Page 77 - Lamphun
P. 77

4-11





                        แรงขับเคลื่อน (D-Driver) เป็นสาเหตุของปัญหาหรือสถานการณ์ที่ก าลังวิเคราะห์ เป็นปัจจัยที่มี

                  พลังขับเคลื่อน สามารถส่งผลให้เกิดความกดดันต่อรัฐบาลหรือผู้รับผิดชอบโครงการได้ ตัวอย่างของแรง
                  ขับเคลื่อนด้านทรัพยากรดินและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ นโยบายรัฐด้านการเกษตร การเพิ่มขึ้นของประชากร
                  ปัญหาการถือครองที่ดิน นโยบายรัฐในการพัฒนาพื้นที่เฉพาะการขยายตัวรองรับภาคเศรษฐกิจ

                  การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภัยพิบัติธรรมชาติ ฯลฯ แรงขับเคลื่อน เป็นสิ่งที่สามารถวัดได้เป็นปริมาณ
                  ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจได้ ตัวอย่างเช่น การเติบโตของประชากร การเติบโตทางเศรษฐกิจ
                  หรือความก้าวหน้าของเทคโนโลยี เป็นต้น
                        ความกดดัน (P-Pressure) คือผลที่ได้รับจากแรงขับเคลื่อนก่อให้เกิดแรงกดดันต่อรัฐบาลหรือ
                  ผู้รับผิดชอบโครงการ ซึ่งส่งผลให้ทราบถึงสถานภาพหรือสถานการณ์ปัจจุบันของทรัพยากรดินและ

                  สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น ตัวอย่างเช่น ความต้องการที่ดินเพื่อกิจกรรมต่างๆ ความต้องการน้ าเพื่อการเกษตร
                  ความต้องการอาหาร การปรับตัวและบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ รักษาสมดุลของ
                  ระบบนิเวศของประเทศ การจัดสรรงบประมาณในการด าเนินการ เป็นต้น

                        สภาวะ (S-State) คือสถานภาพหรือสถานการณ์ของทรัพยากรดินและสิ่งแวดล้อมที่สนใจใช้
                  อธิบายสภาพหรือสถานะของสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอันเนื่องมาจากปัจจัยต่างๆ ทั้งจากภาวะ
                  กดดันและการตอบสนอง ตัวอย่างเช่น ที่ดินเพื่อการเกษตรลดลงความเสื่อมโทรมของที่ดินเพื่อ
                  การเกษตรพื้นที่ป่าไม้ลดลงการชะล้างพังทลายของดินดินถล่มภัยพิบัติทั้งอุทกภัยและภัยแล้งเกิดขึ้น

                  บ่อยครั้ง เป็นต้น
                        ผลกระทบ (I-Impact) คือผลลัพธ์ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรดินและสิ่งแวดล้อม
                  ตัวอย่างเช่น การสูญเสียพื้นที่เพื่อการเกษตร ที่ดินมีความเสื่อมโทรม เกิดความไม่มั่นคงทางอาหาร
                  ผลผลิตการเกษตรลดลง รายได้ของเกษตรกรลดลง สารเคมีสะสมในดินและแหล่งน้ า มีความขัดแย้ง

                  ในการถือครองที่ดิน ต่างชาติเข้ามาถือครองที่ดิน เป็นต้น
                        การตอบสนอง (R-Responses) คือแนวทางการบริหารการจัดการภาครัฐ นโยบาย มาตรการ
                  แผนงาน โครงการกิจกรรม รวมถึงกลไกด าเนินงาน เพื่อตอบสนองการแก้ปัญหาและลดผลกระทบตั้งแต่
                  อดีตจนถึงปัจจุบัน ตลอดจนป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต ตัวอย่างเช่น การออกกฎระเบียบ

                  ในการบริหารจัดการที่ดินเพื่อการเกษตร การอนุรักษ์ดินและน้ า การปรับปรุงบ ารุงดิน การจัดที่ดินท ากิน
                  การถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร การคุ้มครองพื้นที่เพื่อการเกษตร การจัดหาน้ า การปลูกป่า
                  การแก้ปัญหาการเช่าที่ดินเพื่อการเกษตร การป้องกันต่างชาติเข้ามาถือครองที่ดิน ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี

                  แผนปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการน้ า ยุทธศาสตร์กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นโยบาย
                  การบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดิน แผนแม่บทการรองรับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ เป็นต้น
   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82