Page 31 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดเชียงราย
P. 31

2-17




                            - ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1126 เป็นทางหลวงที่ท าหน้าที่เชื่อมโยงระหว่างอ าเภอ

                  พานกับอ าเภอป่าแดด
                            - ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1129 เป็นถนนสายหลัก ท าหน้าที่เชื่อมโยงระหว่าง
                  อ าเภอเชียงแสนกับอ าเภอเชียงของ ซึ่งเป็นที่ตั้งของท่าเรือเชียงแสนแห่งที่ 2

                            - ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1155 เป็นทางหลวงที่ท าหน้าที่เชื่อมโยงระหว่าง
                  อ าเภอเทิงกับอ าเภอเวียงแก่น
                            - ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1173 เป็นทางหลวงที่ท าหน้าที่เชื่อมโยงระหว่างอ าเภอ
                  เวียงชัยกับอ าเภอเวียงเชียงรุ้ง และอ าเภอดอยหลวง
                            - ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1174 เป็นทางหลวงที่ท าหน้าที่เชื่อมโยงระหว่างอ าเภอ

                  เทิง อ าเภอพญาเม็งราย และอ าเภอเชียงของ
                            - ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1290 เป็นถนนสายรอง ท าหน้าที่เชื่อมโยงระหว่าง
                  อ าเภอแม่สายกับอ าเภอเชียงแสน

                      2. การคมนาคมทางอากาศ จังหวัดเชียงรายมีท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย ตั้งอยู่ต าบล

                  บ้านดู่ อ าเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ห่างจากตัวเมืองเชียงรายประมาณ 8 กิโลเมตร อยู่ภายใต้การ
                  ดูแลของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จ ากัด (มหาชน) มีจ านวนหลุดจอดเครื่องบิน 4 หลุมจอด มีจ านวน
                  เที่ยวบินเฉลี่ย 36 เที่ยวบิน/วัน มีพื้นที่ในส่วนผู้โดยสาร 16,665 ตารางเมตร พื้นที่อาคารคลังสินค้า 412
                  ตารางเมตร สามารถรองรับการขนส่งสินค้าได้ปีละ 3,400 ตัน และสามารถรองรับผู้โดยสารได้ 600 คนต่อ

                  ชั่วโมง นอกจากนี้ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย ได้มีการวางแผนการพัฒนาให้เป็น Land Journey
                  ส าหรับการเดินทางไปประเทศพม่า สาธารณรัฐประชาชนจีน และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม                                                                    2-17
                  (คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการจังหวัดเชียงราย, 2559)

                      3. การคมนาคมทางน้ า เป็นการขนส่งและเดินทางโดยใช้แม่น้ าโขง ซึ่งเป็นแม่น้ านานาชาติที่
                  ส าคัญ โดยจังหวัดเชียงรายมีท่าเทียบเรือ 2 แห่ง คือ ท่าเรือเชียงแสนแห่งที่ 2 และ ท่าเรือเชียงของ ซึ่ง

                  ให้บริการขนส่งสินค้าทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ

                      4. การคมนาคมทางราง ปัจจุบันยังไม่มีระบบการคมนาคมทางรางถึงจังหวัดเชียงราย แต่
                  สามารถกระท าได้โดยการโดยสารรถไฟสายเหนือลงที่สถานีรถไฟนครล าปาง แล้วเดินทางต่อด้วยการ
                  คมนาคมทางบกตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 ประมาณ 234 กิโลเมตร (กลุ่มงานยุทธศาสตร์และ

                  ข้อมูลเพื่อการพัฒนา ส านักงานจังหวัดเชียงราย, 2562) อย่างไรก็ตาม จังหวัดเชียงรายมีโครงการรถไฟ
                  สายใหม่ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน เพิ่มขีด
                  ความสามารถในการขนส่งระหว่างประเทศในภูมิภาค โดยผลที่คาดว่าจะเป็นการลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์
                  ของประเทศ ลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานในการขนส่งสินค้า พร้อมทั้งอ านวยความสะดวกในด้านการ
                  คมนาคมของประชาชน ทั้งนี้โครงการดังกล่าวอยู่ระหว่างการเสนอคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ

                  พิจารณา (คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการจังหวัดเชียงราย, 2559)
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36