Page 19 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจข้าวนาปรัง
P. 19
2-3
และเกาะเต่า เป็นต้น ส่วนทะเลฝั่งตะวันตก มีเกาะตะรุเตา เกาะลันตา และเกาะลิบง เป็นต้น รวมถึง เกาะ
ภูเก็ตซึ่งนับว่าเป็นเกาะที่มีความส าคัญทางเศรษฐกิจและใหญ่ที่สุดของประเทศ
2.2 สภาพภูมิอากาศ
2.2.1 ลมมรสุม
ประเทศไทยตั้งอยู่ในคาบสมุทรอินเดีย ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุม 2 ชนิด คือ ลมมรสุม
ตะวันตกเฉียงใต้ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทย
ระหว่างกลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม มรสุมนี้จะน ามวลอากาศชื้นจากมหาสมุทรอินเดียมาสู่
ประเทศไทย ท าให้มีเมฆมากและฝนตกชุกทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามบริเวณชายฝั่งทะเลและ
เทือกเขาด้านรับลมจะมีฝนตกมากกว่าบริเวณอื่น
ส่วนลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ จะพัดปกคลุมประเทศไทยจนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์
ลมมรสุมนี้มีแหล่งก าเนิดจากบริเวณหย่อมความกดอากาศสูง บนซีกโลกเหนือแถบประเทศมองโกเลีย
และสาธารณรัฐประชาชนจีน จึงพัดพาเอามวลอากาศเย็นและแห้งจากแหล่งก าเนิดเข้ามาปกคลุม
ประเทศไทย ท าให้ท้องฟ้าโปร่ง อากาศหนาวเย็น และแห้งแล้งทั่วไป โดยเฉพาะภาคเหนือ และภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคใต้จะมีฝนตกชุก โดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันออก เนื่องจากมรสุมนี้น า
ความชุ่มชื้นจากอ่าวไทยเข้ามาปกคลุม การเริ่มต้นและสิ้นสุดมรสุมทั้งสองชนิดอาจผันแปรไปจากปกติได้
ในแต่ละปี
2.2.2 ฤดูกาล
ประเทศไทยแบ่งฤดูกาลออกได้เป็น 3 ฤดู ดังนี้
1) ฤดูร้อน เริ่มต้นประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ไปจนถึงกลางเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็น
ช่วงเปลี่ยนจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือเป็นลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และเป็นระยะที่ขั้วโลกเหนือ
หันเข้าหาดวงอาทิตย์ โดยเฉพาะเดือนเมษายน บริเวณประเทศไทยมีดวงอาทิตย์อยู่เกือบตรงศีรษะ
ในเวลาเที่ยงวัน ท าให้ได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์เต็มที่ สภาวะอากาศจึงร้อนอบอ้าวโดยทั่วไป ในฤดูนี้
แม้ว่าจะมีอากาศร้อนและแห้งแล้ง แต่บางครั้งอาจมีมวลอากาศเย็นจากสาธารณรัฐประชาชนจีนแผ่ลงมา
ปกคลุมถึงประเทศไทยตอนบน ท าให้เกิดการปะทะกันของมวลอากาศเย็นกับมวลอากาศร้อนที่ปกคลุม
อยู่เหนือประเทศไทย ก่อให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรง หรืออาจมีลูกเห็บตกก่อให้เกิด
ความเสียหายได้ พายุฝนฟ้าคะนองที่เกิดขึ้นในฤดูนี้มักถูกเรียกว่า “พายุฤดูร้อน”
2) ฤดูฝน เริ่มต้นประมาณกลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม เมื่อลมมรสุม
ตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทย และร่องความกดอากาศต่ าพาดผ่านประเทศไทยท าให้มีฝน
ตกชุกทั่วไป ร่องความกดอากาศต่ านี้ปกติจะพาดผ่านภาคใต้ในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม แล้วจึงเลื่อนขึ้นไป
ทางเหนือตามล าดับ จนถึงช่วงประมาณปลายเดือนมิถุนายนจะพาดผ่านบริเวณสาธารณรัฐประชาชนจีน
ตอนใต้ ท าให้ฝนในประเทศไทยลดลงระยะหนึ่ง เรียกช่วงนี้ว่า “ฝนทิ้งช่วง” ซึ่งอาจนานประมาณ 1-2
สัปดาห์ หรือบางปีอาจเกิดขึ้นรุนแรงและมีฝนน้อยนานนับเดือน ในเดือนกรกฎาคมร่องความกดอากาศต่ า
เลื่อนกลับลงมาจากทางตอนใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีน พาดผ่านบริเวณประเทศไทยอีกครั้ง ท าให้มีฝน
ตกชุกต่อเนื่อง และปริมาณฝนเพิ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายเดือนกรกฎาคมเป็นต้นไป ยกเว้นภาคใต้ที่ยังคงมี
ฝนตกชุกต่อไปจนถึงเดือนธันวาคม และมักมีฝนตกหนักถึงหนักมากจนก่อให้เกิดอุทกภัย โดยเฉพาะ