Page 14 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
P. 14

1-4






                              (5) การวิเคราะห์ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ

                                   การวิเคราะห์เชิงพรรณนา (Descriptive Analysis) เป็นการน าเอาข้อมูลทุติยภูมิ
                  (Second  Data) จากหน่วยงานต่างๆ มาวิเคราะห์เพื่ออธิบายสภาพทั่วไปของประชากร โครงสร้าง
                  ประชากร แรงงาน ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด สภาพทั่วไปของการผลิตพืชเศรษฐกิจที่ส าคัญ ได้แก่

                  สถานการณ์การผลิตและการตลาด ต้นทุนและผลตอบแทนการผลิต อุปสงค์ และอุปทาน
                                   การวิเคราะห์เชิงปริมาณ  (Quantitative  Analysis)  ซึ่งจะวิเคราะห์ข้อมูลโดยค่า
                  ทางสถิติอย่างง่ายในรูปของอัตราส่วน ร้อยละ หรือค่าเฉลี่ย ในรูปตารางประกอบการอธิบาย ทั้งนี้เพื่อให้
                  ทราบถึงความหนาแน่นของประชากร ความหนาแน่นครัวเรือน อัตราการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจต่างๆ
                              (6) วิเคราะห์นโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการทรัพยากรต่างๆ

                  ทั้งด้านการอนุรักษ์และพัฒนาที่มีผลต่อสถานภาพของทรัพยากรที่เป็นปัญหาในปัจจุบัน เพื่อเสนอแนะ
                  นโยบาย แนวทางการจัดการการใช้ที่ดิน และพิจารณาการก าหนดเขตการใช้ที่ดินในการวางแผนการใช้ที่ดิน
                  ที่มีประสิทธิภาพ เป็นการแก้ปัญหาเชิงพื้นที่

                            (7) จัดท าแผนการใช้ที่ดิน โดยน าผลการวิเคราะห์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและ
                  สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคมมาประกอบการพิจารณา ตลอดจนนโยบายของรัฐที่เกี่ยวข้องด้วยการ
                  สร้างแผนที่แผนการใช้ที่ดินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์และก าหนดเขตการใช้ที่ดินให้เหมาะสมส าหรับกิจกรรม
                  ด้านต่างๆ โดยใช้โปรแกรมระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

                      1.4.6 การน าเสนอข้อมูล
                          1)  น าเสนอในรูปของรายงานแผนการใช้ที่ดินให้เหมาะสมส าหรับกิจกรรมด้านต่างๆ พร้อม
                  ข้อเสนอแนะแนวทางในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติในแต่ละเขต ซึ่งได้จากผลการศึกษาวิเคราะห์
                  ข้อมูลทั่วไปและข้อมูลเฉพาะด้าน

                          2)  น าเสนอในรูปของแผนที่แผนการใช้ที่ดิน ขนาดมาตราส่วน 1:25,000

                  1.5  นิยามศัพท์

                        1.5.1 ที่ดิน (Land)
                            “ที่ดิน” หมายความว่า พื้นที่ดินทั่วไปและให้หมายความรวมถึง ภูเขา ห้วย หนอง คลอง
                  บึง ล าน้ า ทะเลสาบ เกาะ และที่ชายทะเลด้วย (มาตรา 4 ประมวลกฎหมายที่ดิน)

                            “ที่ดิน” ในทางวิชาการด้านทรัพยากรที่ดิน หมายถึง “ชีวมณฑลบนพื้นผิวโลก
                  ประกอบด้วย ชั้นบรรยากาศ ชั้นดิน ชั้นหิน ลักษณะความลาดเทของพื้นที่ ลักษณะทางอุทกศาสตร์ พืช
                  สัตว์ และผลที่เกิดจากการกระท าของมนุษย์ทั้งในอดีตและปัจจุบัน” (FAO, 1974)

                            “ที่ดิน” หมายถึง พื้นที่หนึ่งๆ ที่อยู่บนพื้นผิวของโลก ประกอบด้วยลักษณะที่ส าคัญ คือ
                  สภาพแวดล้อมทั้งทางกายภาพและชีวภาพซึ่งมีอิทธิพลต่อการใช้ประโยชน์ที่ดิน ดังนั้นที่ดินจึงไม่ได้
                  หมายถึงดินเพียงอย่างเดียวแต่จะหมายรวมถึงลักษณะภูมิสัณฐาน (landforms) ภูมิอากาศ (climate)
                  อุทกวิทยา (hydrology) พืชพรรณ (vegetation) และสัตว์ (fauna) ซึ่งการปรับปรุงที่ดิน (land
                  improvement) ได้แก่ การท าขั้นบันไดและการระบายน้ า เป็นต้น (FAO, 1993)
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19