Page 73 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดระนอง
P. 73

3-15





                      3.3.2 การชะล้างพังทลายของดิน

                        การประเมินการชะล้างพังทลายของดินของจังหวัดระนอง ใช้สมการการสูญเสียดินสากล
                  (Universal Soil Loss Equation : USLE) ของ Wischmeier & Smith (1978) มีรูปสมการดังนี้
                                             A = R K L S C P

                              A คือ ค่าการสูญเสียดินต่อหน่วยของพื้นที่
                              R คือ ค่าที่รวมทั้งปัจจัยของน้ าฝน และการไหลบ่า (Rainfall and runoff erosivity

                  factor) ซึ่งสามารถอธิบายได้จากค่าความสัมพันธ์ของพลังงานจลน์ของเม็ดฝนที่ตกกระทบผิวหน้าดินกับ
                  ปริมาณความหนาแน่นของฝนในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ในที่นี้ใช้ข้อมูลปริมาณน้ าฝนเฉลี่ยรายปี (Average
                  annual rainfall) มาใช้ในการวิเคราะห์

                              K คือ ค่าปัจจัยความคงทนต่อการถูกชะล้างพังทลายของดิน (Soil erodibility factor)
                  ซึ่งภายใต้สภาพแวดล้อมที่คล้ายคลึงกันดินแต่ละชนิดจะทนต่อการชะล้างพังทลายได้แตกต่างกันโดยจะ
                  เป็นผลมาจากสมบัติเฉพาะของดินนั้นๆ สามารถวิเคราะห์ค่าปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับลักษณะดินนี้ จากภาพ
                  Nomograph โดยประเมินได้จากสมบัติของดิน 5 ประการคือ 1) ผลรวมปริมาณร้อยละดินของทรายแป้ง

                  และปริมาณร้อยละของทรายละเอียดมาก 2) ปริมาณร้อยละของทราย 3) ปริมาณร้อยละอินทรียวัตถุในดิน
                  4) โครงสร้างของดิน และ 5) การซาบซึมน้ าของดินซึ่งกรมพัฒนาที่ดิน (2545) ได้ศึกษาปัจจัยดังกล่าว และ
                  ให้ค่าปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับลักษณะของดินสอดคล้องตามเนื้อดินบนของแต่ละพื้นที่ คือ บริเวณที่สูง และ
                  บริเวณที่ลุ่มต่ า ซึ่งในการประเมินอัตราการชะล้างพังทลายของดินครั้งนี้ใช้ค่า K ตามเนื้อดินบนในภาคใต้

                              LS คือ ค่าปัจจัยความลาดชันของพื้นที่ (Slope length and slope steepness factors)
                  เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความลาดชัน และความยาวของความลาดชัน ตามปกติแล้วค่าการชะล้าง
                  พังทลายของดินนั้นจะเพิ่มขึ้นเมื่อความลาดชันสูงขึ้น และเมื่อความยาวของความลาดชันลดลง ซึ่งในการ
                  ประเมินอัตราการชะล้างพังทลายของดินครั้งนี้ใช้ค่าปัจจัยรวมของความลาดชัน และความยาวของความ

                  ลาดชันตามการศึกษาของกรมพัฒนาที่ดิน (2545)
                              C คือ ค่าปัจจัยการจัดการพืช (crop management factor) เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับ
                  พืชคลุมดินซึ่งพืชแต่ละชนิดย่อมมีความต้านทานในการชะล้างพังทลายของดินที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับ

                  ความสูงของต้น ลักษณะพุ่ม หรือการยึดอนุภาคดินของรากพืชนั้นๆ เป็นต้น ในกรณีที่ไม่มีพืชปกคลุมดิน
                  ปัจจัยนี้จะมีค่าเท่ากับหนึ่ง ส่วนกรณีที่พืชปกคลุมดินสามารถต้านทานการชะล้างพังทลายของดินได้ดีขึ้น
                  ส่งผลให้วิธีการปลูกพืชทุกชนิดจะให้ค่าปัจจัยนี้น้อยกว่าหนึ่ง นอกจากนี้แล้วปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับ
                  การจัดการพืชนี้ยังมีความสัมพันธ์กับสภาพภูมิอากาศในพื้นที่นั้นๆ อีกด้วย เนื่องจากสภาพภูมิอากาศนั้น
                  มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชซึ่งในการประเมินอัตราการชะล้างพังทลายของดินครั้งนี้ใช้ค่าปัจจัยการ

                  จัดการพืชตามการศึกษาของกรมพัฒนาที่ดิน (2545)
                              P คือ ค่าปัจจัยการอนุรักษ์ดิน และน้ า (conservation practice factor) เป็นปัจจัยที่
                  แสดงถึงมาตรการอนุรักษ์ดิน และน้ าในพื้นที่นั้นๆ เช่น การปลูกพืชตามแนวระดับ (Contouring)

                  การปลูกพืชสลับขวางความลาดเอียง (Strip cropping) เป็นต้น ในการประเมินการชะล้างพังทลายของ
                  ดินครั้งนี้ใช้ค่าปัจจัยการปฏิบัติป้องกันการชะล้างพังทลายตามการศึกษาของกรมพัฒนาที่ดิน (2545)
   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78