Page 86 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดระนอง
P. 86

4-6





                  รายได้ให้แก่เกษตรกร 2) พัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปไปสู่ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูง โดยพัฒนา

                  ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เหมาะสมกับผลิตผลในพื้นที่ 3) ส่งเสริมศักยภาพด้านการตลาด โดยพัฒนาองค์ความรู้
                  ในการวิเคราะห์ ประเมินสถานการณ์ด้านการตลาดทางการเกษตร พัฒนาระบบและบริหารจัดการ
                  เครือข่าย เพื่อเชื่อมโยงเครือข่าย และสถาบันเกษตรกรในกลุ่มจังหวัด ส่งเสริม และสนับสนุนสถาบัน

                  เกษตรกรให้มีขีดความสามารถในการด าเนินธุรกิจ และช่วยเหลือสมาชิกในด้านการผลิต และการตลาด
                  และ 4) ส่งเสริมศักยภาพ การรวมกลุ่ม และเครือข่ายสนับสนุนเกษตรอินทรีย์ เกษตรปลอดสารพิษของ
                  เกษตรกร และผู้ประกอบการเพื่อสร้างความเข้มแข็ง โดยส่งเสริมการรวมกลุ่มของเกษตรกรในรูปแบบ
                  สหกรณ์ วิสาหกิจชุมชนหรือรูปแบบบริษัทประชารัฐ เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มทุน สร้าง
                  เกษตรกรรุ่นใหม่ที่มีความรู้ทั้งทางทฤษฎี และการปฏิบัติ เพื่อไปประกอบอาชีพเกษตรกรรม และเป็น

                  แบบอย่างที่ดีแก่เกษตรกรรายอื่น เพื่อให้เกิดการพัฒนาการเกษตรที่ยั่งยืน

                        9. แผนพัฒนาจังหวัดระนอง พ.ศ. 2561–2565 มีประเด็นยุทธศาสตร์ และกลยุทธ์เกี่ยวข้อง ดังนี้
                          ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 ส่งเสริมภาคการเกษตรแบบครบวงจร ซึ่งมีกลยุทธ์หลัก ได้แก่ 1) เพิ่ม
                  ประสิทธิภาพการขนส่งผลผลิตทางการเกษตร 2) เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันภาคเกษตร และ

                  3) เสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชนสู่การพึ่งตนเองที่ยั่งยืนด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
                          ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 การจัดการ อนุรักษ์ ฟื้นฟู ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมอย่าง
                  ยั่งยืน ซึ่งมีกลยุทธ์หลักที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ 1) คุ้มครอง ป้องกัน รักษา ฟื้นฟูพื้นป่า และป่าอนุรักษ์ 2) สร้าง
                  ความเข้มแข็งของเครือข่ายด้านสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมการจัดการอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน และ 3) สร้าง

                  การมีส่วนร่วมของประชาชนในการรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม

                        10. แผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์จังหวัดระนอง (พ.ศ. 2561–2565) มีประเด็น
                  ยุทธศาสตร์ และกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
                          ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกร และส่งเสริมองค์กรเกษตรให้
                  เข้มแข็ง เพื่อให้เกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองได้ และก้าวสู่การเป็นเกษตรกรมืออาชีพ (Smart

                  Farmer) และส่งเสริมให้องค์กรเกษตรกรมีการด าเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ และยั่งยืน ซึ่งมีกลยุทธ์
                  หลัก ได้แก่ 1) สร้างองค์ความรู้ และถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อการประกอบอาชีพให้กับเกษตรกร
                  2) ส่งเสริมการท าเกษตรกรรมที่ยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ 3) เพิ่มประสิทธิภาพ
                  การบริหารจัดการองค์กรเกษตรกรให้มีความเข้มแข็ง

                          ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาขีดความสามารถในการผลิต และการจัดการสินค้าเกษตร
                  และความมั่นคงปลอดภัยด้านอาหาร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และการบริหารจัดการสินค้า
                  เกษตรที่ส าคัญของจังหวัดตามความเหมาะสมของพื้นที่ รวมทั้งสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตร และ

                  เชื่อมโยงเครือข่ายการผลิต และตลาด ซึ่งมีกลยุทธ์หลัก ได้แก่ 1) ส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรให้
                  เหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่ตามระบบโซนนิ่ง 2) ส่งเสริมการผลิตไม้ผลคุณภาพปลอดภัยอย่างเป็น
                  ระบบครบวงจร 3) พัฒนาสินค้าเกษตรที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัด (กาแฟ, กะปิ, กุ้งแห้ง, มะม่วง
                  หิมพานต์) 4) ส่งเสริมการผลิต และการตรวจรับรองสินค้าเกษตรให้ได้ตามระบบมาตรฐานและมีความ
                  ปลอดภัย 5) ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยี และการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตให้สอดคล้องกับสภาพ
   81   82   83   84   85   86   87   88   89   90   91