Page 16 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
P. 16

1-6






                        1.5.6 ความอุดมสมบูรณ์ของดิน (Soil Fertility) หมายถึง ปริมาณและชนิดของธาตุอาหารพืช

                  ที่จ าเป็นที่มีอยู่ในดิน มีมากน้อยและเป็นสัดส่วนกันอย่างไร พืชสามารถดึงดูดไปใช้เป็นประโยชน์ได้ยาก
                  หรือง่าย การประเมินความเหมาะสมของคุณสมบัติด้านนี้ของดิน สามารถตรวจสอบได้โดยวิธีการต่างๆ
                  การที่เราปลูกพืชในดิน ก็เนื่องจากดินเป็นแหล่งที่มาของธาตุอาหารพืชที่ส าคัญถึง 13  ธาตุด้วยกัน

                  นักวิชาการกล่าวว่า ธาตุอาหารที่จ าเป็นส าหรับการเจริญเติบโตของพืชอย่างน้อยที่สุดมีอยู่ 16 ธาตุด้วยกัน
                  เพียง 3 ธาตุเท่านั้น คือ คาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน ที่พืชได้มาจากน้ าและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
                  ในอากาศ ส่วนธาตุที่เหลือพืชจะได้มาจากดิน (คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา, 2541)

                        1.5.7 การจัดการหน่วยที่ดิน หมายถึง การใช้ที่ดินในกลุ่มชุดดินหนึ่ง หรือหลายกลุ่มชุดดินที่มี
                  ลักษณะที่คล้ายคลึงกัน เช่น เนื้อดิน ปฏิกิริยาของดิน ปริมาณอินทรียวัตถุ  ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็น
                  ประโยชน์ ปริมาณโพแทสเซียมที่สกัดได้ ความจุในการแลกเปลี่ยนประจุบวกของดิน ความอุดมสมบูรณ์ของดิน
                  ที่อยู่ในระดับพิกัดเดียวกัน น าผลมาวิเคราะห์ในโปรแกรมค าแนะน าปุ๋ยรายแปลง (อัธยะ และสมพร, 2554)

                        1.5.8 การวางแผนการใช้ที่ดิน
                             “การวางนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน” หมายความว่า การวางนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน

                  ให้เหมาะสมกับสภาพของดิน และสอดคล้องกับประเภทของที่ดินที่ได้จ าแนกไว้
                             “การวางแผนการใช้ที่ดิน” หมายถึง กระบวนการของการเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับการ
                  แสวงหาการใช้ประโยชน์จากทรัพยากร เป็นการก าหนดทิศทางของการลงทุน แนวทางของการพัฒนา
                  เทคโนโลยี เป็นการเปลี่ยนแปลงของหน่วยงานต่างๆ ให้ด าเนินการอยู่ในภาพรวมเดียวกัน และเป็นการเพิ่ม

                  ศักยภาพทั้งในปัจจุบันและในอนาคตเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ (NRC, 1975 และ ADB, 2012)
                        1.5.9 เขตการใช้ที่ดิน หมายถึงขอบเขตของพื้นที่ที่ก าหนดเป็นพื้นที่วางแผนการใช้ที่ดิน จะมี
                  อิทธิพลต่อปรัชญาและวิธีการด าเนินงาน (approach) การจัดท าโครงสร้างของข้อมูล (meta-data) ที่

                  ต้องใช้ การก าหนดล าดับความส าคัญของข้อมูล (priority) กระบวนการและวิธีการวิเคราะห์ สังเคราะห์
                  การวางแผนการใช้ที่ดินพื้นที่ลุ่มน้ าแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงกับขอบเขตพื้นที่การปกครอง เนื่องจากกรอบ
                  พื้นที่ลุ่มน้ าเป็นเขตระบบนิเวศ เป็นเขตผลกระทบ (impacts) ทั้งบวกและลบ เมื่อมีกิจกรรมของมนุษย์

                  ขอบเขตจังหวัดเป็นขอบเขตบริหารภายใต้อ านาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัด โดยมีนโยบายระดับสูง
                  กว่าเป็นกรอบควบคุม (ค ารณ, 2556)
                        1.5.10 เศรษฐกิจที่ดิน หมายความว่า ภาวะความสัมพันธ์ระหว่างประชากรกับที่ดินทางด้าน

                  เศรษฐกิจ
                        1.5.11 เกษตรกรรม หมายความว่า การท านา ท าไร่ ท าสวน เลี้ยงสัตว์ เลี้ยงสัตว์น้ า และ

                  กิจกรรมอื่นตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ก าหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
                        1.5.12 การชะล้างพังทลายของดิน หมายความว่า ปรากฏการณ์ซึ่งที่ดินถูกชะล้างกัดเซาะ
                  พังทลายด้วยพลังงานที่เกิดจากน้ า ลม หรือโดยเหตุอื่นใดให้เกิดการเสื่อมโทรม สูญเสียเนื้อดิน หรือ

                  ความอุดมสมบูรณ์ของดิน
                        1.5.13   การอนุรักษ์ดินและน  า หมายความว่า การกระท าใดๆ ที่มุ่งให้เกิดการระวังป้องกันรักษาดิน

                  และที่ดิน ไม่ให้เกิดความเสื่อมโทรม สูญเสีย รวมถึงการรักษา ปรับปรุง ความอุดมสมบูรณ์ของดิน และ
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21