Page 14 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจข้าวนาปรัง
P. 14
1-4
1.2.4 เพื่อให้แผนก าหนดเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจข้าวนาปรัง เป็นกรอบแนวทางการขับเคลื่อน
ยุทธศาสตร์ข้าว ให้ได้ผลผลิตและคุณภาพข้าวที่ตอบสนองต่อความต้องการข้าวทุกระดับ ทั้งภายในประเทศ
และตลาดโลกอย่างสอดคล้องเหมาะสมและยั่งยืน
1.3 ขอบเขตกำรด ำเนินงำน
1.3.1 กรอบการด าเนินงานศึกษาเพื่อก าหนดเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจข้าวนาปรัง ดังนี้
1) กรอบเวลาด าเนินงาน ประจ าปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (ตุลาคม 2563-กันยายน 2564)
2) ขอบเขตพื้นที่เกษตรกรรมทั่วประเทศ 3,120,725 ไร่
3) ครอบคลุมพืชเศรษฐกิจข้าวนาปรัง ทั้งเพื่อการบริโภคภายในประเทศและการส่งออก
1.3.2 ขอบเขตการศึกษา ดังนี้
1) ศึกษา ทบทวน นโยบาย กฎหมาย มาตรการ และกรอบการด าเนินงานที่เกี่ยวข้องด้าน
การใช้ที่ดินและทรัพยากรดิน เพื่อเป็นแนวทางการก าหนดเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจข้าวนาปรัง
2) ศึกษา ทบทวนข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับข้าวในมิติต่าง ๆ ทั้งปัจจัยภายในของข้าว
ด้านการปลูก พันธุ์ข้าวไทย และปัจจัยภายนอกที่มีอิทธิพลต่อการผลิตข้าว สถานการณ์ด้านสังคม
เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ทั้งภายในและระหว่างประเทศ
3) ศึกษา วิเคราะห์สภาพการใช้ที่ดิน ประเมินความเหมาะสมที่ดินส าหรับการปลูกข้าว
และพืชเศรษฐกิจทางเลือกอื่น ประกอบการก าหนดแนวทางส่งเสริมพืชเศรษฐกิจทางเลือกที่เหมาะสม
กับศักยภาพและสมรรถนะของดินและที่ดิน
4) การประมวลผลการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อก าหนดหลักเกณฑ์เป็นแนวทางการจัดท าเขต
การใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจข้าวนาปรัง โดยระบบการวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และอุปสรรค
(SWOT Analysis) และหลักการวางแผนตามระบบองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ
(Food and Agriculture Organisation of the United Nations: FAO)
1.4 ขั้นตอนและวิธีกำรศึกษำ
1.4.1 ศึกษาทบทวนข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการ บทวิเคราะห์สิ่งตีพิมพ์จากทุกภาคส่วน
รายงานประจ าปี รายงานการประชุม ทั้งจากภาครัฐและเอกชน จากส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วน
ท้องถิ่น ตลอดจนรายงานผลการศึกษาวิจัยจากสถาบันการศึกษา ทั้งจากแหล่งข้อมูลในประเทศและ
ต่างประเทศ ดังนี้
1) กฎหมาย ค าสั่ง พระราชบัญญัติ ระเบียบปฏิบัติ นโยบาย มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
กรอบแผนการด าเนินงาน มาตรการ และแนวทาง ทั้งที่เป็นกรอบนโยบายในประเทศและต่างประเทศ
ซึ่งเป็นพันธกรณีที่ประเทศไทยให้การรับรองและเป็นภาคีร่วมขับเคลื่อนด าเนินงาน เพื่อประเมินทิศทาง
ประกอบการวางแผนและก าหนดแนวทางการศึกษาและด าเนินการ
2) การศึกษาข้อมูลจากรายงานผลการศึกษาที่จัดท าโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ข้อมูล
เชิงสถิติและข้อมูลเชิงวิเคราะห์ ทั้งที่เป็นข้อมูลทุติยภูมิเชิงประจักษ์และข้อมูลจากการคาดการณ์และ
พยากรณ์ด้วยหลักวิชาการ ด้านสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม เพื่อครอบคลุมทุกมิติของการพัฒนาที่ยั่งยืน