Page 54 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดพิษณุโลก
P. 54

3-4





                                                         หลักปรัชญาของ


                                                        เศรษฐกิจพอเพียง

                           หลักภูมิสังคม                                              หลักธรรมาภิบาล




                     หลักการมีส่วนร่วม                                                  หลักการอนุรักษ์ดินและน  า
                      ของประชาชน
                                                          หลักการส าคัญ


                        หลักการพัฒนาที่ยึด                                         หลักการบริหารจัดการเชิง
                         คนเป็นศูนย์กลาง                                                  ระบบนิเวศ



                                                      หลักการพัฒนาที่ยั่งยืน

                  รูปที่ 3-1  หลักการส าคัญในการวิเคราะห์การจัดท าแผนการใช้ที่ดินจังหวัดพิษณุโลก

                  (ดัดแปลงจาก แผนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ (พ.ศ. 2560 – 2564), ส านักงานนโยบายและ
                  แผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)

                  3.3  การวิเคราะห์ข้อมูล

                      1. ด้านทรัพยากรธรรมชาติ

                        1.1  สถานภาพทรัพยากรดินและที่ดิน

                            1) ทรัพยากรดินมีปัญหาทางการเกษตร
                              จากแผนบริหารจัดการทรัพยากรดินปัญหาของประเทศไทย ระยะ 20 ปี
                  (พ.ศ.2561-2580) ของกรมพัฒนาที่ดิน (2561) ได้กล่าวว่า ดินปัญหาทางการเกษตร สามารถจ าแนก
                  ตามสาเหตุของการเกิดได้เป็น 2 ประเภท คือ ดินปัญหาที่เกิดตามสภาพธรรมชาติ และดินปัญหาที่เกิด

                  จากการใช้ประโยชน์ที่ดิน โดยดินปัญหาที่เกิดตามสภาพธรรมชาติ ได้แก่ ดินอินทรีย์ ดินเค็ม ดินเปรี้ยว
                  จัด ดินทรายจัดและดินตื้น ส าหรับดินปัญหาที่เกิดจากการใช้ประโยชน์ที่ดิน ตัวอย่างเช่น ดินดาน
                  ดินปนเปื้อน ดินเหมืองแร่ร้างและดินในพื้นที่นากุ้งร้าง นอกจากนี้ยังรวมถึงดินที่มีปัญหาเล็กน้อยที่เป็น

                  ข้อจ ากัดทางการเกษตร เช่น ดินกรด และดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ า เป็นต้น
                              จากการวิเคราะห์ทรัพยากรดินของจังหวัดพิษณุโลก พบว่า จังหวัดพิษณุโลกส่วนใหญ่
                  มีปัญหาดินตื้น เนื้อที่ 501,210 หรือร้อยละ 7.41 ของเนื้อที่จังหวัด โดยมีรายละเอียดดังตารางที่ 3-1
                  และรูปที่ 3-2 พบในพื้นที่ดอนเป็นดินตื้นที่พบชั้นลูกรัง ก้อนกรวด ชั้นหินพื้น หรือเศษหินปะปนอยู่ในเนื้อ
                  ดินเท่ากับหรือมากกว่าร้อยละ 35 โดยปริมาตร ความหนาของชั้นดินน้อยกว่า 50 เซนติเมตรจากผิวดิน

                  บางบริเวณพบปะปนอยู่กับดินที่ไม่มีปัญหาและที่ดินหินพื้นโผล่ปะปนกับดินอื่นๆ ท าให้เป็นอุปสรรค
                  ต่อการชอนไชของรากพืช การไถพรวน ส่วนใหญ่ความอุดมสมบูรณ์ต่ า ความสามารถในการดูดซับหรือ
   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59