Page 127 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
P. 127

5-15





                        2) เขตพื้นที่เกษตรกรรม เนื้อที่ 1,565,268 ไร่ หรือร้อยละ 39.33 ของเนื้อที่จังหวัด

                        3) เขตชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง เนื้อที่ 216,399 ไร่ หรือร้อยละ 5.44 ของเนื้อที่จังหวัด
                        4) เขตอุตสาหกรรม เนื้อที่ 29,215 ไร่ หรือร้อยละ 0.73 ของเนื้อที่จังหวัด
                        5) พื้นที่แหล่งน้้า เนื้อที่ 59,800 ไร่ หรือร้อยละ 1.50 ของเนื้อที่จังหวัด

                        6) เขตคงสภาพป่านอกเขตป่าตามกฎหมาย พื้นที่ป่าไม้ตากฎหมายและป่าไม้ตามมติคณะรัฐมนตรี
                  เนื้อที่ 300,250 ไร่ หรือร้อยละ 7.55 ของเนื้อที่จังหวัด


                        ข้อเสนอแนะ
                        1) ข้อเสนอแนะในเขตพื้นที่ป่าไม้และสิ่งแวดล้อม
                                (1) เร่งรัดให้ด าเนินการแก้ไขปัญหาที่ดินป่าไม้ในเขตพื้นที่ป่าตามกฎหมาย เช่น พื้นที่มี
                  สภาพเป็นป่ารอสภาพฟื้นฟู (ป่าเสื่อมโทรม) ในเขตป่าเศรษฐกิจ ซึ่งกรมป่าไม้ได้มอบพื้นที่ดังกล่าวให้
                  ส านักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) เพื่อเร่งรัดด าเนินการตามแนวทางที่ก าหนดไว้ตาม

                  เงื่อนไขในการใช้ที่ดิน ในบริเวณดังกล่าว
                                (2) ในระยะยาวผลักดันให้การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมมีผลในทางปฏิบัติอย่างจริงจังเพราะ
                  การจัดหาที่ดินท ากินให้แก่เกษตรกรด้วยการปฏิรูปที่ดินถือว่าเป็นแนวทางส าคัญที่จะแก้ปัญหา
                  เกษตรกรรมของไทยอย่างยั่งยืน

                                (3) ควรศึกษาการชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่ปลูกไม้ผลและไม้ยืนต้น บริเวณที่มีความ
                  ลาดชันสูงเพื่อจัดท าระบบอนุรักษ์ดินและน้ าที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่และใช้เป็นฐานข้อมูลด้านการ
                  จัดการทรัพยากรธรรมชาติโดยเฉพาะในเขตพื้นที่เสี่ยงต่อการสูญเสียดิน
                                (4) ส่งเสริมสนับสนุนบทบาทองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นและประชาชนให้มีส่วนร่วม
                  ในการจัดการป่าไม้ในรูปของป่าชุมชน

                                (5) เร่งด าเนินการปลูกป่าทดแทนเพื่อฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ าล าธาร
                                (6) ด าเนินการตามมาตรการรักษาพื้นที่ป่าให้ชัดเจนและสอดคล้องกับสภาพพื้นที่ อีกทั้งยัง
                  สามารถใช้เป็นแนวกันชนเพื่อการรักษาพื้นที่ป่าเพื่อการอนุรักษ์
                                (7) มาตรการหรือแนวทางการจัดการทรัพยากรของหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ควรก าหนดให้

                  มีความสอดคล้องกับนโยบายและแนวทางด าเนินการของคณะกรรมการลุ่มน้ าและคณะกรรมการ
                  ทรัพยากรน้ าแห่งชาติ (กนช.) เพื่อให้เกิดการบริหารการจัดการทรัพยากรน้ าแบบบูรณาการ
                                (8) พัฒนาองค์ความรู้ในการบริหารการจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
                  โดยการส่งเสริมการวิจัย การพัฒนาชุมชน และนักวิชาการในท้องถิ่น


                        2) ข้อเสนอแนะในเขตพื้นที่เกษตรกรรม
                            การด าเนินการจัดการหรือพัฒนาพื้นที่มีความจ าเป็นต้องจัดการแบบผสมผสาน และต้องเข้าใจ
                  ถึงความสัมพันธ์ของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ ทั้งการจัดการทรัพยากรดิน น้ า และป่าไม้
                  ต้องประสานสอดคล้องกับสภาพพื้นที่ตั้งแต่พื้นที่ที่เป็นต้นน้ าเนินเขาจนถึงที่ราบ และการใช้ที่ดิน
                  ประเภทต่างๆ ให้รองรับและสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ดังนั้นจึงมีความจ าเป็นต้องมีมาตรการต่างๆ รองรับ

                  เพื่อให้สามารถขับเคลื่อนการพัฒนาไปสู่การปฏิบัติดังนี้
   122   123   124   125   126   127   128   129   130   131   132