Page 192 - rambutan
P. 192

4-2





                        เขตการใช้ที่ดินที่มีความเหมาะสมน้อย                     สัญลักษณ์  Z-III

                      -  การก าหนดพื้นที่ก าหนดเขตการใช้ที่ดินคัดเลือกตามพื้นที่ที่มีการปลูกเงาะในลักษณะของ

                  สวนเดี่ยวและสวนผสมในปัจจุบัน

                  4.2  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจเงาะ

                        จากการศึกษาสถานภาพของทรัพยากรต่าง ๆ ร่วมกับลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคม สามารถ

                  ก าหนดเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจเงาะ ในพื้นที่เกษตรกรรมนอกเขตป่าไม้ตามกฎหมายโดยสามารถ

                  ก าหนดได้เป็น 3 เขต คือ เขตการใช้ที่ดินที่มีความเหมาะสมมาก เหมาะสมปานกลาง และเหมาะสมน้อย
                  (มีการจัดการพื้นที่อย่างเหมาะสม) โดยมีเงื่อนไขการก าหนดเขตดังต่อไปนี้

                        เขตการใช้ที่ดินที่มีความเหมาะสมมาก (Z-I) เป็นเขตที่จัดท าขึ้นเพื่อก าหนดให้เป็นพื้นที่ปลูกเงาะ

                  ทั้งในลักษณะของสวนเดี่ยวและสวนผสมในพื้นที่ที่มีความเหมาะสมของที่ดินอยู่ในระดับสูง (S1)

                  หรือปานกลาง (S2)

                        เขตการใช้ที่ดินที่มีความเหมาะสมปานกลาง (Z-II) เป็นเขตที่จัดท าขึ้นเพื่อก าหนดให้เป็นพื้นที่ปลูก
                  เงาะทั้งในลักษณะของสวนเดี่ยวและสวนผสมในพื้นที่ที่มีความเหมาะสมของที่ดินอยู่ในระดับเล็กน้อย (S3)

                        เขตการใช้ที่ดินที่มีความเหมาะสมน้อย (มีการจัดการพื้นที่อย่าง เหมาะสม) (Z-III) เป็นเขตที่

                  จัดท าขึ้นเพื่อก าหนดให้เป็นพื้นที่ปลูกเงาะทั้งในลักษณะของสวนเดี่ยวและสวนผสมในพื้นที่ที่อยู่ใน
                  ระดับไม่เหมาะสม (N)  แต่ในพื้นที่นี้บางครั้งผลผลิตอาจสูงทั้งนี้สืบเนื่องมาจากเกษตรกรบางรายมี

                  การจัดการพื้นที่อย่างดีซึ่งต้นทุนจะสูงแปรผันตรงกับผลผลิตที่ได้

                      จากการวิเคราะห์ฐานข้อมูลด้านกายภาพ เศรษฐกิจและสังคม ร่วมกับยุทธศาสตร์และนโยบายที่
                  เกี่ยวข้อง สามารถก าหนดเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจเงาะในพื้นที่ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาค

                  ตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคใต้ ประกอบด้วย 3 เขตการใช้ที่ดิน (ตารางที่ 4-1) ซึ่งจากการ

                  วิเคราะห์ข้อมูล พบว่ามีพื้นที่ก าหนดเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจเงาะ 392,484 ไร่ มีรายละเอียด
                  ดังต่อไปนี้

                         เขตการใช้ที่ดินเหมาะสมมาก (Z-I)                   มีเนื้อที่   183,456  ไร่

                         เขตการใช้ที่ดินเหมาะสมปานกลาง (Z-II)              มีเนื้อที่   49,533  ไร่

                         เขตการใช้ที่ดินเหมาะสมน้อย (Z-III)                มีเนื้อที่   159,795  ไร่
                        เขตการใช้ที่ดินเหมาะสมมาก ส่วนใหญ่พบในพื้นที่ภาคตะวันออกและภาคใต้ ส่วนเขตการใช้ที่ดิน

                  เหมาะสมปานกลางและน้อยพบกระจายทั่วไปในทุกภาค ซึ่งสามารถจ าแนกรายละเอียดรายภาคได้ดังต่อไปนี้

                        ภาคกลาง ก าหนดให้เป็นเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจเงาะ 4,084 ไร่ ในพื้นที่ 7 จังหวัด (ตารางที่

                  4-2 และรูปที่ 4-1) ประกอบด้วย 3 เขตการใช้ที่ดิน มีรายละเอียดดังนี้
   187   188   189   190   191   192   193   194   195   196   197