Page 191 - rambutan
P. 191

4-1






                                                         บทที่ 4

                                                     เขตการใช้ที่ดิน




                        ปัญหาส าคัญของการท าการเกษตรในประเทศไทย มีหลายประเด็นด้วยกัน เช่น ขาดเสถียรภาพ

                  ด้านราคา สภาพแวดล้อมรวมถึงลักษณะทางกายภาพไม่เอื้ออ านวย เช่น ความแปรปรวนของภูมิอากาศ

                  ต้นทุนการผลิตสูง คุณภาพของผลผลิตไม่ได้มาตรฐานตรงกับความต้องการของตลาด อุปสงค์และ
                  อุปทานขาดความสมดุล และการด าเนินนโยบายภาครัฐขาดความชัดเจน เป็นต้น เปรียบเสมือนความ

                  สัมพันธ์ระหว่างต้นน ้า กลางน ้า และปลายน ้า ที่เชื่อมโยงกันอย่างต่อเนื่อง

                        เงาะจัดเป็นผลไม้เขตร้อนที่สามารถบริโภคสดและส่งเข้าโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อแปรรูป ที่ได้รับ

                  ความนิยมคือเงาะกระป๋ องในน ้าเชื่อม แต่ในปัจจุบันเกษตรกรผู้ปลูกเงาะประสบปัญหาด้านต้นทุนการ
                  ผลิตที่สูงขึ้น ขาดแคลนแรงงานโดยเฉพาะในช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิต ซึ่งการดูแลจัดการสวนและเก็บ

                  ผลผลิตเกือบทั้งหมดต้องใช้แรงงานคนเป็นหลัก

                        การก าหนดเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจเงาะเป็นแนวทางหนึ่งที่ใช้ในการบริหารจัดการพืช
                  เศรษฐกิจเงาะตลอดห่วงโซ่อุปทาน เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยในการพิจารณาตัดสินใจในการก าหนดพื้นที่

                  ปลูกเงาะในเขตที่เหมาะสมซึ่งสามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตได้ พร้อมกันนี้ยังรวมไปถึงกรณีที่

                  เกษตรกรปลูกเงาะในพื้นที่ไม่เหมาะสมควรมีมาตรการด าเนินการแก้ไขอย่างไร เป็นต้น

                  4.1  หลักเกณฑ์และการก าหนดเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจเงาะ

                      การก าหนดเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจเงาะ ได้จากการศึกษาลักษณะทางกายภาพ เศรษฐกิจ

                  และสังคม ร่วมกับยุทธศาสตร์และนโยบายที่เกี่ยวข้องโดยสามารถสร้างเงื่อนไขเพื่อวิเคราะห์จัดท าเขตการ

                  ใช้ที่ดินโดยมีหลักการดังต่อไปนี้

                      -  พื้นที่ก าหนดเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจเงาะต้องอยู่ในเขตเกษตรกรรมนอกเขตป่าไม้
                  ตามกฎหมายและมติคณะรัฐมนตรี

                      -  การเลือกพื้นที่ได้จากการพิจารณาพื้นที่ปลูกอยู่จริงในปัจจุบันทั้งปลูกในลักษณะของสวนเดี่ยว

                  และสวนผสม ไม่ระบุพันธุ์ (สภาพการใช้ที่ดินไม่สามารถแยกพันธุ์ได้) กับระดับความเหมาะสมของ
                  ที่ดินในระดับต่าง ๆ โดยพิจารณาเฉพาะในพื้นที่เกษตรกรรมเท่านั้น

                      -  ก าหนดเขตการใช้ที่ดินตามศักยภาพของทรัพยากรและความเหมาะสมของที่ดินตลอดจน

                  ลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคมของแต่ละพื้นที่ โดยสามารถก าหนดเขตการใช้ที่ดินได้เป็น 3 เขต คือ
                        เขตการใช้ที่ดินที่มีความเหมาะสมมาก                      สัญลักษณ์  Z-I

                        เขตการใช้ที่ดินที่มีความเหมาะสมปานกลาง                  สัญลักษณ์  Z-II
   186   187   188   189   190   191   192   193   194   195   196