Page 94 - rubber
P. 94

3-26





                        อุปสรรค

                        1) การพัฒนายางพาราทั งระบบยังมีอุปสรรค เนื่องจากยางพารามีผู้เกี่ยวข้องหลายภาคส่วน

                  ทั งภาคเกษตรกรรมและภาคแรงงาน ท้าให้การเชื่อมโยงการพัฒนาทั งระบบไม่คล่องตัว
                        2) ความผันผวนของราคายางธรรมชาติในตลาดโลกมีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมยางทั งระบบ
                  หากยางธรรมชาติมีราคาสูงมาก ประเทศอุตสาหกรรมต่าง ๆ จะแสวงหาวัตถุดิบทดแทน

                  ในขณะเดียวกันเกษตรกรก็จะหันมาผลิตยางมากขึ น ท้าให้ราคาลดลง เกิดเป็นวงจรความผันผวนของ

                  ราคายางที่ท้าทายความสามารถในการจัดการของรัฐบาล
                        3) เงินบาทที่แข็งค่าขึ นส่งผลกระทบต่อศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลกของสินค้าไทยและ


                  รายได้ของผู้ส่งออก
                        4) แนวโน้มผลผลิตยางพาราของโลกได้เพิ่มขึ น โดยเฉพาะจากผู้ผลิตกลุ่มประเทศ CLMV
                  (กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม) ซึ่งมีการพัฒนาทางการผลิตที่ดีขึ นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ

                  ประเทศเวียดนามซึ่งมีตลาดส่งออกหลักเหมือนกับประเทศไทย คือ มีการส่งออกไปประเทศจีนเป็นหลัก

                  ท้าให้เกิดการแข่งขันทางการค้ามากขึ น และอาจส่งผลกระทบต่อราคายางพาราของไทยในอนาคตได้
                        5) ผู้ผลิตยางรถยนต์พยายามคิดค้นเทคโนโลยีการพัฒนายางสังเคราะห์ให้มีคุณสมบัติทดแทน

                  ยางธรรมชาติได้มากขึ น เนื่องจากราคายางธรรมชาติมีความผันผวนสูงกว่าราคายางสังเคราะห์มาก

                  ประกอบกับอุปทานยางสังเคราะห์สามารถตอบสนองอุปสงค์ได้รวดเร็วกว่ายางธรรมชาติ
                        6) สินค้ายางแปรรูปของไทยพึ่งพาตลาดส่งออกเป็นหลัก ขณะเดียวกันยังมีตลาดกระจุกตัวอยู่ใน

                  ประเทศจีน ท้าให้มีความเสี่ยงสูงหากจีนหันไปน้าเข้าสินค้าจากประเทศอื่นแทน
                        7) ราคายางธรรมชาติปรับตัวสูงขึ นอย่างต่อเนื่อง ท้าให้ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ยางบางประเภท เช่น ถุงมือยาง

                  หันไปใช้ยางสังเคราะห์ทดแทนมากขึ น
                        8) ราคายางพาราถูกก้าหนดมาจากภายนอก (ซึ่งไม่สามารถควบคุมได้)

                        9) ประเทศผู้น้าเข้ามีการก้าหนดมาตรการกีดกันทางการค้าในรูปของมาตรฐานสิ่งแวดล้อม เช่น

                  มาตรฐาน FSC, PEFC, CoC เป็นต้น
                        10) การจัดระเบียบแรงงานต่างด้าวท้าให้ปัญหาขาดแคลนแรงงานทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ น

                        11) ประเทศในอนุภูมิภาค GMS ขยายพื นที่ปลูกยางพาราอย่างต่อเนื่อง

                        12) เกิดปัญหาด้านภัยธรรมชาติ และโรคระบาดที่เกิดขึ นกับต้นยางพารา

















                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยางพารา                             กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   89   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99