Page 25 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดเชียงราย
P. 25

2-11




                  เหล่านี้จะบรรจุลงในก๋วย ซึ่งกรุด้วยใบตองหรือกระดาษสีต่างๆ แล้วน า “ยอด” คือ ธนบัตรผูกติดไม้เรียว

                  เสียบไว้ เช้าวันรุ่งขึ้นจะน า “ก๋วยสลาก”ไปวัดที่จัดงานเพื่อถวายพระภิกษุสามเณร มีการเขียนค าอุทิศ
                  ส่วนกุศลไปให้ผู้ตาย และเทวดาทั้งหลาย มีการจับสลากในการถวายตามหมายเลขว่าตรงกับพระรูปใด
                  พระรูปนั้นก็จะรับประเคนและให้พร

                        4.5  ประเพณียี่เป็ง (ลอยกระทง)
                            ในวันเพ็ญเดือนยี่ (เดือนสอง) ของทุกปี คือ วันลอยกระทง ชาวล้านนามีพิธีส าคัญ

                  นอกเหนือจากการลอยกระทง คือ พิธีกรรมตั้งธรรมหลวงหรือฟังเทศน์มหาชาติ ชาวบ้านจะมีการ
                  ประดับประดาวัดวาอาราม บ้านเรือน ด้วยประทีปโคมไฟ โคมระย้า ท าอุบะดอกไม้ไปถวายวัด ท าซุ้ม
                  ประตูป่าด้วยต้นกล้วย อ้อย ก้านมะพร้าว เตรียมข้าวปลาอาหารเป็นพิเศษ เช่น ห่อนึ่ง แกงอ่อม แกง

                  ฮังเล ลาบ และขนมต่างๆไปท าบุญ บางแห่งมีพิธีกวนข้าวมธุปายาส หรือข้าวพระเจ้าหลวง ถวายเป็น
                  พุทธบูชาในตอนเช้ามืดของวันเพ็ญเดือน 12 นี้ด้วย จากนั้นก็จะมีการทานขันข้าวหรือส ารับอาหารไปถึง
                  บรรพชนคนตาย ถวายอาหารและกัณฑ์เทศน์แด่พระภิกษุสงฆ์ และมีการฟังธรรมมหาชาติ ตั้งแต่เช้าถึง
                  กลางคืน บางแห่งก็จะมีการสืบชะตาด้วย จะมีการปล่อยโคมลอย ในช่วงพลบค่ าจะมีการเทศน์ธรรมชื่อ

                  “อานิสงส์ผางประทิส” และชาวบ้านจะมีการจุดประทีปโคมหูกระต่าย โคมแขวน เป็นพุทธบูชากันทุก
                  ครัวเรือนสว่างไสว

                        4.6  ประเพณีนมัสการพระมหาชินธาตุเจ้าดอยตุง พระมหาชินธาตุเจ้าดอยตุง นับเป็น
                  โบราณสถานอันเก่าแก่แห่งหนึ่งในภาคเหนือและเป็นปฐมเจดีย์ในดินแดนล้านนา ทุกๆ ปีจะมี
                  นักท่องเที่ยวขึ้นไปนมัสการพระมหาชินธาตุเจ้าดอยตุงอันศักดิ์สิทธิ์ รวมทั้งชมทิวทัศน์และทัศนียภาพบน                                                   2-11

                  ดอยตุง เมื่อถึงก าหนดวันเพ็ญเดือน 6 เหนือ (ราวมีนาคม) จะมีประเพณีนมัสการที่ยิ่งใหญ่ของจังหวัด
                  ศาสนิกชนเลื่อมใสศรัทธา ทั้งชาวเชียงรายเอง ชาวจังหวัดใกล้เคียง ชาวเชียงตุงจากรัฐฉาน ประเทศพม่า
                  ชาวหลวงพระบาง จากประเทศลาว ตลอดถึงชนกลุ่มน้อยตามแนวชายแดน ก็จะหลั่งไหลขึ้นไปนมัสการ
                  ในวันส าคัญนี้อย่างเนืองแน่น

                        4.7  ประเพณีเป็งพุธ เป็นประเพณีเกี่ยวกับความเชื่อทางศาสนาอย่างหนึ่งของชาวเชียงราย

                  ถือเอาวันเพ็ญที่ตรงกับวันพุธในรอบปี (เป็ง คือ คืนวันเพ็ญ) เป็นวันที่จะท าบุญตักบาตรเพื่อบูชาพระอุป
                  คุต ซึ่งเชื่อว่าวันนี้พระอุปคุตเถรเจ้าจะลงมาโปรดสัตว์โลก หากผู้ใดได้ตักบาตรพระอุปคุตแล้ว จะได้
                  อานิสงส์แรง เป็นสิริมงคลแก่ตนเอง ซึ่งชาวบ้านจะจัดเตรียมอาหารหรือข้าวสารอาหารแห้งไว้รอใส่บาตร

                  เวลากลางคืน พอใกล้จะถึงเที่ยงคืน ก็จะพากันออกมายืนเรียงรายตามท้องถนนในหมู่บ้าน หรือในเมือง
                  พอหลังเที่ยงคืนผ่านไป (ย่างข้าววันพุธ) พระจากหลายวัดในตัวเมือง และวัด ตามท้องถิ่นก็จะออกมา
                  บิณฑบาตกัน ปัจจุบันมักท าเป็นประจ าสม่ าเสมอ

                        4.8  ประเพณีตานหาแม่ฟ้าหลวง ก าหนดจัดในวันที่ 18 กรกฎาคมของทุกปี ซึ่งเป็นวัน
                  คล้ายวันสวรรคตของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี องค์แม่ฟ้าหลวงของปวงชนชาวไทย ซึ่ง

                  พระองค์ท่านเคยเสด็จมาพานักที่พระต าหนักดอยตุง จังหวัดเชียงรายจึงจัดพิธีถวายพานพุ่มสักการะที่ไร่
                  แม่ฟ้าหลวงในช่วงเช้า และพิธีท าบุญอุทิศถวายแด่องค์สมเด็จย่าในช่วงบ่ายที่พระต าหนักดอยตุง
                  ข้าราชการ องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งประชาชน เข้าร่วมพิธีอย่างเนืองแน่น เพื่อร าลึกถึงพระ
                  มหากรุณาธิคุณที่พระองค์มีต่อประชาชนชาวเชียงราย
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30