Page 82 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดระนอง
P. 82

4-2





                  ภัยแล้ง ควบคู่กับกับแผนงานก าหนดพื้นที่รับน้ านอง และการพัฒนาคลังข้อมูล ระบบพยากรณ์ และ

                  การเตือนภัย และแผนงานเผชิญเหตุเฉพาะพื้นที่ ตลอดจนการปรับปรุงองค์กร และกฎหมาย รวมทั้ง
                  การสร้าง การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ า

                        4. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) มียุทธศาสตร์
                  และแนวทางการพัฒนาที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
                          ยุทธศาสตร์ที่ 3 การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ และแข่งขันได้อย่างยั่งยืน แนวทาง

                  พัฒนาที่ 3.2 การเสริมสร้าง และพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิต และบริการ
                  ซึ่งมีแนวทางการพัฒนาหลักที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การพัฒนาภาคการเกษตร ด้วยการ 1) เสริมสร้างฐาน
                  การผลิตภาคเกษตรให้เข้มแข็ง และยั่งยืน โดยพัฒนา และบ ารุงรักษาแหล่งน้ าเพื่อการเกษตรรวมทั้ง

                  จัดระบบการปลูกพืชให้สอดคล้องปริมาณน้ าที่หาได้ และคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรมที่มีศักยภาพ
                  และขยายโอกาสในการเข้าถึงพื้นที่ท ากินของเกษตรกรให้มากขึ้น 2) สร้าง และถ่ายทอดองค์ความรู้ทาง
                  วิชาการ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการเกษตรแบบมีส่วนร่วม
                  โดยให้ความส าคัญกับการพัฒนารูปแบบ และกระบวนการถ่ายทอดความรู้เพื่อปรับระบบการผลิต

                  ที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศให้แก่เกษตรกรอย่างเป็นรูปธรรม
                  อาทิ การจัดท าแปลงต้นแบบผ่านศูนย์เรียนรู้ และศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีในแต่ละพื้นที่ 3) เสริมสร้าง
                  ขีดความสามารถการผลิตในห่วงโซ่อุตสาหกรรมเกษตร โดย ส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตพืช ปศุสัตว์
                  และการท าประมงให้สอดคล้องกับศักยภาพพื้นที่ และความต้องการของตลาด (Zoning) 4) ส่งเสริม

                  และเร่งขยายผลแนวคิดการท าการเกษตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยมุ่งเน้นการส่งเสริม
                  ให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการก าหนดนโยบายการเกษตร รวมไปถึงการส่งเสริมขยายผล และพัฒนาการ
                  ผลิตในระบบเกษตรกรรมยั่งยืน ทั้งในรูปแบบเกษตรทฤษฏีใหม่ เกษตรผสมผสาน วนเกษตร เกษตร
                  อินทรีย์ เกษตรธรรมชาติ ควบคุมการใช้สารเคมีการเกษตรที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และสิ่งแวดล้อม

                  อย่างเคร่งครัด และ 5) พัฒนาปัจจัยสนับสนุนในการบริหารจัดการภาคเกษตร และสนับสนุนเกษตรกร
                  รุ่นใหม่ โดยการพัฒนาฐานข้อมูลด้านอุปสงค์ และอุปทานด้านการเกษตร สร้างบุคลากรด้านการเกษตร
                  ด้วยการผลิตเกษตรกรรุ่นใหม่หรือด าเนินนโยบายบัณฑิตคืนถิ่น การจัดท าหลักสูตรการศึกษาที่เน้นการ

                  เรียนรู้จากภาคปฏิบัติเพื่อสร้างเกษตรกรที่มีความรู้ และมีความสามารถในการยกระดับการผลิต แปรรูป
                  การตลาด และการบริหารจัดการที่สามารถปรับตัวได้ทันตามการเปลี่ยนแปลงของโลก และการปรับปรุง
                  กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรให้ทันสมัย
                           ยุทธศาสตร์ที่ 4 ด้านการเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
                  แนวทางพัฒนาที่ 3.4 การส่งเสริมการผลิต และการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยเน้นการบริหาร

                  จัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และยั่งยืน ภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้แนวคิด
                  ตลอดวัฏจักรชีวิต ซึ่งมีแนวทางการพัฒนาหลัก คือการสนับสนุนการผลิตภาคการเกษตรไปสู่
                  เกษตรกรรมที่ยั่งยืน โดยสนับสนุนการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตจากพืชเชิงเดี่ยวไปสู่เกษตรกรรม

                  ยั่งยืน อาทิ เกษตรธรรมชาติ เกษตรผสมผสาน เกษตรอินทรีย์ วนเกษตร และเกษตรทฤษฎีใหม่
                  สนับสนุนการพัฒนาปุ๋ยอินทรีย์ การใช้วัสดุอินทรีย์ และการใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพทดแทนการใช้สารเคมี
                  การเกษตร สนับสนุนงานวิจัย และจัดท าพื้นที่ต้นแบบ เพื่อสาธิตการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตให้เป็น
                  มิตรกับสิ่งแวดล้อม จัดให้มีแหล่งทุน และกลไกทางการตลาด เพื่อสร้างแรงจูงใจในการปรับรูปแบบการ
   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87