                  แนวนโยบายที่เน้นบทบาทในการสงเคราะห์ช่วยเหลือเกษตรกรมาเป็นแนวนโยบายที่สนับสนุนเกษตรแบบ
                  บูรณาการ มีแนวนโยบายที่มองทั้งระบบเกษตร ซึ่งเป็นการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรตั้งแต่เพาะปลูก
                  จนถึงการจ าหน่าย มีระบบสารสนเทศการเกษตรเตือนภัยธรรมชาติสามารถรับมือกับความแปรปรวนของ

                  สภาพภูมิอากาศได้ ภาครัฐเห็นถึงความมั่นคงทางอาหารของประเทศ โดยสร้างแรงจูงใจในการเข้ามา
                  ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น สวัสดิการเกษตรกร อาชีพเกษตรกรรมเป็นที่นิยมของคนรุ่นใหม่ เนื่องจาก
                  การส่งเสริมการเรียนสาขาเกษตร โดยภาครัฐมีกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพให้รักอาชีพเกษตรกรรม
                  บุคลากรภาคการเกษตรมีความรู้ความสามารถมากยิ่งขึ้นนักลงทุนสนใจการลงทุนในภาคการเกษตรมากขึ้น

                  มีการบริหารจัดการฟาร์มที่ดีท าให้ประเทศไทยสามารถผลิตสินค้าเกษตรได้อย่างดีเยี่ยม รายได้เกษตรกร
                  สูงขึ้นเทียบเท่าชนชั้นกลางเกษตรกรกลายเป็นอาชีพที่มีความมั่นคงด้านรายได้ และมีรายได้ขั้นต่ าที่แน่นอน
                  ส าหรับการผลิตในแต่ชนิด
                        ภาพรวมภาวะเศรษฐกิจการเกษตรไทยปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 1.50 จากปี 2563 ที่ติดลบร้อยละ

                  3.30 จากที่ไทยยังเผชิญกับวิกฤตการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด 19 ต่อเนื่องจากปี 2563 ส่งผลกระทบใน
                  ทุกภาคส่วน อย่างไรก็ตาม ในปี 2565 ทิศทางราคาสินค้าเกษตรหลายชนิดปรับดีขึ้น จากการฟื้นตัวของ
                  เศรษฐกิจโลก และการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ ประกอบกับสินค้าเกษตรไทยมีมาตรฐานเป็นที่

                  ยอมรับในต่างประเทศ และท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงความแปรปรวนของสภาพอากาศ ภัยธรรมชาติ
                  โดยเฉพาะความรุนแรงของพายุและสถานการณ์น ้าท่วมหลาก ซึ่งอาจท าให้พื้นที่เกษตรได้รับความ
                  เสียหายที่ส าคัญคือสถานการณ์การระบาดของโควิด 19 โอไมครอน เป็นความเสี่ยงของการกลับมา
                  ระบาดในรอบใหม่ อาจส่งผลให้เศรษฐกิจและการค้าของโลกฟื้นตัวได้ช้า อีกทั้งประเทศมหาอ านาจจีน
                  และสหรัฐเริ่มกลับมาแข่งขันเข้มข้นขึ้น ไทยมีคู่แข่งมากขึ้น และยังมีความท้าทายด้านการระบาดของโรค

                  พืชและสัตว์ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศส่งผลต่อการผลิต ตลอดจนความผันผวนของอัตรา
                  แลกเปลี่ยน รวมไปถึงราคาน ้ามันดิบที่มีทิศทางสูงขึ้น ส่งผลต่อต้นทุนที่ปัจจัยการผลิต ปุ๋ย สารเคมีก าจัด
                  โรคและแมลง อาหารสัตว์ และส่งผลต่อราคาสินค้าเกษตรที่เกี่ยวเนื่องกับน้ ามัน อาทิ ยางพารา และพืช

                  พลังงานทดแทนต่างๆ การส่งออกที่มาแรงสุด ได้แก่ ข้าว น้ าตาล ยางพารา น้ ามันปาล์ม สับปะรด
   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80