Page 81 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดระนอง
P. 81

บทที่ 4


                                   กระบวนการวิเคราะห์เพื่อจัดท าแผนการใช้ที่ดิน




                  4.1  นโยบายแห่งรัฐ

                        1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
                          มาตรา 72(1) วางแผนการใช้ที่ดินของประเทศให้เหมาะสมกับสภาพของพื้นที่ และศักยภาพ
                  ของที่ดินตามหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน

                        2. แผนการปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม: ทรัพยากรดิน โดยมี

                  ประเด็นย่อยที่เกี่ยวข้อง 2 ประเด็น ได้แก่
                          ประเด็นย่อยที่ 2.1 จัดท าแผนการใช้ที่ดินของชาติทั้งระบบให้สอดคล้อง และเหมาะสมกับ
                  ศักยภาพของพื้นที่ และการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ โดยมีเป้าหมาย คือ 1) ประเทศมี
                  แผนการใช้ที่ดินของชาติทั้งระบบที่มีความถูกต้อง แม่นย า และเป็นปัจจุบัน สอดคล้อง และเหมาะสมกับ

                  ศักยภาพของพื้นที่ และการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ และ 2) เกษตรกรสามารถน าข้อมูล
                  แผนการใช้ที่ดินผ่านระบบเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ และช่องทางอื่นๆ ไปใช้ในการพัฒนา
                          ประเด็นย่อยที่ 2.2 ส่งเสริมการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยมีเป้าหมาย
                  คือ 1) พื้นที่ทางการเกษตรมีการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยมีการขยายพื้นที่เขต

                  เกษตรอินทรีย์อย่างเป็นรูปธรรม และ 2) พื้นที่การเกษตรในพื้นที่เสี่ยงต่อการชะล้างพังทลายของดินมี  4-1
                  การใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างเหมาะสม และไม่เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

                        3. ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) โดยมียุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง 2 ยุทธศาสตร์ ได้แก่
                           ยุทธศาสตร์ที่ 2 ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน
                           ยุทธศาสตร์ย่อยที่ 2.1.2 บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นฐานของการผลิตภาค

                  เกษตรอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้มีความเข้มแข็ง และยั่งยืน โดยต้องมีการวางแผนการบริหาร
                  ทรัพยากรธรรมชาติของประเทศทั้งระบบ ทั้งที่ดิน แหล่งน้ า ป่าไม้ สินแร่ เพื่อให้มีการเข้าถึง การใช้
                  ประโยชน์ การอนุรักษ์ และการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติอย่างเหมาะสม คุ้มค่า มีประสิทธิภาพ

                  และสมดุล สามารถเป็นฐานของภาคการผลิต ทั้งเกษตร และอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าเพิ่มสูง
                  ในขณะเดียวกันต้องไม่เกิดผลกระทบในทางลบต่อสิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศ และที่ส าคัญ คือ
                  ช่วยสร้างความมั่นคงของประเทศในด้านพลังงาน และอาหาร โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมให้ประชาชนใน
                  ชุมชนมีความรู้สึกเป็นเจ้าของทรัพยากร และมีส่วนร่วมกับหน่วยงานรัฐในท้องถิ่นในการดูแลรักษา ฟื้นฟู

                  และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติในชุมชนอย่างต่อเนื่อง
                           ยุทธศาสตร์ที่ 5 ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
                           ยุทธศาสตร์ย่อยที่ 5.2  วางระบบบริหารจัดการน้ าอย่างบูรณาการให้มีประสิทธิภาพ
                  ใน 25 ลุ่มน้ า ทั้งด้านอุปสงค์และอุปทาน เน้นการปรับระบบการบริหารจัดการอุทกภัยอย่างบูรณาการ

                  ให้มีแหล่งกักเก็บน้ าต้นทุน และแหล่งชะลอน้ าที่เพียงพอ เพิ่มขีดความสามารถในการเก็บกักน้ า และเพิ่ม
                  ประสิทธิภาพการระบายน้ า และการผันน้ า โดยขุดลอกร่องน้ า และแหล่งน้ าเพื่อแก้ปัญหาอุทกภัย
   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86