Page 196 - rambutan
P. 196

4-6






                        4.4.1  มาตรการด้านการบริหารจัดการ
                            เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจเงาะเป็นเครื่องมือส าคัญเพื่อน าไปสู่รูปแบบการก าหนด

                  แผนงานนโยบายด้านการเกษตรตลอดห่วงโซ่อุปทาน เขตการใช้ที่ดินเป็นจุดเริ่มต้นของการผลิตการ

                  ก าหนดแผนงานโครงการควรมีความสอดคล้องกับเขตการใช้ที่ดินที่จัดท าขึ้น ซึ่งแต่ละเขตที่จัดท าขึ้นได้
                  พิจารณาจากลักษณะความเหมาะสมของที่ดินรวมไปถึงนโยบายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อน าไปสู่การลด

                  ต้นทุนและเพิ่มคุณภาพของผลผลิต เป็นแนวทางให้เกษตรกรปลูกเงาะในพื้นที่เหมาะสม รวมถึงมีการพัฒนา

                  ระบบการจัดการขนส่งสินค้า (Logistic) และการตลาดในทิศทางที่สอดคล้องกับพื้นที่ปลูกหรือพื้นที่
                  เป้าหมายที่จะขยายหรือลดพื้นที่ปลูก


                        4.4.2  มาตรการด้านการตลาดและยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน

                            ควรท าระบบสัญญาข้อตกลงรับซื้อผลผลิตจากสถาบันเกษตรกรหรือเกษตรกรหรือที่
                  เรียกว่าเกษตรพันธะสัญญา (Contract Farming) และก าหนดราคาขายเพื่อให้เกษตรกรได้รับราคาที่มี

                  เสถียรภาพและรายได้ที่มั่นคง หรือมีการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications

                  หรือ GI) เป็นช่องทางในการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน

                        4.4.3  มาตรการด าเนินงานพัฒนาด้านการเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิต
                             1)  ส่งเสริมและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีการจัดการดินให้แก่เกษตรกรพร้อมทั้ง

                  มีการติดตามประเมินผลเพื่อเป็นทางเลือกให้เกษตรกรใช้ปุ๋ ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ ยเคมีในอัตราส่วนที่

                  เหมาะสมซึ่งจะช่วยลดต้นทุนจากการใช้สารเคมีเพียงอย่างเดียวและเป็นการปรับโครงสร้างของดินให้ดีขึ้น
                            2)  ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาการผลิตทางด้านเทคโนโลยีการเพิ่มผลผลิต และการเก็บเกี่ยว

                            3)  พัฒนาการผลิตของเกษตรกรให้ได้มาตรฐานตามระบบเกษตรดีที่เหมาะสม (GAP:

                  Good Agricultural Practice) โดยการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีด้านการปลูกเงาะให้ได้มาตรฐาน
                  ตามที่ผู้บริโภคและโรงงานแปรรูปต้องการ

                              4)  จัดท าฐานข้อมูลทางด้านสารสนเทศของเงาะตั้งแต่พื้นที่ปลูกจนถึงแหล่งรับซื้อผลผลิต

                  เพื่อใช้ประกอบในการตัดสินใจในการจัดท าแผนงานและโครงการต่าง ๆ

                        4.4.4  มาตรการการเตรียมความพร้อมและประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้
                            ประชุมให้ความรู้และแนวทางการปฏิบัติงานส าหรับบุคลากรในส่วนกลางและส่วน

                  ภูมิภาครวมไปถึงให้ความรู้แก่เกษตรกรเกี่ยวกับความเหมาะสมของที่ดินส าหรับเงาะ น าเสนอใน

                  รูปแบบข้อมูลเชิงแผนที่แก่เกษตรกรทั้งที่ปลูกอยู่แล้วและมีความสนใจที่จะปลูกเพื่อเป็นการเตรียม
                  ความพร้อมให้มีการปลูกเงาะที่มีความเหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่เพื่อน าไปสู่การจัดการที่

                  เหมาะสมต่อไป
   191   192   193   194   195   196   197   198   199   200   201