Page 121 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
P. 121

5-9





                  เนื้อที่มากที่สุดของจังหวัด และเป็นพื้นที่ส าคัญในการผลิตพืชเศรษฐกิจ พื้นที่เขตนี้สามารถแบ่งเป็น

                  3 เขตย่อย ตามศักยภาพและความเหมาะสมของการใช้ประโยชน์ที่ดินดังนี้
                                  2.1) เขตท้านา (สัญลักษณ์แผนที่ 221) มีเนื้อที่ 25,717 ไร่ หรือร้อยละ 0.65

                  ของเนื้อที่จังหวัด โดยเขตนี้มีพื้นที่ซ้อนทับกับพื้นที่ราชพัสดุประมาณ 148 ไร่ สภาพพื้นที่ราบเรียบหรือ
                  ค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย เนื้อดินเป็นดินร่วนปนดินเหนียวถึงดินร่วนปนทราย ที่ดิน
                  มีความเหมาะสมปานกลางถึงสูงในการท านาโดยอาศัยน้ าฝน
                                        รูปแบบการพัฒนาและแนวทางการจัดการ ในการใช้พื้นที่เพื่อการท านาควรมี

                  การเพิ่มศักยภาพการผลิตด้วยการพัฒนาแหล่งน้ า เช่น บ่อน้ าในไร่นา เพื่อเก็บกักน้ าส าหรับปลูกพืช
                  ลดความเสียหายกรณีฝนทิ้งช่วง และเพิ่มศักยภาพการผลิตด้วยการใช้พันธุ์ดีจากแหล่งผลิตที่เชื่อถือได้
                  ประกอบกับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยชีวภาพควบคู่กับการใช้ปุ๋ยเคมีในอัตราที่เหมาะสม หรืออาจท า
                  เกษตรแบบเกษตรผสมผสานตามแนวทางทฤษฎีใหม่ โดยการขุดบ่อน้ าเลี้ยงปลา ยกร่องปลูกผัก ไม้ผล

                  ไม้ยืนต้น และนาข้าวร่วมกัน
                                  2.2) เขตพื้นที่พืชเศรษฐกิจเพื่อการอุตสาหกรรม (สัญลักษณ์แผนที่ 222) เขตนี้เป็น

                  เขตที่มีการปลูกพืชในลักษณะโควต้า เพื่อรองรับภาคธุรกิจและรักษาระดับราคาผลผลิตทางการเกษตร
                  โพดเฉพาะพืชที่ต้องพึ่งพาการแปรรูป มีเนื้อที่ 309,809 ไร่ หรือร้อยละ 7.79 ของเนื้อที่จังหวัด โดย
                  เขตนี้มีพื้นที่ซ้อนทับกับพื้นที่ราชพัสดุประมาณ 56,947 ไร่ พื้นที่ในเขตนี้ส่วนใหญ่มีสภาพพื้นที่ค่อนข้าง
                  ราบเรียบถึงเป็นลูกคลื่นลอนลาด เป็นพื้นที่ดอนมีความเหมาะสมของดินในการปลูกพืชไร่ ปัจจุบันมีการ

                  ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการปลูกอ้อยโรงงาน  สับปะรดโรงงาน  และว่านหางจระเข้ โดยจ าแนกเขตย่อย
                  ได้ดังนี้
                                        - เขตปลูกอ้อยโรงงาน มีเนื้อที่ 36,101 ไร่ หรือร้อยละ 0.91 ของเนื้อที่
                  จังหวัด

                                        - เขตปลูกสับปะรดโรงงาน มีเนื้อที่ 270,203 ไร่ หรือร้อยละ 6.79 ของเนื้อที่
                  จังหวัด
                                        - เขตปลูกว่านหางจระเข้โรงงาน มีเนื้อที่ 3,505 ไร่ หรือร้อยละ 0.09 ของเนื้อที่

                  จังหวัด
                                        รูปแบบการพัฒนาและแนวทางการจัดการ
                                    - ยึดรูปแบบและแนวทางการพัฒนาในเขตท านา
                                    - ศึกษา วิจัยระบบการท าฟาร์ม (Farming system research) ระบบการปลูกพืช
                  หรือระบบเกษตรแบบผสมผสาน โดยน าเทคโนโลยีที่ได้ผลดีในสถานีทดลอง ไปทดสอบหาความเหมาะสม

                  ในไร่นาของเกษตรกรตามสภาพท้องถิ่น เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ที่ดินจากการปลูกพืชชนิดเดียว
                  เป็นการปลูกพืชหลายชนิดในพื้นที่เดียวกัน
                                  2.3) เขตพื้นที่พืชเศรษฐกิจเพื่อการแข่งขัน (สัญลักษณ์แผนที่ 223) เป็นเขตพืช
                  เศรษฐกิจเชิงเดี่ยวที่ปลูกในพื้นที่มีความเหมาะสม เน้นการผลิตเพื่อการส่งออกและแข่งขันกับต่างประเทศ

                  มีเนื้อที่ 244,730 ไร่ หรือร้อยละ 6.14  ของเนื้อที่จังหวัด โดยเขตนี้มีพื้นที่ซ้อนทับกับพื้นที่ราชพัสดุ
                  ประมาณ 36,961 ไร่ พื้นที่ในเขตนี้ส่วนใหญ่มีสภาพพื้นที่ราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาด ดินลึกปานกลาง
                  ถึงลึก โดยจ าแนกเขตย่อยได้ดังนี้
   116   117   118   119   120   121   122   123   124   125   126