Page 70 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดระนอง
P. 70

3-12





                          2. ทรัพยากรดินที่มีปัญหาทางการเกษตร

                              จากการวิเคราะห์ทรัพยากรดินของจังหวัดระนอง พบดินที่มีปัญหาทางการเกษตร เนื้อที่
                  219,013 หรือร้อยละ 10.62 ของเนื้อที่จังหวัด พบมากที่สุดในพื้นที่อ าเภอเมืองระนอง รองลงมาเป็น
                  อ าเภอกะเปอร์ อ าเภอกระบุรี อ าเภอสุขส าราญ และอ าเภอละอุ่น ตามล าดับ จ าแนกได้เป็น 4 ประเภท

                  ดังนี้ (ตารางที่ 3-3 และรูปที่ 3-5)
                              1) ดินเค็มชายทะเล เนื้อที่ 180,117 หรือร้อยละ 8.74 ของเนื้อที่จังหวัด พบบริเวณที่
                  มีสภาพพื้นที่ราบลุ่มน้ าทะเลท่วมถึง เกิดจากวัตถุต้นก าเนิดดินพวกตะกอนน้ าทะเล หรือตะกอนน้ ากร่อย
                  เป็นดินเลนที่มีความเหนียวสูง ดินมีความชื้น และความเค็มสูง พืชพรรณที่ขึ้นในบริเวณนี้เป็นไม้ชายเลน
                  ซึ่งทนเค็มได้ดี เช่น แสม โกงกาง ล าพู เป็นต้น พบบริเวณชายฝั่งของทะเลอันดามัน ส่วนใหญ่พบ

                  มากที่สุดในพื้นที่อ าเภอเมืองระนอง รองลงมาเป็นอ าเภอกะเปอร์ อ าเภอสุขส าราญ อ าเภอกระบุรี และ
                  อ าเภอละอุ่น ตามล าดับ
                              2) ดินเปรี้ยวจัด ที่พบชั้นดินกรดก ามะถันในระดับตื้น เนื้อที่ 10,163 หรือร้อยละ 0.49

                  ของเนื้อที่จังหวัด พบบริเวณที่มีสภาพพื้นที่ราบลุ่มน้ าท่วมขังซึ่งเกิดจากวัตถุต้นก าเนิดของตะกอนทะเล
                  หรือตะกอนน้ ากร่อย เนื้อดินเป็นดินเหนียวจัด พบสารสารจาโรไซต์ สีเหลืองฟางข้าว หรือชั้นดินที่เป็น
                  กรดรุนแรงมาก ภายในความลึก 50 เซนติเมตรจากผิวดิน มักพบคราบสนิมเหล็กในดิน และที่ผิวน้ า เมื่อ
                  ดินแห้งจะแตกระแหงเป็นร่องกว้าง และลึก เมื่อขุดดินหรือยกร่องลึก จะพบสารจาโรไซต์กระจายอยู่

                  ทั่วไป หรือพบชั้นดินเลนเหนียว หรือร่วนเหนียวปนทรายแป้ง ชั้นดินเลนนี้เมื่อแห้งมีปฏิกิริยาดินเป็น
                  กรดจัดมากถึงเป็นกรดรุนแรงมาก พบมากที่สุดในพื้นที่อ าเภอกระบุรี รองลงมาเป็นอ าเภอเมืองระนอง
                  และอ าเภอละอุ่น ตามล าดับ
                              3) ดินทราย เนื้อที่ 11,457 หรือร้อยละ 0.56 ของเนื้อที่จังหวัด พบในพื้นที่ดอนบริเวณ

                  สันทรายทะเล เนื้อดินเป็นดินทรายหรือดินทรายปนดินร่วน เนื้อดินเหนียวมีน้อย เป็นดินที่ไม่มีโครงสร้าง
                  มีลักษณะเป็นเม็ดเดี่ยวๆ การเกาะตัว หรือยึดตัวของเม็ดดินต่ า ท าให้เกิดปัญหาการชะล้างพังทลายของดิน
                  มีการระบายน้ าดีเกินไป ท าให้เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ า ความสามารถในการอุ้มน้ า และดูดซับธาตุ
                  อาหารต่ า ความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ า พบมากที่สุดในพื้นที่อ าเภอสุขส าราญ รองลงมาเป็นอ าเภอ

                  เมืองระนอง และอ าเภอกะเปอร์ ตามล าดับ
                              4) ดินตื้น เนื้อที่ 17,276 หรือร้อยละ 0.83 ของเนื้อที่จังหวัด พบในพื้นที่ดอน
                  เป็นดินตื้นที่พบชั้นลูกรัง ก้อนกรวด ชั้นหินพื้น หรือเศษหินปะปนอยู่ในเนื้อดินเท่ากับหรือมากกว่าร้อยละ

                  35 โดยปริมาตร ความหนาของชั้นดินน้อยกว่า 50 เซนติเมตรจากผิวดิน ท าให้เป็นอุปสรรคต่อการ
                  ชอนไชของรากพืช และการไถพรวน ส่วนใหญ่ความอุดมสมบูรณ์ต่ า ความสามารถในการดูดซับหรือการซึม
                  ของน้ าลงในดินต่ า เนื้อดินเหนียว และอินทรียวัตถุมีน้อย ท าให้การเกาะยึดตัวของเม็ดดินไม่ดี เกิดน้ า
                  ไหล่บ่า การชะล้างพังทลายของดิน และแร่ธาตุได้ง่าย ท าให้ธาตุอาหารต่ า แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
                              - ดินตื้นถึงชั้นลูกรัง ก้อนกรวด หรือเศษหิน เนื้อที่ 9,013 หรือร้อยละ 0.43

                  ของเนื้อที่จังหวัด พบบริเวณสภาพพื้นที่ที่เป็นลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อยถึงลูกคลื่นลอนลาด พบในพื้นที่
                  อ าเภอกระบุรี
   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75