Page 24 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดเชียงราย
P. 24

2-10




                  ภาษาค าเมือง ส่วนวัฒนธรรมทางด้านวัตถุซึ่งแสดงออกในรูปของอาคารวัดวาอารามจะเป็นลักษณะ

                  ผสมผสานระหว่างพม่ากับลาวเวียงจันทน์มาเป็นศิลปะล้านนา แต่ที่ถือเป็นเอกลักษณ์ส าคัญของจังหวัด
                  เชียงราย คือ วัฒนธรรมเชียงแสน โดยเฉพาะในเชิงช่างสกุลเชียงแสน เช่น ศิลปะของพระพุทธรูปเชียง
                  แสนสิงห์หนึ่ง สิงห์สอง และสิงห์สามที่มีรูปแบบเฉพาะ ส าหรับประเพณีของท้องถิ่นที่ส าคัญ คือ

                        4.1  ประเพณีสงกรานต์ สงกรานต์ แปลว่า ย้ายที่ หรือ เคลื่อนที่ คือดวงอาทิตย์จากราศีมีน
                  ยกเข้าสู่ราศีเมษก าหนดให้วันที่ 13 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยในสมัยก่อน ปี๋ใหม่เมืองของชาว

                  ล้านนายังคงสืบทอดกันมาดังนี้
                            -13 เมษายน เป็นวันสังขารล่อง ในตอนเช้ามืดจะมีการยิงปืนจุดประทัดเพื่อเป็นการขับ
                  ไล่เสนียด จัญไร ปัญหาอุปสรรค เคราะห์กรรมต่างๆ โดยจะมีการท าความสะอาดบ้านเรือน เสื้อผ้า

                  เครื่องใช้ให้เรียบร้อย
                            -14 เมษายน เป็นวันเน่า หรือวันเนาว์ คือเป็นวันตระเตรียมอาหาร ขนมเพื่อน าไป
                  ถวายวัด โดยช่วงบ่ายจะมีการขนทรายเข้าวัดเพื่อก่อเจดีย์ทราย วันนี้ไม่ควรประกอบการมงคลใดๆ และ
                  ไม่ควรพูดหยาบหรือโกหก

                            -15 เมษายน เป็นวันพญาวัน ช่วงเช้าจะมีการท าบุญตักบาตร ตานขันข้าวตามเจดีย์
                  ทราย ตานตุงปี๋ใหม่ ปล่อยนก ปล่อยปลา ฟังเทศน์ สรงน้ าพระพุทธรูป ด าหัวพระสงฆ์ แล้วจึงไปด าหัว
                  ญาติผู้ใหญ่
                            -16 เมษายน เป็นวันปากปี คือวันเริ่มต้นปีใหม่ จะมีการประกอบพิธีสะเดาะเคราะห์

                  ส่งเคราะห์ ส่งสะตวง สืบชะตา บางแห่งมีการสู่ขวัญเพื่อความเป็นสิริมงคล                                                                               2-10

                        4.2  ประเพณีรดน้ าด าหัว
                            เป็นประเพณีที่ลูกหลานไปกราบคารวะพ่อแม่ ญาติผู้ใหญ่ ช่วงเทศกาลสงกรานต์โดย
                  เริ่มตั้งแต่วันพญาวัน (วันที่ 15 เมษายน) จนถึงสิ้นเดือน กล่าวคือ เช้าวันที่ 15 เมษายน เมื่อกลับจาก
                  ท าบุญที่วัดและด าหัวคารวะบรรพบุรุษที่ล่วงลับแล้ว บรรดาลูกหลานจัดเตรียมข้าวตอก ดอกไม้ ธูป น้ า

                  ขมิ้น น้ าส้มป่อย พร้อมทั้งของกิน สิ่งของอื่นๆ เช่น ขนม ผลไม้ หมากพลู เสื้อผ้า เงินทอง เป็นต้น จัด
                  ตกแต่งในภาชนะ เช่น สลุงเงิน (ขันเงิน) พาน หรือถาด การด าหัว เป็นการสลัดน้ าส้มป่อยลงบนศีรษะ
                  เพื่อขับไล่เสนียดจัญไร ก่อให้เกิดสิริมงคล

                        4.3  ประเพณีสืบชะตา โดยทั่วไปมี 3 ประเภท ได้แก่

                            1) การสืบชะตาบุคคล กระท าได้ทุกโอกาส (วันเกิด หรือเจ็บป่วย ได้รับอุบัติเหตุ)
                            2) การสืบชะตาบ้าน ท าได้ปีละครั้ง คือ ตอนสงกรานต์ หรือเมื่อมีเภทภัยที่เกิดขึ้น
                            3) การสืบชะตาเมือง จะท าเมื่อถึงโอกาสครบรอบสร้างเมือง
                  การสืบชะตาเมือง สืบชะตาบ้าน และสืบชะตาบุคคล เพื่อความเป็นสิริมงคลความเจริญรุ่งเรือง มีการ
                  เตรียมเครื่องบูชาเซ่นไหว้ต่างๆ มากมาย เพื่อบูชาพระเสื้อเมือง พระทรงเมือง


                        4.4  ประเพณีตานก๋วยสลาก การตานก๋วยสลาก (สลากภัตต์) จะเริ่มในราววันเพ็ญเดือน
                  12 เหนือ และสิ้นสุดในเดือนเกี๋ยงดับ (เดือนตุลาคม) ก่อนวันท าพิธี “ตานก๋วยสลาก” 1 วัน เรียกว่า
                  “วันดา” เป็นวันจัดเตรียมสิ่งของเครื่องไทยทานจัดการจักตอกสถาน “ก๋วย” ไว้ เตรียมห่อข้าวสาร พริก
                  หอม กระเทียม เกลือ กะปิ ปลาร้า ขนม ข้าวต้ม และอาหาร ตามแต่ศรัทธาและฐานะ สิ่งของต่างๆ
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29