Page 38 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยาสูบ
P. 38
2-20
ปัญหาในการใช้ที่ดินด้านเกษตรกรรม ได้แก่ ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ ามาก และเนื้อดิน
ค่อนข้างเป็นทรายจัด ไม่มีธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืชหลงเหลืออยู่ และพืชมักแสดงอาการ
ขาดธาตุอาหารให้เห็นในช่วงฤดูแล้งชั้นดานจะแห้งและแข็งมาก รากพืชไม่สามารถไชชอนผ่านไปได้
ส่วนในช่วงฤดูฝนจะเปียกแฉะและมีน้ าแช่ขัง
กลุ่มชุดดินที่ 43
กลุ่มชุดดินนี้มีเนื้อดินเป็นพวกวัสดุเนื้อหยาบ ดินลึก เกิดจากตะกอนทรายชายทะเล หรือจาก
การสลายตัวอยู่กับที่ หรือจากการสลายตัวผุพังแล้วถูกเคลื่อนย้ายมาทับถมของวัสดุเนื้อหยาบ พบ
บริเวณลูกคลื่นลอนลาด บริเวณชายหาดทรายหรือสันทรายชายทะเลบางแห่ง บริเวณที่ลาดเชิงเขาใน
เขตฝนตกชุกเช่นภาคตะวันออก ภาคใต้ สภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาด
เล็กน้อย มีการระบายน้ าดี ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่ า
ปัญหาในการใช้ที่ดินด้านเกษตรกรรม ได้แก่ เนื้อดินเป็นทรายจัด ท าให้มีความสามารถ
ในการอุ้มน้ าได้น้อย พืชจะแสดงอาการขาดน้ าอยู่เสมอ นอกจากนี้ดินยังมีความอุดมสมบูรณ์ต่ ามาก
กลุ่มชุดดินที่ 44
เป็นกลุ่มชุดดินที่เกิดจากวัตถุต้นก าเนิดดินพวกตะกอนล าน้ าหรือจากการสลายตัวผุพังอยู่กับที่
ของพวกวัสดุเนื้อหยาบ พบบริเวณพื้นที่ดอน มีสภาพพื้นที่ลูกคลื่นลอนลาดจนถึงลูกคลื่นลอนชัน เป็นดินลึก
มีการระบายน้ าดีมากเกินไป เนื้อดินเป็นพวกดินทราย ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่ า
ปัญหาในการใช้ที่ดินด้านเกษตรกรรม ได้แก่ เนื้อดินเป็นทรายจัดและหนามาก พืชมีโอกาส
ขาดน้ าได้ง่าย ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ าและโครงสร้างไม่ดี บริเวณที่มีความลาดชันสูงจะมีปัญหา
เกี่ยวกับการชะล้างพังทลายของหน้าดิน
กลุ่มชุดดินที่ 45
กลุ่มชุดดินนี้มีเนื้อดินเป็นพวกดินเหนียวหรือดินร่วน ดินตื้น เกิดจากวัตถุต้นก าเนิดดิน พวก
ตะกอนล าน้ า หรือเกิดจากการสลายตัวผุพังอยู่กับที่ หรือสลายตัวผุพังแล้วถูกเคลื่อนย้ายมาทับถมของวัสดุ
เนื้อละเอียด ในเขตฝนตกชุกเช่นภาคตะวันออก ภาคใต้ พบบริเวณที่ดอน สภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้าง
ราบเรียบถึงเนินเขา มีการระบายน้ าดีปานกลาง ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่ า
ปัญหาในการใช้ที่ดินด้านเกษตรกรรม ได้แก่ ดินตื้นถึงชั้นลูกรัง พบเศษหินหรือก้อนกรวด
ภายในความลึก 50 เซนติเมตรจากผิวดิน บางพื้นที่พบลูกรัง เศษหิน หรือก้อนกรวดกระจัดกระจายทั่วไป
อยู่บริเวณผิวหน้าดิน ความอุดมสมบูรณ์ต่ าและในพื้นที่ที่มีความลาดชันจะเกิดการชะล้างพังทลายได้ง่าย
กลุ่มชุดดินที่ 46
กลุ่มชุดดินนี้มีเนื้อดินเป็นพวกดินร่วนหรือดินเหนียว ตื้นถึงชั้นเศษหินหรือลูกรังหนา เกิดจากวัตถุ
ต้นก าเนิดดินพวกตะกอนล าน้ าหรือเกิดจากการสลายตัวผุพังอยู่กับที่หรือเคลื่อนย้ายมาทับถมของวัสดุ
เนื้อละเอียดและมีเหล็กเคลือบ สภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบถึงเนินเขา มีการระบายน้ าดี
ถึงดีปานกลาง ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่ า เนื้อดินเป็นพวกดินเหนียวปนกรวดลูกรังหรือ
เศษหินที่มีเหล็กเคลือบ พบภายในความลึก 50 เซนติเมตร
ปัญหาในการใช้ที่ดินด้านเกษตรกรรม ได้แก่ เป็นดินตื้นมีความอุดมสมบูรณ์ต่ า บริเวณที่มี
ความลาดชันสูงจะมีปัญหาเกี่ยวกับการชะล้างพังทลายของหน้าดินได้ง่าย
เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยาสูบ กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน