Page 67 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดระนอง
P. 67

3-9





                  3.3  ทรัพยากรดิน

                      3.3.1 สถานภาพทรัพยากรดิน
                          1. ทรัพยากรดิน

                              ทรัพยากรดินของจังหวัดระนอง ประกอบด้วย (รูปที่ 3-4)
                              1) ดินในพื้นที่ราบลุ่ม พบในพื้นที่ราบน้ าทะเลท่วมถึง ที่ราบชายฝั่งทะเล และตะพัก

                  ล าน้ า เกิดจากวัตถุก าเนิดดินพวกตะกอนทะเล และตะกอนน้ าพา มีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบเรียบถึง
                  ค่อนข้างราบเรียบ มีการแช่ขังของน้ า และมีระดับน้ าใต้ดินอยู่ใกล้ผิวดินในช่วงฤดูฝน ดินมีการระบายน้ า
                  ค่อนข้างเลวถึงเลว มีสีเทา สีเทาปนน้ าเงิน สีน้ าตาล สีน้ าตาลปนเทา สีน้ าตาลปนเหลือง บางบริเวณพบ

                  จุดประสีแดง สีเหลือง สีน้ าตาล และจุดประสีเหลืองฟางข้าวของสารประกอบจาโรไซท์ ในบางชั้นหรือ
                  ตลอดของชั้นดิน ที่บ่งบอกถึงการมีน้ าแช่ขังของดิน มีปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นด่างปานกลาง
                  ความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ าถึงสูง สามารถจ าแนกตามเนื้อดินอย่างกว้างๆ ได้ 3 กลุ่ม ดังนี้
                              - กลุ่มเนื้อดินที่เป็นดินเลน มีเนื้อดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง มีศักยภาพก่อให้เกิด

                  กรดก ามะถัน และมีน้ าทะเลท่วมถึงเป็นประจ า ได้แก่ ชุดดินตะกั่วทุ่ง (Tkt)
                              - กลุ่มเนื้อดินที่เป็นดินเหนียว มีเนื้อดินบนเป็นดินเหนียวปนทรายแป้ง ดินล่างเป็น
                  ดินเหนียว ได้แก่ ชุดดินบางนารา (Ba) และบริเวณที่ได้รับอิทธิพลของตะกอนทะเลเป็นดินเปรี้ยวจัด ได้แก่
                  ชุดดินมูโน๊ะ (Mu)

                              - กลุ่มเนื้อดินที่เป็นดินร่วน มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนทราย ดินล่างเป็นดินร่วน
                  เหนียวปนทราย คือ สงขลา (Sng)

                              2) ดินในพื้นที่ดอนที่อยู่ในเขตดินชื้น ดินมีช่วงแห้งติดต่อกันน้อยกว่า 45 วัน หรือ
                  ดินแห้งรวมกันน้อยกว่า 90 วันในรอบปี มีฝนตกชุก และกระจายตัวสม่ าเสมอ พบตั้งแต่บริเวณที่เป็น

                  สันทรายชายทะเล สันดินริมน้ า ตะพักล าน้ า ลานตะพัก เชิงเขา เนินเขาหรือบริเวณพื้นที่เหลือค้างจากการ
                  กัดกร่อน และภูมิประเทศคาสต์ เกิดจากวัตถุต้นก าเนิดพวกตะกอนทรายทะเล ตะกอนน้ าพา การผุพัง
                  สลายตัวอยู่ กับที่ และ/หรือเคลื่อนย้ายมาเป็นระยะทางไม่ไกลนักของหินชนิดต่างๆ เช่น หินปูนร่วมกับ
                  หินดินดาน หินดินดาน หินแกรนิต หินตะกอนเนื้อละเอียด มีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบเรียบ ลูกคลื่น เนินเขา
                  และพื้นที่สูงชัน ดินมีการระบายน้ าดีปานกลางหรือค่อนข้างมาก มีสีแดง สีแดงเข้ม สีแดงปนเหลือง สีน้ าตาล

                  สีน้ าตาลปนเหลือง สีน้ าตาลปนแดง สีเทา สีน้ าตาลปนเทา อาจพบจุดประสีบ้างเล็กน้อย หรือพบชั้นลูกรัง
                  ก้อนกรวด เศษหิน ชั้นหินพื้น และชั้นหินพื้นผุ มีปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดเล็กน้อย ความ
                  อุดมสมบูรณ์ต่ าถึงปานกลาง สามารถจ าแนกตามเนื้อดินอย่างกว้างๆ ได้ 4 กลุ่ม ดังนี้

                              - กลุ่มเนื้อดินที่เป็นดินเหนียว มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนดินเหนียว ดินร่วนเหนียวปน
                  ทรายหรือดินเหนียว ดินล่างเป็นดินเหนียวปนทรายหรือดินเหนียว ได้แก่ ชุดดินอ่าวลึก (Ak)  ชุดดินกระบี่
                  (Kbi)  ชุดดินนาทอน (Ntn) ชุดดินปากจั่น (Pac)   ชุดดินพังงา (Pga)  ชุดดินภูเก็ต (Pk) และดินคล้ายชุดดินเขา
                  ขาดที่เป็นดินลึกปานกลาง (Kkt-md)

                              - กลุ่มเนื้อดินที่เป็นดินร่วน มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนทราย หรือดินร่วนปนทราย
                  แป้ง ดินล่างเป็นดินร่วนปนทราย ดินร่วนเหนียวปนทรายหรือดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง ได้แก่
                  ชุดดินรือเสาะ (Ro)  ชุดดินตาขุน (Tkn) ดินคล้ายชุดดินนาทอน ที่มีเนื้อดินเป็นดินร่วนละเอียด (Ntn-fl)
   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72