Page 84 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดระนอง
P. 84

4-4





                  ที่ดิน และทรัพยากรดิน รวมทั้งผลักดันให้มีผลบังคับใช้อย่างมีประสิทธิภาพ การส่งเสริมการน า

                  เทคโนโลยี นวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพมาใช้ในการบริหารจัดการที่ดิน และทรัพยากรดิน การเร่งรัด
                  พัฒนาระบบฐานข้อมูลที่ดิน และทรัพยากรดิน การจัดท าแผนที่ก าหนดแนวเขตที่ดินของรัฐ โดยมี
                  กฎหมายรองรับ มีมาตรการทางการเงิน การคลัง เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการที่ดิน และทรัพยากร

                  ดิน ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเป็นธรรม และ 2) การพัฒนาองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการที่ดิน
                  และทรัพยากรดิน โดยมุ่งเน้นการส่งเสริม สนับสนุนการศึกษาวิจัย และการพัฒนาเกี่ยวกับที่ดิน
                  และทรัพยากรดิน โดยมีแผนงานการวิจัยที่เป็นระบบ รวมทั้งเผยแพร่ และประชาสัมพันธ์งานวิจัยอย่าง
                  ต่อเนื่อง เพื่อผลักดันผลงาน การวิจัยไปสู่การปฏิบัติ และการพัฒนาการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการ
                  บริหารจัดการที่ดิน และทรัพยากรดิน ทั้งในประเทศ และระหว่างประเทศ


                        6. แผนพัฒนาภาคใต้ พ.ศ. 2560 – 2565 มียุทธศาสตร์ และแนวทางการพัฒนาที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
                          ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาการผลิตสินค้าเกษตรหลักของภาค และสร้างความเข้มแข็งสถาบัน
                  เกษตรกร ซึ่งมีแนวทางการพัฒนาหลักในการพัฒนา ได้แก่ 1) ยกระดับการผลิตสินค้าเกษตรที่เป็น
                  อัตลักษณ์ที่เหมาะสมกับศักยภาพพื้นที่ของภาค เช่น ข้าว (ข้าวสังข์หยด ข้าวหอมกระดังงา ข้าวเล็บนก)

                  ไม้ผล (กล้วยหอมทอง มะพร้าว ทุเรียน มังคุด ส้มโอ) กาแฟ (กาแฟโรบัสตา) พืชสุมนไพร และปศุสัตว์
                  (โคขุนศรีวิชัย) เพื่อให้เป็นสินค้ามูลค่าสูง มีคุณภาพ ปลอดภัย และได้มาตรฐานส่งออก อาทิ เวชส าอาง
                  ยาสมุนไพร เป็นต้น โดยการส่งเสริมความรู้ด้านกระบวนการผลิตที่ปลอดภัย และสนับสนุน การใช้
                  ภูมิปัญญา นวัตกรรม และเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการปรับปรุงการปลูก การบ ารุงรักษา การเก็บเกี่ยว

                  การแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และสร้างความหลากหลายของสินค้า และบรรจุภัณฑ์ และการต่อยอด
                  การพัฒนาการผลิตสู่ระบบเกษตรมาตรฐานต่างๆ อาทิ เกษตรปลอดภัย และเกษตรอินทรีย์ เป็นต้น
                  รวมถึงส่งเสริมการสร้างตราสินค้าอัตลักษณ์ เชื่อมโยงไปสู่ภาคการผลิตอื่น เช่น การท าเกษตรแปลงใหญ่
                  ในพื้นที่ที่เหมาะสม (Zoning) ส่งเสริมการรวมกลุ่มในรูปแบบสถาบันเกษตรกร/สหกรณ์ เพื่อยกระดับ

                  ความสามารถในการผลิต การรวบรวมผลผลิต คัดแยก บรรจุ และประกอบธุรกิจออนไลน์ผ่านเครือข่าย
                  การสื่อสารสาธารณะ และเพิ่มช่องทางตลาดในกลุ่มตลาดเฉพาะ (Niche Market) 2) ส่งเสริมการท า
                  การเกษตรแบบผสมผสาน เพื่อสร้างความสามารถในการพึ่งพาตนเอง และความมั่นคงทางด้านรายได้

                  ให้กับเกษตรกรรายย่อย สามารถใช้ทรัพยากร และปัจจัยการผลิต อย่างคุ้มค่า โดยเฉพาะการท าเกษตร
                  และเลี้ยงสัตว์ผสมผสานร่วมกับการปลูกยางพารา ปาล์มน้ ามัน และไม้ผล หรือในพื้นที่ปลูกยางพารา
                  และปาล์มน้ ามันที่ไม่เหมาะสม ส่งเสริมการปลูกพืชพันธุ์ดี (ไม้ผล และพืชผัก รวมทั้งพืชเศรษฐกิจอื่น)
                  ที่ค านึงถึงความสอดคล้องกับความต้องการของตลาด โดยการสนับสนุนความรู้ ด้านเทคโนโลยี และ
                  นวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อสนับสนุนการท าเกษตรอินทรีย์วิถีชาวบ้าน และยกระดับคุณภาพ การผลิตให้ได้

                  มาตรฐาน โดยเฉพาะมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ รวมทั้งการพัฒนาคุณภาพดิน และแหล่งน้ า เพื่อสนับสนุน
                  การท าการเกษตร 3) ส่งเสริมให้มีการใช้เทคโนโลยี และนวัตกรรมในการผลิต และบริหารจัดการฟาร์ม
                  อย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะในกลุ่มเกษตรกรรุ่นใหม่เพื่อพัฒนาไปสู่การเป็นเกษตรกรมืออาชีพ/เกษตร

                  อัจฉริยะ (Smart Farmer) โดยสนับสนุนการรวมกลุ่มเกษตรกร การสร้าง และพัฒนาความเข้มแข็งของ
                  องค์กร/สถาบันเกษตรกร และพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนหรือสหกรณ์การเกษตร และ 4) สร้าง
                  ความเข้มแข็งให้กับกลุ่มเกษตรกร และชุมชน โดยสนับสนุนการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร และช่องทาง
                  การตลาดทั้งใน และต่างประเทศ สร้างโอกาสในการเรียนรู้นอกระบบ และตามอัธยาศัย
   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89