Page 26 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดเชียงราย
P. 26

2-12




                        4.9  ประเพณีท้าบุญปอย มี 3 อย่างคือ

                            1) ปอยหลวง มีการท าบุญฉลองอย่างใหญ่โต เช่น ฉลองโบสถ์ วิหารหรือเจดีย์มักจะท ากัน
                  ในเดือน 5 - 8 เหนือ (ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม) ซึ่งเป็นระยะเวลาหลังจากเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว
                            2) ปอยน้อย หรือปอยบวชลูกแก้ว เป็นประเพณีบวชพระหรือบวชเณร ก่อนท าบุญ

                  ปอยน้อยเจ้าภาพต้องปรึกษาญาติพี่น้องก่อนว่าผู้ใดจะรับเอาอะไรในอัฐบริขารโดยการบอกบุญด้วยปาก
                  เรียกว่า “แอ่ง” “ผ้าอุ้ม” “ทนทอ” “แอ่งพระอุ้ม” คือ เอาผ้าสบงจีวรหรือหมวกที่พระใส่เรียกว่า“จ่อม”
                  ใส่ในถาดหรือพานแล้วให้คนถือไปบอกบุญ
                            3) ปอยข้าวสังข์ คือ การท าบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ตายเนื่องจากการคลอดบุตร
                  การท าบุญปอยข้าวสังข์ จะต้องนิมนต์พระมาสวด และเทศน์ที่บ้าน เครื่องไทยทานที่นิยมถวายมักจะเป็น

                  บ้านเล็กๆ หรือเรือส าเภา มีข้าวของต่างๆ เช่น เสื้อผ้า หม้อถังน้ า กระจก หวี ฯลฯ เป็นต้น

                        4.10  ประเพณีจุดบ้องไฟ ภาษาถิ่นเรียกชื่อประเพณีนี้ว่า “จิบอกไฟ” บอกไฟ คือ กระบอก
                  ไม้ไผ่อัดดินปืนข้างใน ใช้ไม้ไผ่ยาวทั้งล าผูกเป็นหาง รอบหัวของบอกไฟติดกระบอกไม้ไผ่ขนาดเล็กหลาย
                  ขนาดลดหลั่นกัน ยาวประมาณ 1 ฟุต เรียกว่า “โหว้” เพื่อให้เกิดเสียงเมื่อบอกไฟขึ้นและลง การ

                  ประดิษฐ์บอกไฟแต่ละครั้งใช้เวลาตั้งแต่ 7 วัน ถึง 1 เดือน แต่เดิมการจุดไฟจะอยู่ในช่วงเดือนพฤษภาคม
                  – มิถุนายน คือก่อนที่จะมีการท านา คงจุดเพื่อบูชาเทวดาที่ชื่อปัชชุน คือเทวดาแห่งฝน เพื่อเป็นการขอ
                  ฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล เชื่อว่าฝนจะตกหรือตกมากตกน้อยขึ้นอยู่กับเทวดาองค์นี้ ต่อมาจุดกันในช่วง
                  ตั้งแต่เดือนมีนาคม – เดือนมิถุนายน ความมุ่งหมายของการจุดเดียวมีความเชื่อว่าจะท าให้หมู่บ้าน

                  เจริญรุ่งเรือง และมีฝนตกตามฤดูกาล นิยมจุดกันในเวลาพลบค่ าถึงกลางคืน                                                                                2-12

                      5. ต้นไม้ประจ าจังหวัด/เอกลักษณ์ (signature) ของจังหวัด

                        5.1  ตราประจ าจังหวัดเชียงราย รูปช้างสีขาวใต้เมฆ  เมื่อพญามังรายได้ทรงรวบรวมหัว
                  เมืองฝ่ายเหนือในอาณาเขตรอบ ๆ ได้แล้ว จึงทรงกรีฑาทัพไปแสดงฝีมือในการยุทธต่อหัวเมืองฝ่ายใต้ลง
                  มา จึงได้ไปรวมพล ณ เมืองลาวกู่เต้า และหมอควาญได้น าช้างมงคลของพญามังรายไปทอด (ผูก) ไว้ใน
                  ป่าหัวดอยทิศตะวันออกและพลัดหายไป พญามังรายจึงได้เสด็จติดตามรอยช้างไปจนถึงดอยทองริม

                  แม่น้ ากกนัทธี  ได้ทัศนาการเห็นภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม อุดมสมบูรณ์เป็นชัยภูมิที่ดี จึงได้สร้างเมืองใหม่
                  ขึ้นในที่นั่น  ให้ก่อปราการโอบเอาดอยจอมทองไว้ในท่ามกลางเมือง ขนานนามเมืองว่า “เวียงเชียงราย”
                  ตามพระนามของพญามังรายผู้สร้าง  เมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 1805  ดังนั้น จึงได้น ารูปช้างสีขาวใต้

                  เมฆแห่งความรุ่งเรือง และอยู่เย็นเป็นสุข  บนพื้นสีม่วงของ  วันเสาร์ซึ่งตรงกับวันประสูติของพญาเม็ง
                  ราย

                        5.2   ธงประจ าจังหวัด : ธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า พื้นสีฟ้า-ม่วง-ฟ้า แบ่งตามแนวตั้ง กลางแถบสีม่วง
                  มีรูปช้างสีขาวและแถบแพรระบุชื่อจังหวัด

                        5.3  ต้นไม้ประจ าจังหวัดเชียงราย:        กาสะลองค า

                        5.4  ดอกไม้ประจ าจังหวัดเชียงราย:      ดอกพวงแสด

                        5.5  ตัวอักษรย่อของชื่อจังหวัด:        ชร
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31