Page 13 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
P. 13

1-3






                  1.4  กรอบแนวคิดในการด าเนินงาน

                      1.4.1 ชี้ประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่จังหวัด
                  ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเป็นผลจากการพัฒนาที่จะก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมของทรัพยากรในพื้นที่จังหวัด

                  ประจวบคีรีขันธ์
                      1.4.2 ก าหนดหลักเกณฑ์ แนวทาง และวิธีที่จะน าไปสู่การแก้ไข โดยอาศัยระบบการวิเคราะห์เชิง
                  พรรณนา และการวิเคราะห์พื้นที่
                      1.4.3 และรวบรวมข้อมูลด้านทรัพยากรต่างๆ คือ ดิน ภูมิอากาศ ภูมิประเทศ น้ า ป่าไม้ พืชพรรณ
                  ทั้งด้านสภาพการใช้ประโยชน์ที่ดิน ด้านเศรษฐกิจและสังคม ทั้งในภาพรวมและเฉพาะด้าน ตลอดจน

                  นโยบายของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีทั้งข้อมูลทุติยภูมิ
                  จากหน่วยงาน เอกสาร ผลงานวิจัยต่างๆ และข้อมูลปฐมภูมิซึ่งได้จากการเก็บรวบรวมวัตถุประสงค์ที่
                  ต้องการ

                      1.4.4  การน าเข้าข้อมูล น าเข้าข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial data) เช่น แผนที่ดิน แผนที่สภาพการใช้ที่ดิน
                  แผนที่การพัฒนาแหล่งน้ าผิวดิน แผนที่ขอบเขตป่าไม้ตามกฎหมายและมติคณะรัฐมนตรี ท าการเก็บข้อมูล
                  ในรูป Digital  data  โดยใช้โปรแกรมระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และข้อมูลเชิงบรรยาย (Non  spatialdata)
                  เช่น ข้อมูลด้านเศรษฐกิจและสังคม และข้อมูลตัวเลขอื่นๆ โดยใช้โปรแกรมส าเร็จรูป

                      1.4.5 การวิเคราะห์
                          1) การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป เป็นการวิเคราะห์ในด้านข้อเท็จจริง ปัญหาและการแก้ไข
                  และสถานการณ์ในปัจจุบันของข้อมูลแต่ละด้านที่กล่าวมาแล้ว เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นที่จะน ามาใช้
                  ประกอบการพิจารณา ก าหนดทิศทางการพัฒนาด้านการเกษตรได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมในอนาคต

                          2) การวิเคราะห์ข้อมูลเฉพาะด้านต่างๆ คือ
                            (1) การวิเคราะห์เพื่อจัดท าหน่วยที่ดินโดยใช้โปรแกรมระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
                  ในการซ้อนทับข้อมูลแผนที่ต่างๆ และตารางคุณภาพที่ดินของหน่วยที่ดิน
                            (2) การประเมินอัตราการชะล้างพังทลายของดิน ใช้สมการการสูญเสียดินสากล

                  (RUSLE) ที่ปรับปรุงแก้ไขจากสมการการสูญเสียดินสากล (กรมพัฒนาที่ดิน, 2545) ในการค านวณ
                            (3) การวิเคราะห์ข้อมูลภูมิอากาศเพื่อหาปริมาณการระเหยและการคายน้ าอ้างอิง
                  ปริมาณน้ าฝนที่เป็นประโยชน์และช่วงระยะเวลาปลูกพืช

                            (4) การประเมินคุณภาพที่ดินด้านกายภาพ ใช้คู่มือการประเมินคุณภาพที่ดิน ส าหรับ
                  พืชเศรษฐกิจ (บัณฑิตและค ารณ, 2542) เป็นการประเมินคุณภาพที่ดินโดยท าการเปรียบเทียบความ
                  ต้องการประเภทการใช้ที่ดิน (Landuse  Requirements)  กับคุณภาพที่ดินของหน่วยที่ดิน (Land
                  qualities) และจ าแนกชั้นความเหมาะสมของที่ดินออกเป็น 4 ชั้น ดังนี้
                                S1  :  ชั้นที่มีความเหมาะสมสูง (Highly suitable)

                                S2  :   ชั้นที่มีความเหมาะสมปานกลาง (Moderately suitable)
                                S3  :  ชั้นที่มีความเหมาะสมเล็กน้อย (Marginally suitable)
                                N   :  ชั้นที่ไม่มีความเหมาะสม (Not suitable)
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18