Page 77 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดระนอง
P. 77

3-19





                      3.3.3 การประเมินคุณภาพที่ดิน

                          การประเมินคุณภาพที่ดิน การประเมินคุณภาพที่ดินเป็นการพิจารณาศักยภาพของหน่วย
                  ทรัพยากรที่ดินต่อการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทต่างๆ ในระดับการจัดการที่แตกต่างกัน การประเมิน
                  คุณภาพที่ดินในหลักการของ FAO Framework สามารถท าได้ 2 รูปแบบ

                            รูปแบบแรก การประเมินทางด้านคุณภาพหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเป็นการประเมินเชิง
                  กายภาพเท่านั้น ว่าที่ดินนั้นๆ เหมาะสมมากหรือน้อยเพียงใดต่อการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทต่างๆ
                            รูปแบบที่สอง การประเมินทางด้านปริมาณหรือด้านเศรษฐกิจ ซึ่งจะให้ค่าตอบแทนในรูป
                  ผลผลิตที่ได้รับ ตัวเงินในการลงทุน และตัวเงินจากผลตอบแทนที่ได้รับ
                          ในที่นี้ได้ประเมินเฉพาะรูปแบบแรก คือ การประเมินเชิงกายภาพ ว่ามีความเหมาะสมตาม

                  ข้อก าหนดคุณภาพที่ดินอย่างไรต่อประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินต่างๆ

                          1. การก้าหนดคุณภาพที่ดิน
                              คุณภาพที่ดินที่น ามาประเมินส าหรับการปลูกพืชในระบบของ FAO Framework
                  ได้ก าหนดไว้ทั้งหมด 25 ชนิด ในที่นี้น ามาใช้เพียงไม่กี่ชนิดโดยขึ้นอยู่กับความพร้อมของข้อมูล ความ

                  แตกต่างของภูมิภาค และระดับความรุนแรงของคุณลักษณะดินที่มีผลต่อผลผลิต ตลอดจนชนิดของพืช
                  และความต้องการการใช้ประโยชน์ที่ดิน (Land Use Requirements) ดังนั้นคุณภาพที่ดิน (Land
                  Qualities) ที่น ามาใช้มีดังนี้
                                1) ระบอบอุณหภูมิ (Temperature regime : t) คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทน ได้แก่

                  ค่าอุณหภูมิเฉลี่ยในฤดูปลูก เพราะอุณหภูมิมีอิทธิพลต่อการงอกของเมล็ด ต่อการออกดอกของพืช
                  บ า งชนิด และมีส่วนสัมพันธ์กับขบวนการสังเคราะห์แสง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการเจริญ
                  เติบโตของพืช
                                2) ความชุ่มชื้นที่เป็นประโยชน์ต่อพืช (Moisture availability : m) คุณลักษณะที่ดินที่

                  เป็นตัวแทน ได้แก่ ปริมาณน้ าฝนเฉลี่ยในรอบปี
                                3) ความเป็นประโยชน์ของออกซิเจนต่อรากพืช (Oxygen availability : o)
                  คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทน ได้แก่ สภาพการระบายน้ าของดิน ทั้งนี้เพราะพืชโดยทั่วๆ ไป รากพืช

                  ต้องการออกซิเจนในขบวนการหายใจ
                                4) ความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหาร (Nutrient availability : s) คุณลักษณะที่ดินที่
                  เป็นตัวแทน ได้แก่ ปริมาณธาตุอาหารพืชในดิน
                                5) ความจุในการดูดยึดธาตุอาหาร (Nutrient retention capacity : n) คุณลักษณะ
                  ที่ดินเป็นตัวแทน ได้แก่ ความจุในการแลกเปลี่ยนประจุบวก และความอิ่มตัวด้วยค่าด่าง

                                6) สภาวะการหยั่งลึกของราก (Rooting conditions : r) คุณลักษณะที่ดินที่เป็น
                  ตัวแทน ได้แก่ ความลึกของดิน ความลึกของระดับน้ าใต้ดิน และชั้นการหยั่งลึกของราก โดยความยาก
                  ง่ายต่อการหยั่งลึกของรากในดินมีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ลักษณะเนื้อดิน โครงสร้างของดิน การเกาะตัว

                  ของดิน และปริมาณกรวดหรือเศษหิน ที่พบในหน้าตัดดิน
                                7) การมีเกลือมากเกินไป (Excess of salts : x) คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทน ได้แก่
                  ปริมาณเกลืออิสระที่สะสมมากเกินพอจนเป็นอันตรายต่อการเจริญเติบโตของพืชมี exchangeable
                  Na<15% หรือที่รียกว่า Salinity
   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82