Page 124 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
P. 124

5-12





                  จัดการ และมาตรการในการอนุรักษ์ดินและน้ าที่เข้มข้น จริงจังและต่อเนื่องโดยไม่ควรปลูกพืชไร่หรือพืช

                  ที่ต้องมีการไถพรวนดินเพื่อเตรียมพื้นที่ในทุกรอบการปลูก เนื่องจากพื้นที่บริเวณนี้มีความลาดชันสูง
                  เสี่ยงต่อการถูกชะล้างพังทลาย และสูญเสียหน้าดินได้ง่าย ดังนั้นจึงควรแนะน าให้ใช้พื้นที่ในการปลูกไม้ผล
                  หรือไม้ยืนต้น เท่านั้น

                                            - ปรับปรุงแก้ไขสภาพดินปัญหาพร้อมทั้งจัดท าระบบอนุรักษ์ดินและน้ าตามหลัก
                  วิชาการ เพิ่มศักยภาพการผลิตด้วยการพัฒนาแหล่งน้ า เช่น สร้างบ่อน้ าในไร่นา หรืออาจท าเกษตรแบบ
                  ผสมผสานตามแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่ ส าหรับบริเวณพื้นที่ความลาดชันสูงควรสนับสนุนการปลูกสวนป่า
                  และไม้โตเร็วควบคู่กับการอนุรักษ์ดินและน้ า เพื่อเป็นการเก็บกักน้ าและความอุดมสมบูรณ์ของดิน
                                            - ส่งเสริมให้มีการใช้ปุ๋ยและสารปราบศัตรูพืชที่เป็นชีวภาพทดแทนการใช้

                  สารเคมี เนื่องจากสารเคมีจะตกค้างในดินและแหล่งน้ า และจะส่งผลต่อระบบนิเวศของพื้นที่ปลายน้ า

                                (4)   เขตพื้นที่พืชบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ เขตนี้มีเนื้อที่ 323,476 ไร่ หรือร้อยละ 8.13 ของ
                  เนื้อที่จังหวัด โดยเขตนี้มีพื้นที่ซ้อนทับกับพื้นที่ราชพัสดุประมาณ 1,034 ไร่ พืชที่ได้รับการขึ้นทะเบียน
                  สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา เป็นสินค้าที่มีชื่อเสียงและได้รับความนิยม เนื่องจากมี

                  คุณสมบัติพิเศษหรือมีลักษณะเฉพาะที่เกิดจากอิทธิพลสิ่งแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ เช่น สภาพแวดล้อม
                  ดิน ฟ้า อากาศ ของแหล่งภูมิศาสตร์นั้นๆ ตลอดจนทักษะความช านาญและภูมิปัญญาของกลุ่มชนที่
                  อาศัยอยู่ในแหล่งภูมิศาสตร์นั้นๆ พืชบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ประกอบด้วย
                  ทุเรียนป่าละอู และมะพร้าวทับสะแก

                                      4.1) ทุเรียนป่าละอู  (สัญลักษณ์แผนที่ 241)  มีเนื้อที่ 237 ไร่ หรือร้อยละ 0.01 ของ
                  เนื้อที่จังหวัด โดยขอบเขตการปลูกทุเรียนป่าละอู ตามการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ครอบคลุม
                  พื้นที่ในเขตต าบลห้วยสัตว์ใหญ่ อ าเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
                                      4.2) มะพร้าวทับสะแก (สัญลักษณ์แผนที่ 242) มีเนื้อที่ 323,239 ไร่ หรือร้อยละ

                  8.12 ของเนื้อที่จังหวัด  โดยขอบเขตการปลูกมะพร้าวทับสะแก ตามการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์
                  ครอบคลุมพื้นที่ในเขตอ าเภอทับสะแก อ าเภอบางสะพาน อ าเภอบางสะพานน้อย และอ าเภอเมือง
                  ประจวบคีรีขันธ์ เฉพาะต าบลเกาะหลัก ต าบลคลองวาฬ และต าบลห้วยทราย

                                (5)   เขตพัฒนาปศุสัตว์ (สัญลักษณ์แผนที่ 25)
                                      มีเนื้อที่ 5,342 ไร่ หรือร้อยละ 0.13 ของเนื้อที่จังหวัด โดยเขตนี้มีพื้นที่ซ้อนทับกับ

                  พื้นที่ราชพัสดุประมาณ 147 ไร่ ปัจจุบันมีสภาพพื้นที่เป็นโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ และทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์
                                      รูปแบบการพัฒนาและแนวทางการจัดการ
                                      - จัดหาแหล่งน้ าหรือขุดสระน้ าในไร่นาเพื่อให้สัตว์มีน้ ากินและปลูกไม้ยืนต้นไว้เป็น

                  ร่มเงาจัดท าโครงการส่งเสริมด้านปศุสัตว์โดยกรมปศุสัตว์ให้ข้อเสนอแนะวิธีการเลี้ยงสัตว์การปลูก และขยายพันธุ์
                  หญ้าพันธุ์ดีการให้อาหารเสริมการผสมพันธุ์และการควบคุมโรค เป็นต้น
                                      - ควบคุมมลภาวะด้านกลิ่น เสียง และน้ าเสียไม่ให้รบกวนและส่งผลกระทบต่อชุมชน
                  และพื้นที่ใกล้เคียงควบคุมและป้องกันโรคระบาดอย่างใกล้ชิดและเข้มงวด ปฏิบัติตามค าแนะน าของทาง
                  ราชการอย่างเคร่งครัด
   119   120   121   122   123   124   125   126   127   128   129