Page 12 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจข้าวนาปรัง
P. 12
1-2
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 782,108 ตัน (สัดส่วนร้อยละ 10.91) ภาคกลาง 3,441,193 ตัน (สัดส่วนร้อยละ
3
47.99) และภาคใต้ 62,469 ตัน (สัดส่วนร้อยละ 0.87) สัดส่วนผลผลิตต่อไร่ คือ พื้นที่ปลูก 652 ไร่ ได้
ผลผลิต 6,567 กิโลกรัม
การค้าข้าวและศักยภาพการแข่งขัน คาดหมายว่าความต้องการข้าวเพื่อการบริโภค
ภายในประเทศ ในฤดูการผลิตปี พ.ศ. 2563/64 จะมีปริมาณเพิ่มขึ้นถึง 11.8 ล้านตัน โดยปริมาณข้าว
เพื่อการส่งออกจะมีเพิ่มขึ้น 9 ล้านตัน หลังจากที่มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วงฤดูการผลิต ปี พ.ศ.
2561/62 และ 2562/63 โดยราคาข้าวไทยอยูในภาวะของการแข่งขันสูง เนื่องจากราคาข้าวไทยกับ
ประเทศคู่แข่งขันที่ส าคัญคือเวียดนามและอินเดีย ไม่มีความแตกต่างกันมากนัก ทั้งยังมีแนวโน้มราคา
ลดลง ส่งผลให้ความสามารถการแข่งขันด้านราคาของข้าวไทยอยู่ในระดับใกล้เคียงประเทศเพื่อนบ้าน
4
ซึ่งสะท้อนว่าต้นทุนการผลิตข้าวไทยยังคงอยู่ในระดับสูง
ข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความต้องการน้ าเป็นองค์ประกอบส าคัญในการปลูก ภาวะการขาดแคลน
น้ าจึงถือเป็นภัยคุกคามต่อศักยภาพการผลิตข้าวไทย ดังนั้น เพื่อรองรับสถานการณ์ความผันผวนของ
ผลผลิตข้าว ได้ก าหนดมาตรการเตรียมการรองรับปัญหาภาวะน้ าแล้ง ส าหรับฤดูการผลิต ปี พ.ศ.
2563/64 ที่ส าคัญดังนี้ (1) ปริมาณน้ าต้นทุนส ารองที่เตรียมการเพื่อจัดสรรให้เพียงพอและสอดคล้องกับ
ปริมาณน้ าต้นทุนส าหรับการเกษตรตลอดฤดูแล้ง ทั้งพื้นที่ในเขตชลประทานและนอกเขตชลประทาน
รวมทั้ง ประเมินพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงขาดแคลนน้ าพื้นที่เกษตรกรรม (นาข้าว/ไม้ผล/ไม้ยืนต้น) ทั่วประเทศ
ทั้งในเขตและนอกเขตชลประทาน โดยคาดการณ์ปริมาตรน้ าส ารองใช้ทั่วประเทศ 19,868 ล้านลูกบาศก์
เมตร คิดเป็นร้อยละ 42 ของปริมาตรน้ าทั่วประเทศ และ (2) การก าหนดพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูก
5
ข้าว ปี พ.ศ. 2563/64 ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ 3,120,725 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ส าหรับปลูกข้าวหลัก
3 ประเภท ดังนี้ ข้าวหอมไทย 349,000 ไร่ ข้าวเจ้า 2,163,725 ไร่ และข้าวเหนียว 608,000 ไร่ แบ่งตาม
6
เขตชลประทาน ดังนี้ ในเขตชลประทาน 1,630,495 ไร่ และนอกเขตชลประทาน 1,490,230 ไร่
สถานการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมและคุณภาพน้ าของแม่น้ าสายหลักของประเทศ เป็นปัจจัยส่งเสริม
การปลูกข้าวนอกฤดูฝนที่ส าคัญ ซึ่งพบว่าในปี พ.ศ. 2563 คุณภาพน้ ามีแนวโน้มที่ดีขึ้น ในขณะที่คุณภาพ
อากาศและปัญหาหมอกควันจากการเผาพื้นที่เกษตรยังส่งกระทบในระดับวิกฤต การจัดการขยะ
มีมาตรฐานที่ดีท าให้ปริมาณขยะลดลง บ้านเมืองและชุมชน มีความสะอาด นอกจากนี้ ผลกระทบจาก
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศคาดว่าจะมีความรุนแรงมากขึ้น ทั้งในเชิงความผันผวน ความถี่ และ
ขอบเขตที่กว้างขวางมากขึ้นซึ่งจะสร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน ระบบโครงสร้างพื้นฐานที่
จ าเป็น ตลอดจนระบบผลิตทางการเกษตรที่สัมพันธ์ต่อเนื่องกับความมั่นคงด้านอาหารและน้ า ขณะที่
ระบบนิเวศต่าง ๆ มีแนวโน้มเสื่อมโทรมลง และมีความเป็นไปได้ค่อนข้างสูงในการสูญเสียความสามารถ
ในการรองรับความต้องการของมนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ดี ระดับความรุนแรงของ
ผลกระทบอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกและความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศต่าง ๆ
3 ส านักงานเศรษฐกิจการเกษตร 2563
4 USDA, Foreign Agricultural Service, 13 March 2020
5 ส านักนโยบายและยุทธศาสตร์ข้าว กรมการข้าว ข้อมูล ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2563
6 ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง การก าหนดพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว ปี พ.ศ. 2563/64 รอบที่ 2 ณ วันที่ 18
มกราคม 2564