Page 70 - Lamphun
P. 70

4-4





                  เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พื้นที่ที่ได้รับความเสี่ยงจากการเกิดภัยธรรมชาติที่อาจจะเกิดขึ้น โดยมี

                  การบูรณาการร่วมกันของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
                            ยุทธศาสตร์ที่ 4 ด้านการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดิน มีกลยุทธ์หลัก ได้แก่ 1) พัฒนา
                  เครื่องมือ เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดิน ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเป็นธรรม

                  โดยมุ่งเน้นการพัฒนาปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการที่ดินและ
                  ทรัพยากรดิน รวมทั้งผลักดันให้มีผลบังคับใช้อย่างมีประสิทธิภาพ การส่งเสริมการน าเทคโนโลยี
                  นวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพมาใช้ในการบริหารจัดการที่ดิน และทรัพยากรดิน การเร่งรัดพัฒนาระบบ
                  ฐานข้อมูลที่ดินและทรัพยากรดิน การจัดท าแผนที่ก าหนดแนวเขต ที่ดินของรัฐ โดยมีกฎหมายรองรับ
                  มีมาตรการทางการเงิน การคลัง เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดิน ให้เกิดประโยชน์

                  สูงสุดและเป็นธรรม และ 2) การพัฒนาองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดิน
                  โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมสนับสนุนศึกษาวิจัยและการพัฒนาเกี่ยวกับที่ดินและทรัพยากรดิน โดยมีแผนงาน
                  การวิจัยที่เป็นระบบ รวมทั้งเผยแพร่ประชาสัมพันธ์งานวิจัยอย่างต่อเนื่อง เพื่อผลักดันผลงานการวิจัย

                  ไปสู่การปฏิบัติ และการพัฒนาการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดิน
                  ทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ
                        6) (ร่าง) กรอบแผนพัฒนาภาคเหนือ (พ.ศ. 2566-2570)
                            ทิศทางการพัฒนาภาค มุ่งสู่การพัฒนาเป็นฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศ เชื่อมโยงกับ

                  อนุภูมิภาค และเติบโตอย่างยั่งยืน ตามแนวคิด "เศรษฐกิจสร้างสรรค์ สานสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่ สุขภาวะดี
                  วิถีชีวิตยั่งยืน" โดยให้ความส าคัญกับการพัฒนา 4C ได้แก่ Creative พัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์มูลค่าสูง
                  โดยการสร้างระบบนิเวศ เมือง และพื้นที่สร้างสรรค์ตลอดจนสามารถพัฒนาสู่การเป็นสินค้าและบริการ
                  สร้างสรรค์ Connect สร้างโอกาสในการเชื่อมโยงเศรษฐกิจภายในประเทศและกับอนุภูมิภาค

                  ทั้งในส่วนของระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน เมืองสร้างสรรค์ และกลุ่มผู้คน
                  สร้างสรรค์ Clean พัฒนาตามแนววิถีใหม่ (New Normal) บนฐานการเติบโตอย่างยั่งยืนของการ
                  อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การดูแลความสะอาดของเมือง และการใช้พลังงานสะอาด โดยค านึงถึง Care ที่ให้
                  ความส าคัญอย่างต่อเนื่องกับการดูแลผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาสในสังคมและพัฒนาศักยภาพแรงงาน

                            เป้าหมายรวม
                              (1) อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของภาคเหนือขยายตัวเพิ่มขึ้น
                              (2) สัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาค (Gini Coefficient) ในการกระจายรายได้ของภาคเหนือลดลง

                            แนวทางการพัฒนา
                              (1) พัฒนาสู่การเป็นระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ Creative LANNA ในพื้นที่จังหวัด
                  เชียงใหม่ เชียงราย ล าพูน ล าปาง
                              (2) พัฒนาการผลิตตามระบบเกษตรกรรมยั่งยืน เชื่อมโยงสู่อุตสาหกรรมแปรรูปมูลค่าสูง
                                  - ส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรให้ได้มาตรฐานเกษตรปลอดภัย ต่อยอดสู่มาตรฐานเกษตร

                  อินทรีย์ทั้งระดับชุมชนและมาตรฐานสากล และสนับสนุนการท าเกษตรอินทรีย์วิถีชาวบ้านที่สามารถ
                  พัฒนาเป็นเกษตรอินทรีย์เชิงพาณิชย์
   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75