Page 119 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
P. 119

5-7





                  หรือเป็นเจ้าของที่ดินแทนคนต่างด้าวด้วยประการใดๆ ซึ่งอาจเกิดผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารของ

                  ประเทศ และความเป็นอยู่ของเกษตรกร จึงจ าเป็นต้องรักษา ป้องกันและคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม
                  สนับสนุนการผลิตทางการเกษตรที่สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ เช่น ศักยภาพของที่ดิน แหล่งรองรับ
                  ผลผลิต ระบบชลประทาน ระบบโลจิสติกส์ โดยแบ่งพื้นที่เกษตรกรรมที่จ าเป็นต้องคุ้มครอง โดยยึด

                  ความเหมาะสมของที่ดินเป็นหลัก เพื่อให้มีผลตอบแทนที่คุ้มค่าต่อการลงทุน เขตคุ้มครองพื้นที่
                  เกษตรกรรม มีเนื้อที่รวม 1,565,268 ไร่ หรือร้อยละ 39.33 ของเนื้อที่จังหวัด โดยสามารถแบ่งออกเป็น
                  6 เขตย่อย คือ

                                (1)   เขตพื้นที่เกษตรกรรมชั้นดี
                                      เขตพื้นที่เกษตรกรรมชั้นดี มีเนื้อที่ 245,910 ไร่ หรือร้อยละ 6.19 ของเนื้อที่จังหวัด

                  เขตนี้เป็นพื้นที่ท าการเกษตรที่มีระบบชลประทาน ดินมีศักยภาพในการผลิตปานกลางถึงสูงแต่อาจมี
                  ข้อจ ากัดของการใช้ประโยชน์ที่ดินบางประการที่สามารถแก้ไขได้ง่าย บางพื้นที่มีแหล่งน้ าเพียงพออาจมี
                  การใช้พื้นที่เพื่อการปลูกพืชผัก ไม้ดอกไม้ประดับ หรือพืชอายุสั้นหลังฤดูท านาได้ พื้นที่เขตนี้เป็นพื้นที่
                  ส าคัญในการผลิตพืชเศรษฐกิจ พื้นที่เขตนี้สามารถแบ่งเป็น 4 เขตย่อย ตามศักยภาพและความเหมาะสม

                  ของการใช้ประโยชน์ที่ดินดังนี้
                                      1.1) เขตท้านา (สัญลักษณ์แผนที่ 211) มีเนื้อที่ 46,537 ไร่ หรือร้อยละ 1.17

                  ของเนื้อที่จังหวัด โดยเขตนี้มีพื้นที่ซ้อนทับกับพื้นที่ราชพัสดุประมาณ 575 ไร่ สภาพพื้นที่ราบเรียบ
                  ถึงค่อนขางราบเรียบ ที่ดินมีความเหมาะสมปานกลางถึงสูงในการท านาโดยอาศัยน้ าจากระบบ
                  ชลประทาน
                                            รูปแบบการพัฒนาและแนวทางการจัดการ ในการใช้พื้นที่เพื่อการท านาควรมี
                  การเพิ่มศักยภาพการผลิตด้วยการพัฒนาระบบส่งน้ า และแหล่งกักเก็บน้ าขนาดเล็กในไร่นา เพื่อลด

                  ความเสียหายกรณีฝนทิ้งช่วง และเพิ่มศักยภาพการผลิตด้วยการใช้พันธุ์ดีจากแหล่งผลิตที่เชื่อถือได้
                  ประกอบกับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยชีวภาพควบคู่กับการใช้ปุ๋ยเคมีในอัตราที่เหมาะสม หรืออาจท า
                  เกษตรแบบเกษตรผสมผสานตามแนวทางทฤษฎีใหม่ โดยการขุดบ่อน้ าเลี้ยงปลา ยกร่องปลูกผัก ไม้ผล

                  ไม้ยืนต้น และนาข้าวร่วมกัน
                                      1.2) เขตปลูกพืชไร่ (สัญลักษณ์แผนที่ 212) มีเนื้อที่ 74,235 ไร่ หรือร้อยละ 1.87
                  ของเนื้อที่จังหวัด โดยเขตนี้มีพื้นที่ซ้อนทับกับพื้นที่ราชพัสดุประมาณ 4,307 ไร่ สภาพพื้นที่ราบเรียบ

                  ถึงค่อนข้างราบเรียบเป็นพื้นที่ดอนมีความเหมาะสมของดินในการปลูกพืชได้หลายชนิด ทั้งไม้ผล และ
                  ไม้ยืนต้น แต่เมื่อพิจารณาในด้านการจัดการจึงก าหนดให้เขตนี้เป็นเขตส าหรับการปลูกพืชไร่
                  โดยเฉพาะสับปะรด และอ้อยโรงงาน ซึ่งถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่ส าคัญ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมอาหาร

                  และพลังงานแต่ส่วนมากจะประสบปัญหาเรื่องปริมาณผลผลิตที่ไม่สัมพันธ์กับความต้องการของตลาดอัน
                  ส่งผลถึงราคาของผลผลิต การตัดสินใจผลิตพืชของเกษตรกรส่วนใหญ่จึงขึ้นอยู่กับราคาตลาด ณ เวลาก่อน
                  ท าการผลิต ดังนั้นจึงไม่สามารถระบุพื้นที่ปลูกพืชแต่ละชนิดได้ชัดเจน และไม่สามารถควบคุมพื้นที่ปลูก เพื่อ
                  ลดปัญหาผลผลิตล้นตลาด และราคาตกต่ าได้ถึงแม้รัฐบาลจะมีนโยบายและยุทธศาสตร์ต่างๆ เช่น
                  ยุทธศาสตร์การปลูกพืชทดแทนพลังงาน การลงทะเบียนเกษตรกรและการประกันราคาผลผลิตแล้วก็ตาม
   114   115   116   117   118   119   120   121   122   123   124