Page 13 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจข้าวนาปรัง
P. 13

1-3






                  ดังกล่าวที่แต่ละประเทศจะต้องเผชิญจะมีความแตกต่างกัน ท าให้การเป็นสังคมสีเขียว การรักษาและ

                  บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างบูรณาการจึงได้รับความส าคัญ และความสนใจ
                  จากนานาประเทศรวมทั้งประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น ซึ่งประเทศไทยได้ด าเนินงานวิจัยโดยปรับเปลี่ยน
                  กระบวนการผลิตข้าวด้วยวิธีเปียกสลับแห้ง เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดการ

                  ใช้น้ า เพิ่มผลผลิตที่ได้คุณภาพมาตรฐาน รวมทั้ง ตอบสนองต่อข้อตกลงและพันธกรณีระหว่างประเทศ
                        นอกจากความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศและแรงจูงใจด้านราคา จะมีอิทธิพลต่อ
                  กระบวนการผลิตข้าวดังกล่าวข้างต้น ภาวะการแพร่ระบาดของไวรัสสายพันธุ์ใหม่ หรือโคโรน่าไวรัส
                  (Corona Virus) หรือโควิด-19 (COVID-19) ยังเป็นปัจจัยคุกคามผลผลิตและการส่งออกข้าวไทย อัน
                  เป็นผลจากการลดลงของปริมาณการบริโภคข้าวภายในประเทศ และจ านวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศ

                  จากมาตรการปิดประเทศ (Lock Down) อีกด้วย
                        การก าหนดเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจข้าวนาปรัง ฉบับนี้ เป็นผลจากการศึกษาวิเคราะห์ปัจจัยและ
                  องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการผลิตข้าวที่เชื่อมโยงกันอย่างรอบด้าน ในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Cain)

                  ตั้งแต่ขั้นต้นน้ า กลางน้ า และปลายน้ า โดยประมวลร่วมกับนโยบายและมาตรการด้านการข้าว ทั้งภายใน
                  และระหว่างประเทศ ดังนี้ แผนปฏิบัติราชการระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2563-2565) ที่มีความสอดคล้องเชื่อมโยง
                  กับยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ นโยบายรัฐบาล
                  แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) แผนปฏิรูปประเทศ ตลอดจน

                  แผนปฏิบัติราชการ ระยะ 3 ปี ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมและ
                                             7
                  พัฒนาการผลิตข้าวของประเทศ  รวมถึง กรมพัฒนาที่ดิน ซึ่งได้มีการศึกษาวิจัยอย่างต่อเนื่อง เกี่ยวกับ
                  ลักษณะและคุณภาพชั้นดินและความเหมาะสมของดินต่อการปลูกข้าว เป็นแนวทางการพัฒนาเพื่อ
                                             8
                  ปรับปรุงบ ารุงดินเพื่อใช้ปลูกข้าว  ตลอดจนทิศทางและแนวโน้มการพัฒนาเทคโนโลยีระบบการผลิตและ
                  การปลูกข้าวเพื่อลดต้นทุนและปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

                  1.2  วัตถุประสงค์

                        การจัดท าแผนการก าหนดเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจข้าวนาปรัง เป็นผลจากการศึกษาข้อมูล
                  ด้านการข้าวจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเชิงบูรณาการ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้
                        1.2.1 เพื่อศึกษาทบทวนข้อมูลสถานการณ์ ปัจจัย และองค์ประกอบส าคัญที่เกี่ยวข้องในการ
                  ก าหนดเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจข้าวนาปรัง ทั้งที่เป็นปัจจัยสนับสนุนและปัจจัยคุกคาม ต่อ

                  กระบวนการผลิตและการพัฒนาเพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพข้าวไทย
                        1.2.2 เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจระดับนโยบาย และเป็นกรอบแนวทางด าเนินงาน
                  ด าเนินงานระดับพื้นที่ ให้การใช้ที่ดินในเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจข้าวนาปรัง เป็นไปอย่างมีบูรณาการ

                  เพื่อบรรลุเป้าหมายโดยรวมของประเทศ
                        1.2.3 เพื่อใช้เป็นเอกสารอ้างอิงทางวิชาการส าหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสถาบันการศึกษา
                  สามารถใช้เป็นเครื่องมือ/แนวทางเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ การส่งเสริมกิจกรรมการปลูกและการผลิต
                  ข้าวไทยในระดับต้นน้ าของห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ทั้งในระดับประเทศและระดับพื้นที่



                  7  ส านักนโยบายและยุทธศาสตร์ข้าว ตุลาคม 2562
                  8  กองส ารวจและจ าแนกดิน พิมพ์ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2543
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18